Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19277
Title: ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเจ้าหน้าที่กู้ชีพร่วมกตัญญูที่ปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Stress and associated factors among ruamkatanyu rescue workers in Bangkok metropolis
Authors: ปัญจศิลป์ สมบูรณ์
Advisors: ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความเครียด (จิตวิทยา)
สุขภาพจิต
ความเครียดในการทำงาน
เจ้าหน้าที่กู้ชีพ -- ความเครียดในการทำงาน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของความเครียด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเจ้าหน้าที่กู้ชีพร่วมกตัญญู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ เจ้าหน้าที่กู้ชีพร่วมกตัญญูที่เป็นเจ้าหน้าที่ประจำที่ปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 238 ราย โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามวัดระดับความเครียดและภาวะเบื่องานจากการทำงาน แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามปัจจัยด้านการทำงานและแบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ Chi-Square, t-test, Pearson's Correlation Coefficient และ Logistic Regression Analysis โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบความชุกของความเครียดร้อยละ52.1โดยแบ่งเป็น มีความเครียดจากการทำงานสูง ควรหาหนทางลดหรือป้องกันการเกิดความเครียดจากการทำงาน มิฉะนั้นจะมีภาวะเบื่องานตามมาร้อยละ 36.2 มีภาวะเบื่องานร้อยละ 15.1 และมีภาวะเบื่องานสูงนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าและควรไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษา ร้อยละ0.8 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< 0.05 ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้ของครอบครัวต่อเดือน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< 0.01 ได้แก่ การใช้ยาหรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท แรงสนับสนุนทางสังคม คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านการทำงานในหมวดการควบคุมและตัดสินใจ และปัจจัยด้านการทำงานหมวดสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน
Other Abstract: The objectives of this study is to examine the prevalence of stress and the associated factors in Ruamkatanyu rescue workers. Samples were 238 of Ruamkatanyu rescue workers who were full time workers in Bangkok Metropolis area. Data were collected by using questionnaires; Demographic data Questionnaire, Occupational Stress and Burnout Inventory Questionnaire, Quality of Life Questionnaire (WHOQOL-BREF-THAI), the Personal Resource Questionnaire (PRQ-part II) and Occupational Stress Questionnaire. Data were analyzed using Chi-square, t-test, Pearson's Correlation Coefficient and Logistic Regression Analysis with the level of significant at 0.05. This study found that 52.1% of Ruamkatanyu rescue workers in Bangkok Metropolis had a stress which can be categorized into 3 groups; 36.2% had high occupational stress without burnout, 15.1% had high occupational stress with burnout, and 0.8% had high occupational stress with high burnout. The factors which significantly associated with stress at p< 0.05 were education level and family's monthly income, whereas the factors which significantly associated with stress at p< 0.01 were current substance use, perception of social support, Quality of Life score (environmental domain), working conditions (decision latitude and work environment domain ).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19277
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.416
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.416
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panjasilpa_So.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.