Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19111
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวลัย อารุณี-
dc.contributor.authorสุทัศน์ ภูมิรัตนจรินทร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-04-17T05:08:08Z-
dc.date.available2012-04-17T05:08:08Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.isbn9745638889-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19111-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาบทบาทของครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น ในการใช้กระบวนการทางสังคมประกิตในการสอนสังคมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาค ๔ ภาค ๒. เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น ในการใช้กระบวนการทางสังคมประกิตในการสอนสังคมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาค ๔ ภาค วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของครูสังคม ในการใช้กระบวนการทางสังคมประกิตในการสอนสังคมศึกษา ประกอบด้วยคำถามแบบเลือกตอบ แบบมาตราส่วนประเมินค่า และแบบปลายเปิด ตัวอย่างประชากรเป็นครูสังคมศึกษาที่สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ในกรุงเทพมหานคร จำนวน ๒๐๐ คน ซึ่งเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และครูสังคมศึกษาที่สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ในส่วนภูมิภาค ๔ ภาค จำนวน ๒๐๐ คน เลือกโดยการสุ่มตัวอย่าแบบแบ่งชั้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (X-) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่า ที (t-test) แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง สรุปผลการวิจัย ครูสังคมศึกษาทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาค ๔ ภาค ได้มีบทบาทในการใช้กระบวนการทางสังคมประกิตในการสอนสังคมศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้ ๑. ด้านการปลูกฝังระเบียบวินัย ครูสังคมศึกษาได้กระทำบ่อยครั้งในเรื่องของการตรงต่อเวลา การรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบ ความซื่อสัตย์ การมีความรับผิดชอบ ความอดทน และกระทำบางครั้งในเรื่องของการประหยัด ๒. ด้านการปลูกฝังความคาดหวัง ครูสังคมศึกษาได้กระทำบ่อยครั้งในเรื่องของการแสดงความสามารถ ความเชื่อมั่นในตนเอง การรู้จักปรับปรุงตนเองและแสวงหาความรู้ ความพอใจในงานที่ทำสำเร็จ และกระทำบางครั้งในเองของความทะเยอทะยาน และการรักความก้าวหน้า ๓. ด้านการสอนให้รู้จักบทบาททางสังคม ครูสังคมศึกษาได้กระทำบ่อยครั้งในเรื่อง ความกตัญญูกตเวที การเคารพนบนอบ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย การรักษาสาธารณสมบัติ การคำนึงถึงสวัสดิภาพ และประโยชน์ของส่วนรวม ๔. ด้านการสอนให้เกิดทักษะ ครูสังคมศึกษาได้กระทำบ่อยครั้งในเรื่องการฝึกทักษะในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การช่างสังเกต และทักษะในการสนทนา และการทำงานร่วมกับผู้อื่น เมื่อเปรียบเทียบบทบาทของครูสังคมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาค ๔ ภาคเกี่ยวกับการใช้กระบวนการทางสังคมประกิตในการสอนสังคมศึกษา ปรากฏว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และในด้านการปลูกฝังระเบียบวินัย และการสอนให้เกิดทักษะ แต่ในด้านการปลูกฝังความคาดหวังเฉพาะในเรื่องความทะเยอทะยาน และในด้านการสอนให้รู้จักบทบาทางสังคมเฉพาะในเรื่องการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และในด้านการสอนในรู้จักบทบาททางสังคม เฉพาะเรื่องการคำนึงถึงสวัสดิภาพ และประโยชน์ของส่วนรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑-
dc.description.abstractalternativePurpose : The purposes of this research were : 1. To study the social studies teacher’s roles in utilizing socialization process for social studies instruction in Bangkok Metropolis and four geographical regions. 2. To compare the social studies teacher’s roles in utilizing socialization process for social studies instruction in Bangkok Metropolis and four geographical regions. Procedures : A set of questionnaire on the social studies teacher’s roles in utilizing socialization process which is consisted of check-list, rating scale, and open-ended items were constructed by the researcher. Two-hundred Mathayom Suksa One social studies teachers in Bangkok Metropolis were simple randomly sampled and two-hundred Mathayom Suksa One social studies teachers in four geographical regions were stratified randomly sampled. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test and then presented in table and explanation. Conclusions : The social studies teacher’s roles in Bangkok Metropolis and four geographical regions in utilizing socialization process for social studies instruction are as follows: 1. Discipline development : The social studies teachers frequently utilizied socialization process in following areas: punctuality, cleanliness, neatness, honesty, responsibility, endurance and occasionally, utilized socialization process concerning economy aspect. 2. Aspiration development : The social studies teachers frequently utilizied socialization process in following areas: displaying competence, self-confidence, self-improvement and knowledge searching, satisfaction of work accomplishment and occasionally utilized socialization process in ambition and progress awareness. 3. Social roles development : The social studies teachers frequently utilizied socialization process in following areas: gratefulness, respect, hospitality, loyalty to the nation, the religion and the monarchy, supporting of democracy, preservation of public properties and awareness of public security and public benefit. 4. Skills development : The social studies teachers frequently utilizied socialization process in following areas: decision making skills, creativity, observance, communicative skills and cooperative working skills. When social studies teacher’s roles in Bangkok Metropolis and four geographical regions are compared, it showed that there were no significant differences at the level .05 concerning the discipline development and skills development, but there were significant differences at the level .05 concerning the expectation development and social roles development. There were significant differences at the level .01 concerning awareness of public security and public benefit.-
dc.format.extent479033 bytes-
dc.format.extent514953 bytes-
dc.format.extent959518 bytes-
dc.format.extent285179 bytes-
dc.format.extent641172 bytes-
dc.format.extent566745 bytes-
dc.format.extent766696 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en
dc.subjectสังคมประกิตen
dc.subjectครูen
dc.titleการศึกษาบทบาทของครูสังคมศึกษาในการใช้กระบวนการสังคมประกิต ในการสอนสังคมศึกษาen
dc.title.alternativeA study of the social studies teacher's roles in utilizing socialization process for social studies instructionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suthas_Po_front.pdf467.81 kBAdobe PDFView/Open
Suthas_Po_ch1.pdf502.88 kBAdobe PDFView/Open
Suthas_Po_ch2.pdf937.03 kBAdobe PDFView/Open
Suthas_Po_ch3.pdf278.5 kBAdobe PDFView/Open
Suthas_Po_ch4.pdf626.14 kBAdobe PDFView/Open
Suthas_Po_ch5.pdf553.46 kBAdobe PDFView/Open
Suthas_Po_back.pdf748.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.