Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19044
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินตนา ยูนิพันธุ์-
dc.contributor.authorเถลิงศรี ศรทรง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-04-07T05:04:21Z-
dc.date.available2012-04-07T05:04:21Z-
dc.date.issued2526-
dc.identifier.isbn9745626236-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19044-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลในแต่ละเวรของหน่วยผู้ป่วยอายุรศาสตร์ โดยใช้ความต้องการการพยาบาลเป็นพื้นฐาน พร้อมทั้งเปรียบเทียบเวลาของกิจกรรมการพยาบาลทั้งหมด และกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงที่ผู้ป่วยแต่ละประเภทได้รับจากพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ป่วยสามัญในแผนกอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 6 หอผู้ป่วย รวมกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 270 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)โดยได้จัดผู้ป่วยในแผนกอายุรศาสตร์ออกเป็น 3 ประเภท คือผู้ป่วยที่ดูแลตนเอง ผู้ป่วยระดับกลาง และผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลในระยะวิกฤติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 3 ฉบับ คือ เกณฑ์ในการจัดแบ่งประเภทผู้ป่วยแบบฟอร์มในการจัดประเภทผู้ป่วยประจำวัน และแบบฟอร์มบันทึกเวลากิจกรรมการพยาบาลโดยตรงและโดยอ้อม นำเครื่องมือทั้ง 3 ชนิดไปหาความตรงตามเนื้อหา โดยการตรวจสอบของผู้ทรงคุณวุฒิและหาความเที่ยงของแบบฟอร์มในการจัดประจำวัน โดยนำไปใช้กับพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลจำนวน 8 คน ได้ค่าความเที่ยงของเครื่องมือประเภทที่ 1,2 และ 3 คือ 100%, 100% และ 87.5% ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลในการสังเกตโดยตรงและต่อเนื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการทดสอบภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยวิธีของ Tukey (T-Method) ผลการวิจัย เมื่อศึกษาความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วยแต่ละประเภทพบว่า ผู้ป่วยประเภทที่ 1 2 และ 3 มีความต้องการการพยาบาลใน 24 ชั่วโมงตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าค่าเฉลี่ยเวลาของกิจกรรมการพยาบาลทั้งหมดที่ผู้ป่วยแต่ละประเภทได้รับจากบุคลากรทั้งหมดจากพยาบาลและจากผู้ช่วยพยาบาลในแต่ละเวร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสนองสมมุติฐานข้อ 1,2 และ 3 เมื่อพิจารณาถึงค่าเฉลี่ยเวลาของกิจกรรมการพยาบาลทั้งหมดที่ผู้วิจัยแต่ละประเภทได้รับจากพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นผู้ป่วยประเภทที่ 2 ซึ่งค่าเฉลี่ยดังกล่าวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสนองสมมุติฐานข้อที่ 4 ในเรื่องของกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงพบว่า ค่าเฉลี่ยเวลาของกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงที่ผู้ป่วยแต่ละประเภทได้รับจากบุคลากรพยาบาลทั้งหมดในแต่ละเวร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสนองสมมุติฐานข้อที่ 5 และเมื่อพิจารณาถึงค่าเฉลี่ยเวลาของกิจกรรมที่ผู้ป่วยแต่ละประเภทได้รับจากพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสนองสมมุติฐานข้อที่ 6 ในการคำนวณจำนวนบุคลากรพยาบาลในแผนกอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราชจากการศึกษาความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วยแต่ละประเภทดังกล่าว ได้ผลดังนี้คือ จำนวนบุคลากรในแต่ละวันมีจำนวน 121 คน แบ่งเป็นเวรเช้า 60 คน เวรบ่าย 34 คน และเวรตึก 27 คน-
dc.description.abstractalternativeThe major purpose of this research was to determine the number of nursing personnel based on nursing care needs in each shifts of medical patient units. The other purpose were to compare the means of nursing care time required in each shift by the patients in each classification : self-care patient, moderate care patient and intensive care patient, and to compare the means of nursing care time provided for patient in each category, by nurses and practical nurses. The 270 research subjects selected by a stratified random sampling were the patients from the medical units Siriraj Hospital. These subjected were devided into 3 groups of 90 in each according to the nursing care needs. The three instruments developed by the researcher were a) Patient classification guidelines b) Patient classification form, and c) Nursing care time observation form. These three instrument were tested for the content validity. The reliability of “Patient classification form” were 100%, 10% and 87.5% for patient classification 1, 2 and 3 respectively. The data were collected by a direct observation method and were analysed by using various statistical method, percentage, arithmetic mean, standard deviation t-test, analysis of variance and T-Method. The Major finding : The average of nursing care time reguired by medical patient in category 1, 2 and 3 in 24-hour were 1.64, 3.98 and 7.77 hours respectively. When comparing the means of patient care time provided for the patients in different categories, by the nursing personnel which includes the registered nurses and the practical nurses in each shift, every comparison demonstrated the significant differences at the .01 level among those means. Therefore, the hypothesis 1, 2 and 3 were retained. In addition, the comparison of the means of patient care time provided for the patient in each category, by the registered nurse and practical nurses, indicated the statistically difference at the .0 level between such means for the patient in category 2. Therefore, the hypothesis 4 was retained. There were significant differences at the .01 level among the means of direct nursing care time provided by nursing personnel, for a medical patients in each classification and in each shift. Therefore, the hypothesis 6 was retained. The number of nursing personnel in medical patient units computed by using the nursing care time provided for the patient in each classification, in each day, were 121. After divided into each shift, the results were the there should be 60, 34 and 27 nursing personnel in the morning, the evening and the night shift respectively.-
dc.format.extent426126 bytes-
dc.format.extent448927 bytes-
dc.format.extent820748 bytes-
dc.format.extent372333 bytes-
dc.format.extent710832 bytes-
dc.format.extent442520 bytes-
dc.format.extent711451 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรงพยาบาลศิริราชen
dc.subjectพยาบาลen
dc.subjectบริการการพยาบาลของโรงพยาบาลen
dc.titleการจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลในแต่ละเวรโดยใช้ความต้องการพยาบาลเป็นพื้นฐานของหน่วยผู้ป่วยอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราชen
dc.title.alternativeA staffing of nursing personnel in each shift based on nursing care needs, medical patient units, Siriraj Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorJintana.Y@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Talenrngsri_So_front.pdf416.14 kBAdobe PDFView/Open
Talenrngsri_So_ch1.pdf438.41 kBAdobe PDFView/Open
Talenrngsri_So_ch2.pdf801.51 kBAdobe PDFView/Open
Talenrngsri_So_ch3.pdf363.61 kBAdobe PDFView/Open
Talenrngsri_So_ch4.pdf694.17 kBAdobe PDFView/Open
Talenrngsri_So_ch5.pdf432.15 kBAdobe PDFView/Open
Talenrngsri_So_back.pdf694.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.