Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19199
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกียรติ รักษ์รุ่งธรรม-
dc.contributor.advisorฮิโรชิ จันทาภากุล-
dc.contributor.authorสมพร ฉันท์พุทธิเวท-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-04-25T07:33:06Z-
dc.date.available2012-04-25T07:33:06Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19199-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractโรคลมพิษเรื้อรัง (chronic urticaria) เป็นโรคที่ก่อความรำคาญให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ลักษณะการดำเนินโรคของ โรคลมพิษเรื้อรังมีลักษณะที่เป็นค่อนข้างนาน โดยส่วนใหญ่แล้วมักไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคได้ ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินโรคของโรคนี้ยังมีค่อนข้างจำกัด ในการศึกษานี้จึงเป็นการศึกษาเพื่อดูถึงการดำเนินโรคของโรคลมพิษเรื้อรังในผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ cross-sectional retrospective study โดยมีการคัดกรองผู้ป่วยโรคลมพิษทั้งหมดที่มารับการรักษาตามรหัส ICD-10TM ในช่วงปี 2546 ถึง 2549 รวมผู้ป่วยทั้งหมด 1,413 คน คัดผู้ป่วยโรคลมพิษเฉียบพลัน ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์โรคผิวหนังหรือแพทย์โรคภูมิแพ้ และผู้ป่วยที่ไม่สามารถติดตามได้ ออก คงเหลือผู้ป่วยที่อยู่ในการศึกษาจำนวนทั้งหมด 291 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็น ร้อยละ 75.9 โดยมีอายุเฉลี่ยของการเกิดโรคคือ 32.83 ปี ค่าพิสัยอยู่ในช่วง 2-76 ปี และช่วงระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการของโรคลมพิษเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.65 ปี (พิสัย 3 เดือน ถึง 31 ปี) โดยพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มนี้มีประวัติโรคภูมิแพ้ ทั้งของตนเองและประวัติโรคภูมิแพ้ของคนในครอบครัวคิดเป็นร้อยละ 10.0 และ 17.2 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยจำนวนร้อยละ 65.3 (190 คน) ไม่สามารถระบุสาเหตุหรือปัจจัยในการกระตุ้นให้เกิดอาการได้ อย่างไรก็ตามในจำนวนของผู้ป่วยที่สามารถระบุถึงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการได้ พบว่าอาหารเป็นปัจจัยที่พบมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 11.0 เมื่อศึกษาถึงการตอบสนองต่อการรักษาพบว่าผู้ป่วยจำนวนร้อยละ 41.2 สามารถหายขาดจากอาการของโรคลมพิษได้ โดยที่ช่วงระยะเวลาของการหายนับถึงวันที่ทำการสอบถามทางโทรศัพท์ มีค่ามัธยฐาน คิดเป็น 2.0 ปี (พิสัย 6 เดือน ถึง 5 ปี) และพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการหายของผู้ป่วยมี 4 ปัจจัย คือ เพศหญิง การมีโรคประจำตัวเป็นโรคภูมิแพ้ การมีประวัติของโรคภูมิแพ้ในครอบครัว การมี angioedema ร่วมด้วย โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนอายุของผู้ป่วยในกลุ่มที่หายขาดและกลุ่มที่ไม่หายขาดพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (32.45 และ 36.36 ปี) ในด้านของการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบว่า มีการส่งตรวจ complete blood count มากที่สุด รองลงมาคือ stool exam ผลปรากฏว่าพบพยาธิและหรือไข่พยาธิ จำนวน 9 ราย จากการส่งตรวจ 127 ราย โดย มี Giardia cyst 3 ราย Strongyloides stercoralis 2 ราย Ascaris lumbricoides 1 ราย Hook worm eggs 1 ราย และ Opisthorchis viverini eggs 2 ราย ผู้ป่วยที่พบการติดเชื้อพยาธิ หลังการรักษาการติดเชื้อแล้ว พบอัตราการหายจากอาการของโรคลมพิษ ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยที่มีผล positive ต่อการทำ autologous skin test จำนวน 2 ใน 8 ราย ในด้านของการให้การรักษาพบว่าผู้ป่วยจำนวนร้อยละ 82.8 ได้รับ H1 anti-histamine เพียงอย่างเดียว โดยเป็นการใช้ยา antihistamine ร่วมกันระหว่างยารุ่นเก่าและยารุ่นใหม่มากถึงร้อยละ 57.5 และมีการยาร่วมกันระหว่าง H1 และ H2 anti-histamines ร้อยละ8.9 นอกจากยาเหล่านี้แล้ว ยังมียาอื่นๆที่ได้รับเพื่อการรักษาด้วย เช่น prednisolone, doxepine และ anti-parasitic drugs เป็นต้น โดยสรุป โรคลมพิษเรื้อรังในผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีอัตราการหายคิดเป็นร้อยละ 41.2 ซึ่งได้ผลใกล้เคียงกับการศึกษาอื่นๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุหรือปัจจัยกระตุ้น แต่พบว่ามีปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องกับการหายจากโรคลมพิษเรื้อรังอยู่ 4 ปัจจัย คือ เพศหญิง การมีประวัติโรคภูมิแพ้ทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว และการมีอาการ angioedema ร่วมด้วย เนื่องจากการศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง จึงมีข้อจำกัดหลายประการ ดังนั้นการศึกษาในลักษณะของ prospective study เพื่อหาวิธีการรักษาให้โรคลมพิษเรื้อรังมีอัตราการหายขาด หรือหายนานมากขึ้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นen
dc.description.abstractalternativeChronic urticaria is a common skin disorders which in most of the patients the causes can not be identified. At the present time, there are few studies about natural course of chronic urticaria regarding prevalence, age of disease onset, duration of disease, aggravating factors and treatment outcome. We conducted a cross-sectional retrospective study of patients with chronic urticaria at the King Chulalongkorn Memorial Hospital from January 1st ,2003 to December 31st , 2006. The initial screening was based on the registered and recorded hospital database system named as ICD-10 TM. 1,413 of urticaria patients were identified, Exclude acute urticaria, chronic urticaria from general clinics and who can’t be followed to complete the informations. Finally, Two hundred and ninety-one patients diagnosed as chronic urticaria were included. Their medical records were reviewed and all patients were also interviewed on the telephone. The majority is female (75.9%). Mean age of disease onset was 32.83 years (range from 2-76 years) and mean duration times of disease in these patients was 2.65 years (range from 3 month to 31 years). Personal and family history of atopy was 11.0% and 17.2%, respectively. Unknown aggravating factors were reported in 65.3% patients. Among patients who knew aggravating factors, foods were the most reported of aggravating factors in chronic urticaria patients (11.0%). Laboratory investigations were performed in most of the patients. Stool exam was done in 127 patients, 9 showed positive for intestinal parasites and/or ovums which include Giardia cyst (3), Strongyloides stercoralis (2), Ascaris lumbricoides (1), Hook worm eggs (1) and Opisthorchis viverini eggs (2). Among the patients with parasitic infestation has completed remission about one-half. Two in 8 patients who serum autologous skin test was done showed positive skin test. All patients were treated with antihistamines. Most of them (82.8%) were treated by H1-antihistamines alone (low sedating and combine with sedating antihistamines 57.5%) and 8.9% were treated with both H1 and H2 antihistamines. Other drugs such as prednisolone, doxepine, anti-parasitic drugs were used to combine with H1 antihistamines in treating chronic urticaria patients. Approximately 41% had complete remission with the median duration of remission of 2.0 years (range from 6 months to 5 years). Multivariate analysis, there are 4 factors associated with complete remission of chronic urticaria which include female gender, present of underlying atopic disease, family history of atopy and angioedema (p< 0.05). In conclusion, our data provide an overview of chronic urticaria in Thai patients. The majority of patients could not identify the etiology and aggravating factors. About one-third had complete remission which is similar to previous study. Female and patients with atopic disease or family of atopy and patients with angioedema may be associated with complete remission. Further prospective study design is warranted to see if we can improve the outcome of chronic urticaria.en
dc.format.extent2058399 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.733-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectลมพิษen
dc.subjectภูมิแพ้en
dc.titleการดำเนินโรคของโรคลมพิษเรื้อรังในผู้ป่วยที่มารับการรักษาในคลินิกโรคภูมิแพ้และคลินิกโรคผิวหนัง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en
dc.title.alternativeThe natural history of chronic urticaria in patient visiting allergy and skin clinic of King Chulalongkorn Memorial Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKiat.R@Chula.ac.th-
dc.email.advisorHiroshi.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.733-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
somporn_ch.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.