Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1918
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรีพร ธนศิลป์-
dc.contributor.advisorอรพรรณ ลือบุญธวัชชัย-
dc.contributor.authorพิชญดา คงศักดิ์ตระกูล, 2513--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-17T15:10:34Z-
dc.date.available2006-08-17T15:10:34Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741761821-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1918-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์การมีอาการเหนื่อยล้า กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้า การสนับสนุนจากครอบครัว ภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของโรคมะเร็ง ประสบการณ์การมีอาการเหนื่อยล้า กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้า การสนับสนุนจากครอบครัว กับภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด โดยใช้แบบจำลองการจัดการกับอาการของ Dodd et al.(2001) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งปอดและมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกที่ศูนย์มะเร็ง ชลบุรี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โรงพยาบาลรามาธิบดีศูนย์มหาวชิราลงกรณ์ธัญญบุรี จำนวน 120 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินประสบการณ์การมีอาการเหนื่อยล้า แบบประเมินกลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้าโดยผู้ป่วยแบบประเมินกลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้าโดยพยาบาล แบบประเมินการสนับสนุนจากครองครัว และแบบประเมินภาวะการทำหน้าที่ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและหาความเที่ยงของแบบสอบถามจำนวน 5 ชุด โดยวิธีของครอนบาคได้ค่าเท่ากับ .89 .68 .75 .95 .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยค่าอีต้า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสบการณ์มีอาการเหนื่อยล้าในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดอยู่ในระดับปานกลาง ([Mean] = 6.16+-1.51) 2. กลยุทธ์การจัดการกับอาการเหนื่อยล้าโดยผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดอยู่ในระดับปานกลาง ([Mean] = 2.83+-.47) 3. กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้าโดยพยาบาลอยุ่ในระดับปานกลาง ([Mean] = 2.51+-.77) 4. การสนับสนุนจากครอบครัวในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดอยู่ในระดับมาก ([Mean] = 3.99+-.47) 5. ภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด อยู่ในระดับน้อย ([Mean] = 2.38+-.85) 6. ชนิดของโรคมะเร็งมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับภาวะการทำหน้าที่ (r = .231) และพบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีภาวะการทำหน้าที่มากกว่าผู้ป่วยมะเร็งปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ([Mean][subscript เต้านม] = 2.52, [Mean] = 2.22, t = 2.581, p < .05) 7. ประสบการณ์การมีอาการเหนื่อยล้ามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับภาวะการทำหน้าที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.430, p < .05) 8. กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้าโดยผู้ป่วย กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้าโดยพยาบาลและการสนับสนุนจากครอบครัว ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะการทำหน้าที่ (p > .05)en
dc.description.abstractalternativeThis descriptive research aimed to study fatigue experience, self-care strategies, nurse strategies, family support, and functional status of patients receiving chemotherapy and the relationships between types of cancer, fatigue experiences, fatigue management strategies, family support and functional status of patients receiving chemotherapy. The theoretical framework was based on Symptom Management Model of Dodd et al.(2001). 120 lung and breast cancer patients receiving chemotherapy were recruited by using simple random sampling from the Out-Patient Department of Chonburi Cancer Center, the National Cancer Institute, Ramathibodi Hospital, and Mahavajiralongkorn Cancer Center. The instruments were Fatigue Experience, Self-Care Strategies for Fatigue Management, Nurse Strategies for Fatigue Management, and Family Support Questionnaires. Cronbach's alpha coefficients of all measurements, were .89, .68, .75, .95, .90 respectively. Data were analyzed using mean, standard, deviation, Eta, Pearson's product moment correlation. Major finding were as follows: 1. Fatigue experiences of patients receiving chemotherapy was at the medium level ([Mean] = 6.16+-1.51). 2. Self-care strategies for fatigue management was at the medium level ([Mean] = 2.83+-.47). 3. Nurse strategies for fatigue management was at the medium level ([Mean] = 2.51+-.77). 4. Family support was at the high level ([Mean] = 3.99+-.47). 5. Functional status of patients receiving chemotherapy was at the a low level ([Mean] = 2.38+-.85). 6. Types of cancer were related to functional status of patients receiving chemotherapy and mean of functional status of breat cancer patients was significantly higher than that of lung cancer patients (r = .231, [Mean][subscript breast] = 2.52, [Mean][subscript lung] = 2.22, p < 0.05 7. Fatigue experiences was negative related to functional status at level of .05 (r = -.430, p < .05). 8. Self-care strategies, Nurse strategies, and Family support were not related to functional status (p > .05).en
dc.format.extent1612423 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectมะเร็ง--เคมีบำบัดen
dc.subjectความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา)en
dc.subjectความล้าen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของโรคมะเร็ง ประสบการณ์การมีอาการเหนื่อยล้า กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้า การสนับสนุนจากครอบครัว กับภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดen
dc.title.alternativeRelationships between types of cancer, fatigue experience, fatigue management strategies, family support and functional status of cancer patients receiving chemotherapyen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSureeporn.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phichayada.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.