Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1922
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.authorเนตร์สุวีณ์ เจริญจิตสวัสดิ์, 2507--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-18T06:12:44Z-
dc.date.available2006-08-18T06:12:44Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745318019-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1922-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองต่ออาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอกภายหลังได้รับเคมีบำบัดครั้งที่ 1, 2 และ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งที่มารับเคมีบำบัด ที่ศูนย์เคมีบำบัดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2547 ถึงวันที่ 10 มีนาคม 2548 จำนวน 40 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยกำหนดให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ ชนิดของเคมีบำบัดที่ได้รับ สภาพช่องปากก่อนการทดลอง วิธีการรักษาอื่นที่ร่วมด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองซึ่งประกอบด้วยการสร้างสัมพันธภาพ การให้ข้อมูล การฝึกทักษะปฏิบัติและการส่งเสริมสนับสนุน โดยใช้แผนการสอนเกี่ยวกับการดูแลช่องปากร่วมกับแผ่นภาพประกอบการสอน การฝึกทักษะปฏิบัติ และคู่มือการดูแลช่องปากสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด โดยโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองได้รับการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงวุฒิ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินเยื่อบุช่องปากอักเสบของ Sonis et al. (1999) ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงวุฒิ และค่าความเที่ยงของการสังเกตได้เท่ากับ .974 เครื่องมือกำกับการทดลอง คือ แบบวัดพฤติกรรมการดูแลช่องปากด้วยตนเอง ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงวุฒิ และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .785 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองมีอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบภายหลังได้รับเคมีบำบัดครั้งที่ 1 น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองมีอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบภายหลังได้รับเคมีบำบัดครั้งที่ 2 น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองมีอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบภายหลังได้รับเคมีบำบัดครั้งที่ 3 น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองสามารถลดความรุนแรงของอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to examine the effects of the PRO-SELF Mouth Aware Program on oral mucositis in cancer patients after the 1st, 2nd and 3rd cycles of chemotherapy. The participants consisted of 40 cancer patients receiving Chemotherapy at Oncology Center at King Chulalongkorn Memorial Hospital from December 1, 2004 to March 10, 2005. The patients were randomly assigned to an experimental group and a control group by a matched-pair technique. Research instrument was the PRO-SELF Mouth Aware Program. This program has four dimensions: (a) interactive nursing care, (b) didactic information, (c) self-care exercises (skills), and (d) supportive care. Oral mucositis was evaluated by using an assessment tool developed by Sonis et al. (1999). The instrument was validated by a panel of experts. The interrater reliability was .974. An oral care behavior questionnaire was also used to monitor the experiment. The instrument was validated by a panel of experts. The Cronbach's alpha coefficient of the questionnaire was .785. Statistical techniques used in data analysis were percentage, means, standard deviation and t-test. Major results were as follows : 1. The patients' mucositis in the experimental group after receiving the 1st cycle of chemotherapy was significantly lower than that of the control group at the .01 level. (p = .01) 2. The patients' mucositis in the experimental group after receiving the 2nd cycle of chemotherapy was significantly lower than that of the control group at the .01 level. (p = .01) 3. The patients' mucositis in the experimental group after receiving the 3rd cycle of chemotherapy was significantly lower than that of the control group at the .01 levle. (p = .01) The results suggest that the PRO-SELF Mouth Aware Program may reduce severity of oral mucositis in cancer patients receiving chemotherapy.en
dc.format.extent1413112 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการดูแลตนเองen
dc.subjectเคมีบำบัดen
dc.subjectเยื่อบุช่องปากอักเสบen
dc.subjectมะเร็ง--ผู้ป่วยen
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองต่ออาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอกen
dc.title.alternativeThe effect of the pro-self mouth aware program on oral mucositis in cancer patients receiving chemotherapy in out patient departmenten
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natesuvee.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.