Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19046
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบัติ กาญจนกิจ-
dc.contributor.authorคมสิทธิ์ เกียนวัฒนา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2012-04-15T12:03:40Z-
dc.date.available2012-04-15T12:03:40Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19046-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แรงจูงใจทางการท่องเที่ยวของเยาวชนไทยต่อการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเปรียบเทียบแรงจูงใจระหว่าง เพศและอายุ ในด้านกายภาพ ด้านวัฒนธรรม ด้านระหว่างบุคคล และด้านสถานภาพและชื่อเสียง กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนไทยที่เดินทางมาเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติวัดเบญจมบพิตร หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ จำนวน 420 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า “ที” (t-test) ในการเปรียบเทียบแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวระหว่างเยาวชนเพศชายและเพศหญิง และการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างของเยาวชนไทยที่มีช่วงอายุแตกต่างกัน โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance: ANOVA) กรณีพบค่าความแตกต่างเป็นรายคู่ จะวิเคราะห์ความแตกต่างนั้นเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ (Scheffe's method) ผลการวิจัยพบว่า 1. เยาวชนไทยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 15 - 18 ปีและ 19 - 22 ปี มีสัดส่วนเท่าๆกัน มีวุฒิการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช. มีอาชีพนักเรียน/นิสิตนักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 5,000 บาท มีประสบการณ์การท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลภายใน 1 ปีที่ผ่านมา 1 – 2 ครั้ง มาเที่ยวในวันเสาร์ – วันอาทิตย์ โดยเดินทางมากับเพื่อน มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อการศึกษาและเรียนรู้ เดินทางมาเที่ยวโดยขนส่งสาธารณะ/รถรับจ้าง สื่อที่มีผลต่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของพิพิธภัณฑ์คือ อินเตอร์เน็ต 2. องค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยวที่มีผลต่อแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลของเยาวชนไทย มากที่สุดคือ ความน่าสนใจของพิพิธภัณฑ์ ([Mean] = 4.26) 3.เยาวชนไทยมีแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านวัฒนธรรม ([Mean] = 4.12) ด้านสถานภาพและชื่อเสียง ([Mean] = 4.07) ด้านกายภาพ ([Mean] = 3.98) และด้านระหว่างบุคคล ([Mean] = 3.89) 4. เมื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลระหว่างเยาวชนไทยเพศชายและเพศหญิง พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. เมื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลระหว่างเยาวชนไทยที่มีช่วงอายุที่แตกต่างกัน พบว่า ด้านระหว่างบุคคล และด้านสถานภาพและชื่อเสียงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to study and to compare gender and sex in terms of the tourism motivation towards museum tourism in Bangkok Metropolis and its perimeters in Physical Motivation, Cultural Motivation, Interpersonal Motivation, as well as Status and Prestige Motivation. The samples were 420 Thai youths who travelled to six museums respectively: Benchamabopitr National Museum, Bangkok Art and Culture Centre, National Science Museum, The Golden Jubilee Museum of Agriculture, Bangkok National Museum, and National Discovery Museum Institute. A questionnaire was used as a survey tool and data were analyzed statistically using the percentage, means, standard deviation, and the test value “t” (t-test) in order to compare tourism motivation between male and female. One-way analysis of variance: ANOVA was used to compare tourism motivation among Thai youth by age interval. If the results had been significantly different at the level .05 then the Scheffe's Method would have been employed. The results were as followed; 1. The majority of Thai youth was female whose age was between 15 -18 and 19 -22 years old where these two groups of age range account for the same amount. They were students who graduated from high school certificate or vocational certificate with their incomes less than 5,000 baht per month. In addition, they travelled to museums in Bangkok metropolis and its perimeters for 1 – 2 times a year ago during weekends. They travelled with friends using common transportation or service car as vehicle. The main purpose was to study and learn. Moreover, they accessed information concerning the museums via the internet. 2.The most significant tourism attraction’s component which affected tourism motivation towards museum tourism in Bangkok metropolis and its perimeters was museum attraction ([Mean] = 4.26). 3.The tourism motivation was at high level of all aspects namely Cultural Motivation ([Mean] = 4.12), Physical Motivation ([Mean] = 3.98), Status and Prestige Motivation ([Mean] = 4.07), Interpersonal Motivation ( [Mean]= 3.89). 4.Comparison motivation of Thai youth by gender, there was no significant difference between male and female at 0.05 levels. 5.Comparison motivation of Thai youth by age interval, there was significant difference at .05 levels in personal motivation, and status and prestige motivation.en
dc.format.extent3896312 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.477-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพิพิธภัณฑ์en
dc.subjectพิพิธภัณฑ์ -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectการจูงใจ (จิตวิทยา)en
dc.titleการศึกษาแรงจูงใจของเยาวชนไทยต่อการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลen
dc.title.alternativeA study of Thai youth motivation towards museum tourism in Bangkok metropolis and its perimetersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.477-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Komsit_ki.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.