Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1944
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม กับความตั้งใจของพยาบาลในการประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัด |
Other Titles: | Relationships between attitudes, subjective norms, perceived behavioral control, and nurses' intention to assess pain in postoperative patients |
Authors: | กนิษฐ ศรีปานแก้ว, 2514- |
Advisors: | ชนกพร จิตปัญญา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Subjects: | ความเจ็บปวดหลังศัลยกรรม การพยาบาลศัลยศาสตร์ |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม กับความตั้งใจของพยาบาลในการประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยหลังทำผ่าตัดช่องท้องในหอศัลยกรรมทั่วไป และศัลยกรรมเฉพาะทาง จำนวน 90 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ตามแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของ Ajzen (1988) ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเจตคติต่อการประเมินความเจ็บปวด แบบสอบถามการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง แบบสอบถามการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และแบบสอบถามความตั้งใจในการประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัด ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85, .84, .88 และ .67 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พยาบาลมีเจตคติต่อการประเมินความเจ็บปวดทางบวกในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 188.09 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 31.03 การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงทางบวกในระดับปานกลางโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 118.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 25.30 การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมทางบวกในระดับปานกลางโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 225.84 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 48.21 และมีความตั้งใจในการประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 23.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.26 2. เจตคติต่อการประเมินความเจ็บปวด การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจของพยาบาล ในการประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .338, .328 และ .284 ตามลำดับ) 3. เจตคติต่อการประเมินความเจ็บปวดและการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจของพยาบาลในการประเมินความเจ็บปวด ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดได้ 16.8% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสร้างสมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ ความตั้งใจในการประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัด = .260 (เจตคติต่อการประเมินความเจ็บปวด) + .245 (การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง) |
Other Abstract: | To examine the relationships between attitudes toward pain assessment, subjective norms, perceived behavioral control, and nurses' intention to assess pain in postoperative patients. The subjects were 90 registered nurses in a surgical unit, selectec by a simple random sampling. The instruments were demographic data form, attitude toward pain assessment questionnaire, subjective norm questionnaire, perceived behavioral control questionnaire, and an intention to assess pain in postoperative patients questionnaire. All questionnaires were tested for content validity by a panel of experts. The reliability of the instruments were .85, .84, .88, and .67, respectively. Pearson product moment correlation and stepwise multiple regression were used for statistical analysis. The results were as follows 1. Mean score of attitudes toward pain assessment, subjective norms, perceived behavioral control, and intention to assess pain in postoperative patients of nurses were at the medium level (Mean = 188.09, 118.33, 225.84, and 23.60, resectively, S.D. = 31.03, 25.30, 48.21, and 3.26, respectively). 2. There were positively statistical correlations between attitudes toward pain assessment, subjective norms, perceived behavioral control, and nurses' intention to assess pain in postoperative patients at the level of .01. (r = .338, .328, and .284, respectively) 3. Attitudes toward pain assessment and subjective norms significantly predicted nurses' intention to assess pain in postoperative patients at the level of .05. The predictive power was 16.8% of the variance. The equation derived from the standardized score was: Nurses' intention to assess pain in postoperative patients = .260 (attitudes toward pain assessment) + .245 (subjective norms). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1944 |
ISBN: | 9741761848 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.