Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19247
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมพงษ์ จิตระดับ | - |
dc.contributor.advisor | จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ | - |
dc.contributor.author | ทิพจุฑา สุภิมารส | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-04-26T10:04:24Z | - |
dc.date.available | 2012-04-26T10:04:24Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19247 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของชุมชนชาติพันธุ์ เขมรถิ่นไทย 2) พัฒนากระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมฯ ตามแนวทฤษฎีการสร้างพลังภูมิปัญญาชาวบ้าน ดำเนินการวิจัยในชุมชน เขมรถิ่นไทย “ปรีย์ทม” ระยะที่ 1 วิจัยเชิงมานุษยวิทยา ผู้เข้าร่วมวิจัย ได้แก่ ผู้วิจัย ครูศูนย์ศึกษาศิลปะและธรรมชาติเด็กรักป่า จำนวน 2 คน ครูภูมิปัญญาชาวบ้าน จำนวน 6 คน สมาชิกในชุมชน จำนวน 44 คน ระยะที่ 2 วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้เข้าร่วมวิจัย ได้แก่ ผู้วิจัย ครูภูมิปัญญาชาวบ้านกลุ่มสร้างพลัง จำนวน 18 คน ครูชาวบ้านกลุ่มได้รับการสร้างพลัง จำนวน 8 คน ครูโรงเรียนบ้านติ้ว จำนวน 4 คน และ เด็กซึ่งกำลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านติ้ว จำนวน 13 คน ผลการวิจัย มีดังนี้ 1. องค์ประกอบของกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเขมรถิ่นไทยชุมชนปรีย์ทม 5 ด้าน 1) จุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดวิธีการดูแลเด็ก ด้วยความรักและทะนุถนอม 2) องค์ความรู้ เนื้อหาวัฒนธรรมทั้งด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านวัตถุ คือ 2.1) องค์ความรู้ด้านขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบพิธี 2.2) องค์ความรู้ด้านคติและความเชื่อ 3) คุณลักษณะของผู้ถ่ายทอด เป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในองค์ความรู้และเนื้อหาวัฒนธรรมนั้นๆ เป็นผู้เฒ่า ผู้แก่ ผู้นำทางธรรมชาติของชุมชน คุณลักษณะของผู้รับการถ่ายทอด มีทั้งการถ่ายทอดให้ลูกหลานภายในครอบครัวและถ่ายทอด ให้คนอื่นในชุมชนที่มีความสนใจเรียนรู้ 4) วิธีการที่ใช้ในการถ่ายทอด มีลักษณะเป็นมุขปาฐะ การแสดงวิธีการให้ผู้เรียนจดจำ การทดลองทำด้วยตนเอง การให้เลียนแบบจากผู้ถ่ายทอดและการให้เรียนรู้แบบครูพักลักจำ ส่วนสื่อที่ใช้ ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อกิจกรรมและสื่อวัสดุ 5) การประเมินผลกระบวนการถ่ายทอด เป็นการประเมินอย่างไม่เป็นทางการด้วยการสังเกตและให้คำแนะนำ คุณค่าของวัฒนธรรมที่มีต่อบุคคล เป็นคุณค่าทางจิตใจ รู้สึกได้รับการคุ้มครองป้องกัน ดูแลรักษา ปัดเป่าความทุกข์ โรคภัยต่างๆ คุณค่าของวัฒนธรรมที่มีต่อชุมชน เป็นคุณค่าที่ทำให้ชุมชนมีความผูกพันเหนียวแน่น คนรุ่นใหม่เคารพนับถือ เชื่อในคำสอนของผู้สูงอายุ 2. พัฒนากระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมฯ ตามแนวทฤษฎีการสร้างพลังภูมิปัญญาชาวบ้าน องค์ประกอบของการสร้างพลัง ได้แก่ แนวคิดและหลักการ วัตถุประสงค์ ความรู้พื้นฐาน และ ยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการสร้างพลังภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยมีขั้นตอนการสร้างพลัง ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม 2) การระบุความต้องการของชุมชน 3) การสร้างพลังผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ของชุมชน 4) การสร้างหน่วยการเรียนรู้ 5) การทดลองใช้หน่วยการเรียนรู้ 6) การสะท้อนความคิด และการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ และ 7) การถอดประสบการณ์การเรียนรู้ และประเมินผลการสร้างพลัง 3. เด็กปฐมวัยที่ผ่านกระบวนการมีความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง ดังนี้ 1) ใช้ภาษาเขมรถิ่นไทยในการเรียนรู้และสื่อสารกับครูชาวบ้านขณะได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรม 2) รับรู้วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย อาหาร-ขนมพื้นบ้าน ประเพณีในชุมชนของตน 3) รับรู้วิถีชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกัน การดูแลรักษาทรัพยากรจากป่าชุมชนที่ใช้หมุนเวียนในการดำรงชีวิต | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were: 1) to study Northern-Khmer child rearing cultural transmission process, and 2) to develop the emerging processes based on the local wisdom empowerment theory. This study was conducted in “Preetom“ Northern-Khmer community and developed in two phases; 1) qualitative anthropological approach, and; 2) participatory action research approach. The first phase participants, including: a) the researcher; b) 2 teachers of Dekrakpah learning resource center; c) 6 key informants; d) a 44-member community focus group. The second phase participants, including; e) 18 members of empowers local wisdom teachers; f) 8 members of empowered local teachers; g) 4 teachers of Bantew School and h) 13 children in Pratom1 of Bantew School. The findings were as follows: 1. Five main facets of the Northern-Khmer child rearing cultural transmission process in Preetom community were examined: 1) objectives – transmitting child-care knowledge to parents and other stakeholders, and cultivating spiritual development of children through love and instilling a sense of self-worth. 2) body of knowledge contents categorized into: 2.1) ritual steps and materials 2.2) lore and beliefs. 3) characteristics of transmitters and receivers; transmitters were consisting of wise men of experts in each genre of cultural content. Some were venerable and some were natural leaders of the community; receivers –consisting of related persons (kin) and other persons who were interested. 4) methods/media-transmission of oral literature, practical demonstrations, practice and imitation, trial and error; and 5) evaluation, including informal practice and additional instruction. Cultural values were of spiritual, social and material values of the community was through enhanced bonding to traditional values, fostering of strong community relationships, cultivation of respect for elders, and following traditional ways. 2. Four main facets of the local wisdom empowerment to develop Northern-Khmer child rearing cultural transmission process consisted of concepts and principles, objectives, basic knowledge, and strategy on wisdom empowerment. Seven stages of empowerment procedures were: 1) participatory rural appraisal; 2) defining community needs; 3) empowerment via community learning experience; 4) develop learning units; 5) field study; 6) reflection and knowledge exchanged dialogue; and 7) participatory evaluation. 3. After the empowerment process the children demonstrated their self-understanding in three aspects: 1) using their ethnic language to learn from the local wisdom teachers, 2) observing their community heritage in cuisine and tradition, 3) accepting their community and forest interdependent way of living | en |
dc.format.extent | 4815268 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1250 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เด็ก -- การเลี้ยงดู | en |
dc.subject | การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม | en |
dc.subject | ภูมิปัญญาชาวบ้าน | en |
dc.title | การพัฒนากระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเขมรถิ่นไทยตามแนวทฤษฎีการสร้างพลังภูมิปัญญาชาวบ้าน | en |
dc.title.alternative | Development of Northern-Khmer child rearing cultural transmission process based on the local wisdom empowerment theory | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | การศึกษาปฐมวัย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Somphong.C@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Cheerapan.B@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.1250 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tipchutha_su.pdf | 4.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.