Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1930
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิราพร เกศพิชญวัฒนา | - |
dc.contributor.author | กฤษณกมล วิจิตร, 2518- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-08-18T12:26:01Z | - |
dc.date.available | 2006-08-18T12:26:01Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9741762771 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1930 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากของผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความเชื่อมั่นในสมรรถนะแห่งตน โดยใช้สื่อวีดีทัศน์ภาษาถิ่นล้านนากับผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ใช้แบบแผนการวิจัยชนิดกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มโดยการจับคู่อายุและประสบการณ์การผ่าตัด วัดผลหลังการทดลองครั้งเดียว กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยการส่องกล้องผ่านทางท่อปัสสาวะ จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองในจำนวนที่เท่ากัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการส่งเสริมความเชื่อมั่นในสมรรถนะแห่งตนโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ภาษาถิ่นล้านนาที่ผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหา และความเชื่อมั่นของเครื่องมือแล้ว เครื่องมือที่ใช้ในการกำกับการทดลองคือ แบบสอบถามความเชื่อมั่นในสมรรถนะแห่งตนก่อนผ่าตัด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บการรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดพฤติกรรมการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดมีค่าความเชื่อมั่นของผู้สังเกตเท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Mann Whitney U Test ผลการวิจัย พบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยรวมของผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากของผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มทดลองด้านการเคลื่อนไหวร่างกายในวันที่ 2 หลังผ่าตัด การลุกเดินในวันที่ 3 หลังผ่าตัด การไม่เบ่งปัสสาวะขณะทำการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ และการดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อวัน สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลก่อนผ่าตัดตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากของผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มทดลองด้านการขอยาบรรเทาอาการปวด และการทำความสะอาดอวัยะสืบพันธุ์อย่างถูกวิธี สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากของผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้านการคงการยึดตรึงสายสวนปัสสาวะ ไม่มีความแตกต่างกัน | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to compare postoperative prostatectomy behaviors of the elderly patients received self-efficacy promoting program using video media in Northern Thai dialect, whereas the control group received regular nursing care activities. The quasi-experimental design using posttest only with non-equivalent groups by matching age group and previous experiences of operation. Sample were 40 elderly patients which were equally assigned to experimental and control group. The intervention instrument was the self-efficacy promoting program using video media in Northern Thai dialect. The follow up instrument was questionnaires to measure preoperative self-efficacy. The instrument for collecting data was a tool to measure the postoperative behaviors. All of instruments tested for validity and reliability. Data were analyzed by using Mann Whitney U Test. Major findings were as follows: 1. Total mean score of postoperative behaviors of the elderly patients in experimental group were significantlyhigher than those who received regular nursing care at the .05 level. 2. Mean score of postoperative behaviors which are ambulation on the 2nd day of the postoperation, walking on the 3rd day postoperation, not pushing pressure while receiving bladder irrigation, andmaintaining adequate fluid intake in a day of the elderly patients in experimental group were significantly higher than those who received regular nursing care at the .05 level. 3. Mean score of postoperative behaviors which are requesting pain medication and performing perineal care with right method of the elderly patients in experimental group was not significantly higher than those who received regular nursing care. 4. Mean score of postoperative behavior which is retraining traction catheter of the elderly patients in experiment group was not significantly different from those who received regular nursing care. | en |
dc.format.extent | 4241197 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | วีดิทัศน์เพื่อการศึกษา | en |
dc.subject | ต่อมลูกหมากโต--โรค | en |
dc.subject | การดูแลหลังศัลยกรรม | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | en |
dc.title | ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความเชื่อมั่นในสมรรถนะแห่งตนโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ภาษาถิ่นล้านนาต่อพฤติกรรมการปฎิบัติตนหลังผ่าตัดของผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมาก | en |
dc.title.alternative | The effect of self-efficacy promoting program using video media in Northern Thai dialect on postoperative behaviors in elderly patients receiving prostatectomy | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Krissanakamon.pdf | 2.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.