Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19192
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิรงรอง รามสูต | - |
dc.contributor.author | ศิญานิลท์ ศักดิ์ดุลยธรรม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-04-25T07:09:20Z | - |
dc.date.available | 2012-04-25T07:09:20Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19192 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความรู้ การประเมินผลกระทบและแนวโน้มพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 การวิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสำรวจ มีเครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ในระดับต่ำ 2. ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่แน่ใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 3. ตัวแปรลักษณะทางประชากร เพศไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ส่วนอายุ การศึกษา อาชีพและรายได้ มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และเพศ การศึกษา และอาชีพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ส่วนอายุ และรายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะแปรผันตามกัน ผลการวิจัยยังพบด้วยว่าภาครัฐมีการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้สาธารณะเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้น้อยเกินไป ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอาจจะทำผิดกฎหมายได้โดยไม่รู้ตัว ประชากรที่ศึกษามีความรู้เฉพาะในส่วนของผู้ที่มีสิทธิฟ้องร้องเพื่อดำเนินคดีหากมีการละเมิดโดยการตัดต่อ ดัดแปลงภาพในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียงและได้รับความอับอายแต่ไม่มีความรู้ในประเด็นความผิดที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องโดยตรงกับรูปแบบการใช้อินเทอร์เน็ตที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น การส่งข้อมูลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือการส่งต่อข้อมูล (Forward mail)ที่เป็นภาพลามกอนาจาร กรณีจริงที่เกิดขึ้นแล้วของการบังคับใช้กฎหมายและการจับกุมผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย นอกจากนี้การวิจัยยังพบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ทำการศึกษารู้สึกว่าการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเสรีภาพในการแสดงออก | en |
dc.description.abstractalternative | This research aims at studying the knowledge, Impact assessment and behavior tendency of Internet users about the Computer Crime Act B.E. 2550. Data was collected through a questionnaire-based survey, on samples of 400 respondents. The research has these findings: 1)Internet users have a low level of knowledge about the Computer Crime Act B.E. 2550. 2)Internet users have internet behavior that are not certain about the Computer Crime Act B.E. 2550. 3)Socio-demographic variables:a. Gender has no statistically significant relationship with the knowledge of Internet users regarding the Computer Crime Act B.E. 2550 while age, education, occupation and income have statistically significant relationship with the awareness of Internet users regarding the Computer Crime Act B.E. 2550 in an accordant manner. b. Gender, education and occupation has no statistically significant relationship with the behavior of Internet users regarding the Computer Crime Act B.E. 2550 while age and income have statistically significant relationship with the behavior of Internet users regarding the Computer Crime Act B.E. 2550 in an accordant manner. The research also finds that the state has too little public relations and public education activities to disseminate information about the new law. As a result, Internet users may have violated the law without knowing. In addition, the sampled population also exhibit little knowledge and awareness about the dissemination of information that may cause panic or those that may have consequences on national security. The studied Internet users also feel that the enforcement of this law has negative consequences on the freedom of expression of the users. | en |
dc.format.extent | 2671230 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1231 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต | en |
dc.subject | พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 | en |
dc.title | ความรู้ การประเมินผลกระทบและแนวโน้มพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 | en |
dc.title.alternative | Knowledge, impact assessment and behavior tendency of internet users about the Computer Crime Act B.E. 2550 | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วารสารสนเทศ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Pirongrong.R@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.1231 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Siyanin_sa.pdf | 2.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.