Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19358
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รัตน์ศิริ ทาโต | - |
dc.contributor.author | ปาริชาติ พยัคฆรักษ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-05-01T13:06:18Z | - |
dc.date.available | 2012-05-01T13:06:18Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19358 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาระดับแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพ และศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัยทำนายแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในเขตภาคใต้ จากปัจจัย ดัชนีมวลกาย เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง และอิทธิพลระหว่างบุคคล โดยใช้แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของ Pender (2006) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีคะแนนความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ≥ 5 คะแนน ที่มารับบริการใน 4 โรงพยาบาลศูนย์ในเขตภาคใต้ จำนวน 259 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล แบบแผนการดำเนินชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง และอิทธิพลระหว่างบุคคล แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงโดยการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค ได้ค่า .96, .98, .95, .95 และ.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายด้วยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1.ระดับแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในเขตภาคใต้โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ( [X-Bar] = 3.07, S.D = .63) 2.เพศชายและการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในเขตภาคใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05) 3. อิทธิพลระหว่างบุคคลการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการรับรู้อุปสรรคสามารถร่วมกันทำนายแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในเขตภาคใต้ของกลุ่มตัวอย่างได้ ร้อยละ 29 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were to explore health promoting lifestyles, examine the relationships and predictive factors between body mass index, sex, age, education level, income, perceived benefits, perceived barriers, perceived self-efficacy, interpersonal influences, and health promoting lifestyles in patients at risk for cardiovascular disease in southern area . A theoretical framework used in study was the Health Promotion Model (Pender, 2006). A simple random sampling was used to recruit 259 patients who had risk score for cardiovascular disease ≥ 5 who came to receive services at 4 tertiary hospitals in the South. Six questionnaires were used to collect personal data, perceived benefits, perceived barriers, perceived self-efficacy, interpersonal influences, and health promoting lifestyles. The questionnaires were tested for their content validity by a panel of expert. They demonstrated acceptable reliability with Cronbach’s alpha at .93, .98, .95, .95, .96, respectively. Data were analyzed using bivariate correlation coefficients and stepwise multiple regression. The results of this study demonstrated that: 1.Health promoting lifestyle of patients at risk for cardiovascular disease in southern area was at moderately level ([X-Bar]= 3.07, S.D = .63). 2.Being male and perceived barriers lifestyle were negatively related to health promoting lifestyles of patients at risk for cardiovascular disease in the South at the level .05. 3). Interpersonal influences, perceived benefits, perceived self-efficacy, and perceived barriers were significant predictors of health promoting lifestyles of patients at risk for cardiovascular diseaes in the South (p<.05). They explained 29 percent of the variance in health promoting lifestyles. | - |
dc.format.extent | 15797379 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.451 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | en |
dc.subject | โรคหัวใจและหลอดเลือด | en |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | - |
dc.subject | ผู้ป่วย -- การดำเนินชีวิต | - |
dc.subject | หัวใจ -- โรค -- ผู้ป่วย | - |
dc.subject | หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- ผู้ป่วย | - |
dc.title | ปัจจัยทำนายแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในเขตภาคใต้ | en |
dc.title.alternative | Factors predicting health promoting lifestyles in patients at risk for cardiovascular disease in southern area | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Ratsiri.T@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.451 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
parichat_pa.pdf | 15.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.