Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19413
Title: การสลายไพรีนในดินที่ปนเปื้อนน้ำมันโดยกลุ่มแบคทีเรีย STK ร่วมกับสารลดแรงตึงผิวหรือแบคทีเรียที่สร้างสารลดแรงตึงผิว
Other Titles: Degradation of pyrene in oil contaminated soil by bacterial consortium STK in the presence of surfactants or surfactant-producing bacteria
Authors: กานต์รวี แก้วขาว
Advisors: สุเทพ ธนียวัน
กาญจณา จันทองจีน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Suthep.T@Chula.ac.th
Jkanchan@chula.ac.th
Subjects: สารลดแรงตึงผิว
โพลิไซคลิกอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอน
การบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพ
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาผลการนำกลุ่มแบคทีเรีย STK ซึ่งประกอบด้วย Zoogloea sp., Stenotrophomonas sp. และ Mesorhizobium sp. มาย่อยสลายไพรีนที่ปนเปื้อนในดิน ร่วมกับการใช้สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ โดยทำการทดลองระบบสเลอรีที่แปรผันอัตราส่วนดินต่อน้ำตั้งแต่ 1:0-1:12 เติมไพริน 1 มก. ต่อดิน 1 กรัม บรรจุลงในขวดรูปชมพู่ขนาด 250 มล. และเชื้อ STK เริ่มต้น 10[superscript 8] cfu/มล. บ่มที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เขย่าที่ความเร็ว 200 รอบ/นาที จากผลการทดลองพบว่าในระบบสเลอรีที่มีอัตราส่วนดินต่อน้ำตั้งแต่ 1:4-1:12 กลุ่มแบคทีเรีย STK สามารถย่อยสลายไพรีนจนเหลือน้อยกว่า 1% ภายใน 7 วัน การเติมทั้งสารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์, สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ และจุลินทรีย์สร้างสารลดแรงตึงผิว Bacillus subtilis BBK-1 ที่จำนวนเชื้อเริ่มต้น 5-20 10 [superscript 7] cfu/มล. ในระบบสเลอรีดินต่อน้ำเท่ากับ 1:6 พบว่ากลุ่มแบคทีเรีย STK สามารถย่อยสลายไพรีนได้มากกว่า 99% ในขณะที่ชุดควบคุมซึ่งปราศจากกลุ่มแบคทีเรีย STK สามารถสลายไพรีนเพียง 4-38% นอกจากนี้ยังพบว่าการเติมและไม่เติมสารลดแรงตึงผิวและแบคทีเรียที่สามารถผลิตสารลดแรงตึงผิวไม่มีผลต่อการสลายไพรีนโดยกลุ่มแบคทีเรีย STK จากการวิเคราะห์ชิ้นส่วนดีเอ็นเอบริเวณ 16s rDNA โดยวิธี DGGE ยืนยันพลวัตรของประชากรกลุ่มแบคทีเรีย STK ที่สามารถพบได้ตลอดการทดลอง 7 วัน
Other Abstract: The present study employed bacterial consortium STK consisting of Zoogloea sp., Stenotrophomonas sp. and Mesorhizobium sp. to bioremediate pyrene contaminated soil in the presence or absence of biosurfactant. A 250 ml.-flask-containing soil slurry (1:0-1:12, soil:water) spiked with 1000 ppm pyrene was bioaugmented with STK consortium at 10 [superscript 8] cfu/ml and incubated for 1 week at room temperature with agitation rate of 200 rpm. It was found that at 1:4-1:12 ; soil:water STK consortium degraded pyrene to less than 1% within 7 days. Effect of surfactant addition to a 1:6 soil slurry (w/v) which included Brij 35, a nonionic surfactant, surfactin at 15x ACMC or Bacillus subtilis BBK-1 a surfactin producer (at 5-20 10 [superscript 7] cfu/ml) on pyrene-degrading ability of STK consortium was studied. All surfactants tested including B. subtilis BBK-1 showed no significant difference in enhancing pyrene degrading ability of STK indicating all surface active agents had no synergistic or positive effect toward pyrene degradation by STK. However, more than 99% pyrene was degraded in the presence of STK whereas 4-38% degradation was obtained from the control which STK was absent. Denaturing gradient gel electrophoresis (DGGE) of PCR amplified 16s rDNA revealed STK as dominant species in all the systems tested.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19413
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.314
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.314
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Karnrawee.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.