Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19043
Title: กบฎแมนฮัตตัน
Other Titles: The Manhattan Rebellion
Authors: สุดา กาเดอร์
Advisors: กระมล ทองธรรมชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: กบฏแมนฮัตตัน
กบฏ -- ไทย
รัฐประหาร -- ไทย
ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- 2475-2499
Mutiny -- Thailand
Coups d'etat -- Thailand
Thailand -- Politics and government -- 1925-1956
Issue Date: 2516
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้ก่อให้เกิดความแตกแยกทางความคิดเห็นของกลุ่มการเมืองต่างๆ อย่างกว้างขวาง แม้แต่ในกลุ่มคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็มีการแตกแยกออกเป็นกลุ่มต่างๆ ในระหว่างกันเอง ทำให้การปกครองบริหารประเทศไม่อาจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และไม่สามารถที่จะนำระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยมาใช้ให้ได้ผลโดยสมบูรณ์ จากการแตกแยกออกเป็นกลุ่มต่างๆ ทำให้เกิดการแสวงหาผู้สนับสนุนในวงการต่างๆ ทั้งทางด้านประชาชนและจากกองทัพต่างๆ ผู้ที่มีอำนาจทางการเมืองการปกครอง จะต้องได้รับความสนับสนุนอย่างเข้มแข็งจากกองทัพด้วยจึงจะสามารถดำเนินการบริหารประเทศไปได้โดยราบรื่น ทำให้อิทธิพลของกอทัพแทรกซึมเข้าไปในวงการเมืองการปกครองของประเทศอย่างกว้างขวาง และเกิดการแก่งแย่งอำนาจระหว่างผู้นำทางการเมืองภายในกลุ่มเดียวกันและระหว่างกลุ่มอันก่อให้เกิดการกบฏ และรัฐประหารอยู่เนืองๆ กบฏแมนฮัตตันเป็นกบฏที่เกิดขึ้นโดยการกระทำของฝ่ายทหารเรือ ซึ่งมีผลเนื่องมาจากความไม่พอใจที่ฝ่ายกองทัพเรือเคยได้รับจากกรณีกบฏวังหลวง และกรณีที่รัฐบาลซึ่งฝ่ายกองทัพเรือให้ความสนับสนุนถูกฝ่ายกองทัพบกและตำรวจร่วมมือกันโค่นล้ม นอกจากนี้กองทัพเรือยังไม่ได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลซึ่งมักจะมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่จากกองทัพบกเป็นนายกรัฐมนตรีในการปับปรุงส่งเสริมสมรรถภาพและเสริมสร้างความเจริญให้แก่กองทัพเรือ ทำให้กองทัพเรืออยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมไม่ก้าวหน้าเท่ากับกำลังทัพอื่นๆ ก่อนเกิดกบฏแมนฮัตตันนั้นกองทัพเรือและกำลังทัพอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพบกและตำรวจมีความไม่ไว้วางใจกันโดยเปิดเผย การกบฏที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำและนำโดยทหารเรือชั้นผู้น้อยซึ่งไม่มีกำลังส่วนใหญ่สนับสนุน อีกทั้งไม่มีการตัดสินใจที่เด็ดขาดแน่นอนทำให้การกบฏต้องประสบกับความล้มเหลวทั้งๆ ที่สภาพการก่อนเกิดกบฏมีปัจจัยอื่นๆ สนับสนุนอยู่แล้ว เช่นความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจและสังคม ความสับสนทางการเมือง ความไม่วางใจซึ่งกันและกันของกองทัพต่างๆ แลการคอรัปชั่นในวงการของรัฐบาล เป็นต้น จากความล้มเหลวของกบฏในครั้งนี้ทำให้นายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่จำนวนมากต้องถูกปลดออกจากราชการหรือมิฉะนั้นก็ถูกโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่ มีการปรับปรุงกิจการของกองทัพเรือเสียใหม่โดยคณะกรรมการซึ่งเป็นบุคคลจากภายนอกวงการกองทัพเรือ ทำให้กองทัพเรือถูกตัดทอนกำลังและความสามารถลงไปจากเดิมเป็นอันมาก เพื่อทำให้ฝ่ายกองทัพเรือไม่สามารถที่จะคุกคามรัฐบาลหรือกองทัพอื่นๆ ได้อีกต่อไป การกบฏครั้งนี้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากมายทั้งชีวิตคน และทรัพย์สินของชาติ อย่างไรก็ตาม กบฏแมนฮัตตันอาจไม่เกิดขึ้นถ้าหากผู้นำทางทหารของกองทัพต่างๆ มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน กิจการของกองทัพเรือได้รับความเอาใจใส่ปรับปรุงให้ทันสมัยเช่นกิจการของกองทัพอื่นๆ เช่นกองทัพบกเป็นต้น การกบฏแมนฮัตตันจึงเกิดขึ้นเพราะความแตกแยกของผู้นำทางทหาร และความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันของกองทัพต่างๆ โดยแท้ สาเหตุอื่นๆ เป็นเพียงข้ออ้างปลีกย่อยเพื่อก่อการกบฏขึ้นเท่านั้น
Other Abstract: Revolution in 1932 caused widespread different of opinion among political groups. Revolutionary party itself was no exception. They turned themselves into small groups. Under such circumstances no administrative body could govern with effectiveness and democratic form of government could not be effectively established. Different groups sought out supporters from both public and armed forces. Political group in power needed support from the armed forces in order to run the government smoothly. As a result the armed forces gained ever-increasing power in the political and governmental sphere. Fight for power among political leaders of the same group as well as those of different groups erupted, resulting in frequent revolts and coup d’etat. Displeasure arisen from the failure of the so-called Royal Palace Revolt and the overthrow of Navy-barked Government prompted the Navy to stage the so-called Manhattan Revolt. The other cause of the revolt was negligent on the part of Government, which was normally lead by high ranking officer from the army, to develop and modernize the navy. Before the Manhattan Revolt there was open distrust between the navy and the police. Manhattan Revolt was staged by a group of low-ranking navy officers. Though indirectly supported by such factors favorable for a revolt as poor economic and social conditions, distrust’ among different armed forced and widespread corruption among the government leaders, lack of support from the main force of the navy and indecisiveness caused them to fail. A disperse of high ranking navy officers followed. A committee composed of people from outside the navy was appointed to reorganize the navy. Much of its force was removed to deliberately weaken the navy in order to prevent it from being a further threat to the government or other armed forces. Manhattan Revolt prolably would not have happened if leaders of different armed forces were able to maintain good-understanding and the navy received as much development and modernization as the other armed forces such as the army. The real cause of Manhattan Revolt, therefore, was distrust among the leaders of different armed forces. Other reasans were only used as excuses to stage a revolt.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2516
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19043
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suda_Ka_front.pdf522.71 kBAdobe PDFView/Open
Suda_Ka_ch1.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Suda_Ka_ch2.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Suda_Ka_ch3.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open
Suda_Ka_ch4.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Suda_Ka_ch5.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open
Suda_Ka_back.pdf326.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.