Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19418
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจรูญศรี มาดิลกโกวิท-
dc.contributor.advisorรุ่งระวี วีระเวสส์-
dc.contributor.authorธิดารัตน์ โชคสุชาติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-05-03T11:46:50Z-
dc.date.available2012-05-03T11:46:50Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19418-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของชาวนาที่เรียนรู้จากโรงเรียนชาวนาและโรงเรียนเกษตรกรข้าว ประสิทธิภาพการผลิตของชาวนา วิเคราะห์ตัวแปรผลการเรียนรู้และตัวแปรอื่นๆ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตของชาวนา และเสนอแนะแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของชาวนาในการเกษตรแบบยั่งยืน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ชาวนาที่เรียนรู้ในปีพ.ศ. 2547–2548 จากโรงเรียนชาวนา จำนวน 121 คน และโรงเรียนเกษตรกร ข้าว 88 คน จำนวนรวม 209 คนจาก 8 หมู่บ้านใน 7 ตำบลของจังหวัดสุพรรณบุรี เก็บข้อมูลประสิทธิภาพการผลิตและผลการเรียนรู้ของชาวนาโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การประมาณค่าผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 ประชากร และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ จากนั้นนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลไปสัมภาษณ์ชาวนา 16 คน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการภาคสนาม 2 คน ผู้ที่เกี่ยวข้องระดับนโยบาย 10 คน จำนวนรวม 28 คน เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของชาวนาในการเกษตรแบบยั่งยืน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ชาวนาจากโรงเรียนชาวนาและโรงเรียนเกษตรกรข้าวมีผลการเรียนรู้ด้านความรู้เรื่องการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธีเท่ากับ 18.0 และ 14.7 คะแนนจากคะแนนรวม 40 คะแนน การปรับปรุงบำรุงดินโดยชีววิธีเท่ากับ 16.3 และ 15.2 คะแนนจากคะแนนรวม 30 คะแนน การคัดเลือกพันธุ์ข้าวเท่ากับ 7.2 และ 3.4 คะแนนจากคะแนนรวม 30 คะแนน ชาวนาทั้ง 2กลุ่มส่วนใหญ่นำความรู้ไปปฏิบัติในระดับปานกลาง สำหรับผลการเรียนรู้ด้านกระบวนทัศน์ชาวนาจากโรงเรียนชาวนามีการปรับเปลี่ยนไปในระดับมาก ส่วนชาวนาจากโรงเรียนเกษตรกรข้าวปรับเปลี่ยนไปในระดับปานกลาง ชาวนาจากโรงเรียนชาวนากับโรงเรียนเกษตรกรข้าวมีความรู้เรื่องการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธีและการคัดเลือกพันธุ์ข้าวแตกต่างกัน การปรับปรุงบำรุงดินโดยชีววิธีไม่แตกต่างกัน การนำความรู้เรื่องการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธีไปปฏิบัติแตกต่างกัน การนำความรู้เรื่องการปรับปรุงบำรุงดินโดยชีววิธีและการคัดเลือกพันธุ์ข้าวไปปฏิบัติไม่แตกต่างกัน ในขณะที่การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์แตกต่างกัน ชาวนาจากโรงเรียนชาวนาและโรงเรียนเกษตรกรข้าวมีการเปลี่ยนแปลงกำไรสุทธิจากการทำนาต่อไร่เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 59.6 และ 41.6 สำหรับการเปลี่ยนแปลงผลผลิตต่อแรงงานในครัวเรือนต่อไร่เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 2.2 และ 2.7 ตามลำดับ ชาวนาจากโรงเรียนชาวนากับโรงเรียนเกษตรกรข้าวมีการเปลี่ยนแปลงกำไรสุทธิจากการทำนาต่อไร่ และการเปลี่ยนแปลงผลผลิตต่อแรงงานในครัวเรือนต่อไร่ไม่แตกต่างกันตัวแปรที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกำไรสุทธิจากการทำนาต่อไร่ของชาวนาจากโรงเรียนชาวนาเรียงลำดับค่าสัมประสิทธิ์จากมากไปหาน้อยใน 3อันดับแรกได้แก่ผลการเรียนรู้ด้านกระบวนทัศน์เรื่องการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต จำนวนแรงงานรับจ้างและผลการเรียนรู้ด้านการนำความรู้เรื่องการปรับปรุงบำรุงดินโดยชีววิธีไปปฏิบัติ สำหรับตัวแปรที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลผลิตต่อแรงงานในครัวเรือนต่อไร่ ได้แก่ ผลการเรียนรู้ด้านกระบวนทัศน์เรื่องการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เพศของหัวหน้าครัวเรือน และปริมาณสารบำรุงข้าว ตัวแปรที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกำไรสุทธิจากการทำนาต่อไร่ของชาวนาจากโรงเรียนเกษตรกรข้าว ได้แก่ พื้นที่ทำนา ผลการเรียนรู้ด้านความรู้เรื่องการคัดเลือกพันธุ์ข้าวและการปรับปรุงบำรุงดินโดยชีววิธี สำหรับตัวแปรที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลผลิตต่อแรงงานในครัวเรือนต่อไร่ ได้แก่ หนี้สินคงค้าง ผลการเรียนรู้ด้านกระบวนทัศน์เรื่องการปรับเปลี่ยนความเชื่อและความคิด และเพศของหัวหน้าครัวเรือน ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย พบว่า ชาวนาจากโรงเรียนชาวนาที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูงและต่ำกว่าประสิทธิภาพการผลิตโดยเฉลี่ยส่วนใหญ่มีผลการเรียนรู้ด้านความรู้เรื่องการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธีและการคัดเลือกพันธุ์ข้าวสูงกว่าชาวนาจากโรงเรียนเกษตรกรข้าว การปรับปรุงบำรุงดินโดยชีววิธีใกล้เคียงกัน ส่วนการนำความรู้ไปปฏิบัติและการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของชาวนา 2 กลุ่มอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นชาวนาจากโรงเรียนเกษตรกรข้าวที่มีประสิทธิภาพการผลิตต่ำกว่าโดยเฉลี่ยมีการนำความรู้เรื่องการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธีและการคัดเลือกพันธุ์ข้าวไปปฏิบัติในระดับน้อย ในขณะที่ชาวนาจากโรงเรียนชาวนาที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูงกว่าโดยเฉลี่ยมีการปรับเปลี่ยนความเชื่อและความคิด วิถีการผลิตไปในระดับมาก แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในด้านนโยบาย ควรจัดการศึกษาให้แก่ชาวนาอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกพื้นที่ในจังหวัดสุพรรณบุรีและจัดให้เป็นวาระแห่งชาติ ในด้านการจัดการเรียนการสอน ควรเพิ่มเติมเนื้อหาการทำน้ำหมัก/สารชีวภาพและเนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการทำนาในการเกษตรแบบยั่งยืน เน้นให้ชาวนาได้ปฏิบัติจริง และมีการติดตามหรือประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ได้จากงานวิจัย ควรสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้เรื่องการทำนาในการเกษตรแบบยั่งยืนผ่านสื่อและเครือข่ายชาวนา ส่งเสริมการนำแนวคิดการทำนาในการเกษตรแบบยั่งยืนมาไว้ในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับทั้งในและนอกระบบโรงเรียนรวมถึงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะในการรับผิดชอบการจัดการศึกษาให้แก่ชาวนา เพิ่มจำนวนโรงเรียนเกษตรกรข้าวและโรงเรียนชาวนา พัฒนาและเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการภาคสนาม สนับสนุนและส่งเสริมกลไกหรือมาตรการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำนาในการเกษตรแบบยั่งยืนควบคู่ไปด้วยen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to identity learning effects of peasants who learned from the farmer school and the farmer field school, production efficiency of peasants, an influence of learning effects and other variables on production efficiency, and to suggest guidelines for educational provision to increase production efficiency of peasants in sustainable agriculture. The study covered 209 households in eight villages, seven districts, Suphanburi province. The samples consisted of 121 peasants, learned from the farmer school, and 88 peasants, learned from the farmer field school during 2005 – 2006. The data of production efficiency and learning effects were obtained from questionnaires and analyzed by using descriptive statistics, t-test, and multiple regression. Then, the analyzed data were taken to interview 28 key informants. They consisted of 16 peasants, 2 field staffs, and 10 related persons from policy level. The qualitative data were analyzed by using content analysis. The findings revealed that peasants, learned from the farmer school and the farmer field school, got 18 and 14.7 points from 40 points of insect management knowledge testing, 16.3 and 15.2 points from 30 points of soil improvement knowledge testing, and 7.2 and 3.4 points from 30 points of paddy seed selection knowledge testing, respectively. Both of peasant groups took the knowledge to use at the medium level. Peasants, learned from the farmer school, had changed in paradigms at the highest level while the other group had changed at the medium level. As the result of learning effects' comparison, we found that there were difference in insect management knowledge, paddy seed selection knowledge, use of insect management knowledge, and change in paradigms between the two groups. On the other hand, there weren’t difference in soil improvement knowledge, use of soil improvement knowledge, and use of paddy seed selection knowledge. Net profit per rai of peasants, learned from the farmer school and the farmer field school, increased approximately 59.6 and 41.6 per cent. Output per family’s labour per rai increased approximately 2.2 and 2.7 per cent, respectively. And there weren’t difference between the two groups. The first three coefficients of variables affected to change in net profit per rai of peasants, learned from the farmer school, were namely change in production process, hired labour, and use of soil improvement knowledge. Variables affected to change in output per family' s labour per rai, were namely change in life-style, sex of household head, and nourishment. Variables affected to change in net profit per rai of peasants, learned from the farmer field school, were namely area, paddy seed selection knowledge, and soil improvement knowledge. Variables affected to change in output per family’s labour per rai, were namely remained debts, change in belief and thinking, and sex of household head. For mean comparison, peasants from the farmer school with higher and lower production efficiency got insect management and paddy seed selection knowledge points higher than peasants from the farmer field school. And there wasn't difference in soil improvement knowledge points between both peasant groups. Most of peasants from both schools took the knowledge to use and changed paradigms at the medium level. But peasants from the farmer field school with lower production efficiency took the insect management and paddy seed selection knowledge to use at the lowest level. Peasants from the farmer school with higher production efficiency changed belief and thinking ,and production process at the highest level. In policies, educational provision guidelines to increase the production efficiency were as follows: educational provision for peasants should be provided continuously, covered everywhere in Suphanburi province, and assigned as a national agenda. In learning and teaching approaches, educational provision should increase the related knowledge for paddy farming in sustainable agriculture, emphasize learning by doing, and be evaluated continuously. Policy recommendations based on the findings were as follows: the related authority should support media and peasant network to disseminate of sustainable agriculture farming knowledge, promote paddy farming in sustainable agriculture to curriculum at all educational levels both in formal and non formal education and develop learning centers, establish a direct responsibility organization, increase these schools and develop staffs, support and promote the related mechanisms or supplements for paddy farming in sustainable agriculture.en
dc.format.extent3877249 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.142-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเกษตรกรรมแบบยั่งยืนen
dc.subjectเกษตรกรรม -- การศึกษาและการสอนen
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen
dc.titleแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของชาวนาในการเกษตรแบบยั่งยืนen
dc.title.alternativeEducational provision guidelines to increase the production efficiency of peasants in sustainable agricultureen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.142-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tidarat_ch.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.