Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19267
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจรูญศรี มาดิลกโกวิท-
dc.contributor.authorนันทวุฒิ พิมพ์แพง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-04-27T14:46:16Z-
dc.date.available2012-04-27T14:46:16Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19267-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทุนทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทุนทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ โดยใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด 11 ท่าน ได้แก่ ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 5 ท่าน นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษา 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการด้านทุนทางปัญญา 3 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าสภาพทุนทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยทุนมนุษย์ ทุนโครงสร้างและองค์กร ทุนนวัตกรรมและเทคโนโลยี และทุนความสัมพันธ์ มีดังนี้ สภาพทุนมนุษย์ มีการนำความรู้ของคณาจารย์และนิสิต นักศึกษาไปสร้างรายได้ให้กับสถาบัน บุคลากรขาดทักษะชีวิตทักษะสังคมและขาดสำนึกในความสำเร็จ/ความรับผิดชอบแต่การผลิตบัณฑิตไม่ตรงกับตลาดแรงงานและแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ สภาพทุนโครงสร้างและองค์กร สถาบันอุดมศึกษามีวิสัยทัศน์ร่วมและมีวัฒนธรรมองค์กร มีการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีการประเมินผลงานโดยมุ่งที่ผลผลิตและผลลัพธ์ นอกจากนี้พบว่ามีการสร้างบรรยากาศทางวิชาการเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ตลอดเวลา แต่ขาดความยืดหยุ่นในการบริหารงานภายใต้ระบบราชการ สภาพทุนนวัตกรรมและเทคโนโลยี มีการตอบสนองการใช้เทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปฏิบัติงานและการเรียนรู้ แต่การเข้าถึงระบบเครือข่ายไม่รวดเร็วและไม่ครอบคลุมพื้นที่การใช้งาน การวิจัยและพัฒนามีลักษณะแบบร่วมมือและเครือข่ายมากขึ้น แต่ทั้งนี้ทรัพย์สินทางปัญญาของสถาบันอุดมศึกษาไม่ได้นำมาสร้างให้เกิดประโยชน์เชิงธุรกิจ สภาพทุนความสัมพันธ์ มีการวิจัยทางการตลาดการศึกษาด้านอุปทานของสถาบันแต่ขาดการวิจัยด้านอุปสงค์ มีการสร้างองค์ความรู้จากความสัมพันธ์กับภายนอกเพื่อสร้างความภาคภูมิใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศรวมทั้งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่สถาบัน แนวทางการพัฒนาทุนทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มีดังนี้ แนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ ควรสร้างความร่วมมือกับภายนอกในการปรับหลักสูตรเพื่อให้ตรงต่อทักษะในการปฏิบัติงานจริง ส่งเสริมกิจกรรมนอกเหนือกิจกรรมทางวิชาการอย่างเป็นระบบ และควรกระตุ้นสำนึกในความสำเร็จ/ความรับผิดชอบโดยการใช้บทบาทของผู้นำ แนวทางการพัฒนาทุนโครงสร้างและองค์กร ควรสร้างความร่วมมือในการกำหนดความเหมาะสมและสอดคล้องให้กับองค์กร ปฏิรูปการบริหารจัดการภายในให้ยืดหยุ่นภายใต้การบริหารแบบราชการ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ สร้างอัตลักษณ์ทางวิชาการและควรมุ่งบริหารจัดการบุคคลผู้เป็นเลิศอย่างเป็นระบบ แนวทางการพัฒนาทุนนวัตกรรมและเทคโนโลยี ควรเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสถาบันอย่างพอเพียง พัฒนาระบบการจัดเก็บและแบ่งปันผลประโยชน์การวิจัย ปรับโครงสร้างการบริหารการวิจัยประสานงานแบบการเข้าร่วมกลุ่มวิจัย และควรส่งเสริมการสร้างมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ แนวทางการพัฒนาทุนความสัมพันธ์ควรวิจัยทางการตลาดการศึกษาด้านอุปสงค์ พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางเกี่ยวกับการตลาดด้านการศึกษา เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเครือข่ายต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน และควรส่งเสริมการจัดการข้อมูลด้านวิชาการและการวิจัยสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this thesis are to study the states of intellectual capital and propose the guidelines for intellectual capital development in the public higher education institutions. The study was conducted by interviewing 11 key informants, namely 5 chancellors, 3 scholars, and 3 intellectual capital specialists and scholars of the public higher education institutions. The methodology for this study employs a structured interview and the content analysis. The results indicate that the states of intellectual capital in public higher education institutions, which consists of the human capital, structural and organizational capital, innovative and technological capital, and relational capital, are as follows: the states of human capital: Professors and students have used knowledge to generate the institutional revenue, graduated students lack social skills, the need for achievement, and a sense of responsibility. In addition, the production of graduated students does not meet with the demand of labor market and national guidelines of human development; the structural and organizational capital: The institutions have shared vision and common organization culture. They are administrated by participatory management. Within the institutions, there is evaluation procedure which focuses on output and outcome. It is also found that despite the motivating learning environment, the rigid bureaucratic system has hinder the progress; the states of innovative and technological capital: Technology is adopted to develop the institution's operation and graduated students' learning behavior. However, access to the network is not speedy and available in all areas. The research and development have become more collaborative and networking more widespread. Even so, the institutions do not use the institutional intellectual property for commercial benefits; the states of relational capital: Educational marketing research tends to be on the supply-side, while the study on the demand-side is scant. Outer institutional knowledge is created to satisfy the stakeholders both at local and national levels. It has brought about good image for the institutions. The guidelines for intellectual capital development are as listed: For Human capital: Collaboration with external organizations should be made to adjust the curriculums into a more practical mode. Non-academic activities are to be systematically promoted. Leadership skills are introduced so as to instill the students’ need for achievement and their sense of responsibility. For structural and organizational capital: Participatory management must be set to realign the operational system into a sensible manner. Internal managerial reform is required to turn the rigid bureaucratic system into lenient one. Build up the learning environment and set up academic uniqueness. Human resource must steadily deal with the talent management. For innovative and technological capital: Technology must be selected and put to use adequately and appropriately. Filing and research income system are to constantly be developed and the intellectual property for commercial benefit be promoted. For relational capital: Educational marketing research should focus on the demand-side. Database system on the educational marketing information must be developed and networking system be unified. The data management system for the academic and research purposes must be provided for all the stakeholders.-
dc.format.extent22811873 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.617-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectทุนทางปัญญาen
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษาen
dc.titleการศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาทุนทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐen
dc.title.alternativeA study of the state of and guidelines for intellectual capital development in public higher education institutionsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.617-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nuntawut_pi.pdf22.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.