Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19218
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์-
dc.contributor.advisorอณัส อมาตยกุล-
dc.contributor.authorสุดปรารถนา นีละไพจิตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2012-04-25T08:56:57Z-
dc.date.available2012-04-25T08:56:57Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19218-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractสิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ซึ่งได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และหลักคำสอนของศาสนาอิสลามเองก็กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนด้วยเช่นกัน เบื้องต้นจึงสันนิษฐานได้ว่าหลักคำสอนของศาสนาอิสลามให้ความสำคัญกับการรับรองสิทธิมนุษยชนในลักษณะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งผลการศึกษาก็พบว่าศาสนาอิสลามเป็นอีกศาสนาหนึ่งที่มีหลักคำสอนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และกลุ่มประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามทั่วโลกก็ได้รวมตัวกันก่อตั้งองค์การอิสลาม หรือ O.I.C และบัญญัติปฏิญญาไคโรว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในอิสลาม ค.ศ. 1990 (The Cairo Declaration on Human Rights in Islam 1990 ) ขึ้น โดยสิทธิมนุษยชนที่บัญญัติในปฏิญญานี้ล้วนแต่สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 อาจมีส่วนที่ต่างกันบ้างแต่ก็เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น สำหรับการรับรองสิทธิเสรีภาพของมุสลิมในประเทศไทยเห็นว่า แม้หลักสิทธิมนุษยชนตามหลักศาสนาอิสลามจะคล้ายคลึงกับสิทธิเสรีภาพที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแต่จำต้องมีการตรากฎหมายลำดับรองเพื่อให้การรับรองสิทธิเสรีภาพด้านต่าง ๆ สัมฤทธิ์ผลตามหลักศาสนาอิสลามได้ซึ่งปัจจุบันมีพระราชบัญญัติมารับรองเพื่อให้สิทธิเสรีภาพในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลามได้รับความคุ้มครองอย่างจริงจังโดยมีการตรากฎหมายเฉพาะเรื่อง 4 ฉบับด้วยกัน ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าหลักสิทธิมนุษยชนในศาสนาอิสลามซึ่งมีความสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนของตะวันตกสามารถนำมาปรับใช้กับสังคมไทยได้เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมแบบพหุวัฒนธรรม โดยเฉพาะในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ยังสามารถการนำหลักชะรีอะฮ์หรือแนวทางการดำเนินชีวิตตามครรลองของศาสนาอิสลามมาใช้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ในชุมชนมุสลิมเป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือก เนื่องจากหากเข้าใจหลักการและแนวคิดทางศาสนาแล้วจะเห็นว่าสอดคล้องและนำมาใช้ในสังคมไทยได้เป็นอย่างดีen
dc.description.abstractalternativeHuman rights are regarded as the fundamental right of humanity which not only certified by The Constitutions of Kingdom of Thailand but also said in the principles of Islam. And , primitive assumption predicted that the Islamic regulations have paid attention on the human rights guarantee which is corresponding with law of the Constitutions. This thesis found that Islam is one of religions provided the principles involved human rights. Moreover, a community of global Muslim countries united in and established The Organization of Islam Conference and prescribed The Cairo Declaration on Human Rights in Islam 1990. The human rights enacted in the Declaration were in line with The Universal Human Rights 1948 although some details were different. For the human rights attestation of Thai Muslims is predicted that although human rights in Islamic principles would similar with rights and freedoms that verified by The Constitutions but still need to ordain subordinate legislations in order that all of aspects in rights and freedoms will get successful results in the Islam rules. By the way, Thailand right now have provided 4 special laws that seriously protected to gave rights and freedoms in every day life and religious practicing for Muslims. This research found that human rights in Islam correspond with human rights in western world can be used in Thai society due to being plural culture society, especially in the southern province of Thailand. Moreover, it can be used Shari’a (Islamic law) to dissolve the conflict as an alternative justice system because if understand in the religious principles and concepts it could get along with Thai society.en
dc.format.extent3312464 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.178-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสิทธิมนุษยชน -- ไทยen
dc.subjectศาสนาอิสลาม -- ไทยen
dc.subjectสิทธิมนุษยชน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยen
dc.subjectกฎหมายรัฐธรรมนูญ -- ไทยen
dc.titleสิทธิมนุษยชนในอิสลามกับการรับรองสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยen
dc.title.alternativeHuman rights in Islam and the guarantee of rigths and liberties under the constitutions of Kingdom of Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKriengkrai.C@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.178-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sudprathana_ni.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.