Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1919
Title: ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่มีการสนับสนุนจากสามีต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและการจัดการกับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น
Other Titles: Effects of a health promotion program with husbands' support of exercise behavior and stress management of pregnant teenagers
Authors: อรอุมา สอนพา, 2522-
Advisors: สัจจา ทาโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sathja.T@Chula.ac.th
Subjects: การส่งเสริมสุขภาพ
ความเครียด (จิตวิทยา)
การออกกำลังกาย
ครรภ์ในวัยรุ่น
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่มีการสนับสนุนจากสามี ต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและการจัดการกับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยใช้แนวคิดรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของ Pender (1996) แนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของ House (1981) และแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของ Thorndike (cited in Bernard, 1972) มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมในกระบวนการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุ 16 - 19 ปี จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตามวันโดยการจับฉลาก และจับคู่ในเรื่อง อายุ ระดับการศึกษาของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและสามี จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่มีการสนับสนุนจากสามี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดพฤติกรรมการออกกำลังกายและการจัดการกับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ซึ่งผู้วิจัยได้ดัดแปลงและสร้างขึ้นตามแนวคิดรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของ Pender (1996) แนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของ House (1981) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการออกกำลังกายของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นภายหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่มีการสนับสนุนจากสามีสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการจัดการกับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นภายหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่มีการสนับสนุนจากสามีสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) 3. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการออกกำลังกายของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่มีการสนับสนุนจากสามีสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) 4. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการจัดการกับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่มีการสนับสนุนจากสามีสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < .01)
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effects of a health promotion program with husbands support on the exercise behavior and stress management of pregnant teenagers. Penders Health Promotion Model (1996), Houses Social Support Concept (1981) and Learning Theory (Thorndike cited in Bernard, 1972) were utilized to develop the intervention. Subjects consisted of 40 pregnant teenagers aged 16 to 19 years. Subjects were randomly assigned to control or experimental groups according to the day visiting prenatal clinic, 20 for each group. Subjects were matched by age, couples education, parity, and monthly income. The control group received routine nursing care while the experimental group received the health promotion program with husbands support. Exercise and stress management behaviors were assessed using a questionnaire developed by the investigator and guided by the Concept of Health Promoting Behaviors (Pender, 1996) and the Social Support Concept of House (1981). Data were analyzed using descriptive and t-test statistics. Major findings were as follows : 1. The mean score of exercise behavior of pregnant teenagers after receiving the health promotion program with husbands support was significantly higher than before receiving the program (p< .01) 2. The mean score of stress management behavior of pregnant teenagers after receiving the health promotion program with husbands support was significantly higher than before receiving the program (p< .01) 3. The mean score of exercise behavior of pregnant teenagers in the experimental group receiving the health promotion program with husbands support was significantly higher than that of the control group (p< .01) 4. The mean score of stress management behavior of pregnant teenagers in the experimental group receiving the health promotion program with husbands support was significantly higher than that of the control group (p< .01).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1919
ISBN: 9745315265
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
On-u-ma.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.