Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19454
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุกรี รอดโพธิ์ทอง | - |
dc.contributor.advisor | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง | - |
dc.contributor.author | พัชราวดี ศรีบุญเรือง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-05-04T15:15:03Z | - |
dc.date.available | 2012-05-04T15:15:03Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19454 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการแบ่งปันความรู้ด้วยวิธีผสมผสานโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เอไอซีเพื่อส่งเสริมการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันของนักเรียนแกนนำ อย.น้อย เป็นการวิจัย และพัฒนา มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้น คือ 1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการแบ่งปันความรู้ออนไลน์ของผู้อำนวยการ ครูแกนนำ อย.น้อย และนักเรียนแกนนำ อย.น้อย 2) สร้างรูปแบบการแบ่งปันความรู้ 3) ทดลองใช้รูปแบบการแบ่งปัน ความรู้ และ 4) รับรองรูปแบบการแบ่งปันความรู้ด้วยวิธีผสมผสานโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เอไอซี เพื่อส่งเสริมการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันของนักเรียนแกนนำ อย.น้อย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาความคิดเห็นมีจำนวน 482 คน กลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ นักเรียนแกนนำ อย.น้อย จาก 2 โรงเรียน จำนวน 20 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในภาคการศึกษาที่ 1/2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการแบ่งปันความรู้ฯ แบบประเมินผลการทำงานกลุ่ม และแบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ดำเนินการทดลอง 7 สัปดาห์ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์ค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้อำนวยการ ครูแกนนำ อย.น้อย และนักเรียน อย.น้อย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับการแบ่งปัน ความรู้ออนไลน์ว่า มีความสำคัญและมีความจำเป็น เนื่องจากช่วยพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้สามารถใช้ เทคโนโลยีในการแบ่งปันความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. รูปแบบการแบ่งปันความรู้ด้วยวิธีผสมผสานโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เอไอซี เพื่อส่งเสริมการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันของนักเรียนแกนนำ อย.น้อย มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) กลุ่มคนที่ร่วมแบ่งปัน ความรู้ ได้แก่ ครูแกนนำ/ผู้ดำเนินกิจกรรม และนักเรียนแกนนำ อย.น้อย 2) ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3) บรรยากาศ/สภาพแวดล้อมในการแบ่งปันความรู้แบบไม่เป็นทางการ 4) เทคโนโลยี/สื่อการเรียนรู้ ได้แก่ เว็บไซต์ เว็บบอร์ด บล็อก อีเมล แช้ท หนังสือ แผ่นพับ โปสเตอร์ และ 5) การประเมินการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน และพฤติกรรม การมีส่วนร่วม ขั้นตอนการแบ่งปันความรู้ประกอบด้วย 7 ขั้น คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นเปิดใจแบ่งปัน ประสบการณ์ร่วมสร้างวิสัยทัศน์ 3) ขั้นกำหนดประเด็นคิดค้นหากลวิธี 4) ขั้นวางแผนและออกแบบกิจกรรมแบ่งปัน ประสบการณ์ 5) ขั้นจัดทำแผน กำหนดผู้รับผิดชอบ และอภิปรายร่วมกันแบบผสมผสาน 6) ขั้นลงมือปฏิบัติตามแผน และ 7) ขั้นนำเสนอผลงานและประเมินผล | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of the study were to develop blended knowledge sharing model using Appreciation-Influence-Control approach to enhance building of shared visions of Young FDA leaders. This study, using research and development (R&D) method, was divided into four phases: 1) study the opinion on knowledge sharing online from directors, Young FDA teachers and Young FDA leaders, 2) develop a prototype of blended knowledge sharing model, 3) validate the developed prototype, and 4) revise and propose the blended knowledge sharing model using appreciation-influence-control approach to enhance building of shared visions. The number of samples for studying the opinion in step 1 were 482. The samples who studied using the developed model were 20 Young FDA leaders from two schools, who were studying in eleven grades in the first semester of the academic year 2010. The instruments used in this research consisted of building of shared visions self assessment form, knowledge sharing model opinion questionnaire, team work evaluation form, and participation behavior observation form. The experiment tested for seven weeks. The data were analyzed using Mean, Standard Deviation and t-test Dependent. The research findings showed that: 1. The directors, Young FDA teacher and Young FDA leaders see that the online knowledge sharing is important and necessary for the Young FDA because it can develop the potential of the Young FDA for sharing their knowledge on health product problems by using technologies. 2. It was found that the subjects learned from the model had statistically significant at .05 level post-test scores on building of shared visions higher than pre-test scores. 3. The model comprises five components as follow: 1) Knowledge Sharing Group consists of Young FDA teacher/Moderator and Young FDA students, 2) Health Products Problems, 3) Informal Knowledge Sharing Environment, 4) Technologies/Learning Media such as Website, Webboard, Blog, E-mail, Chat, Books, Brochures, Posters etc., and 5) Evaluation: building of shared visions and participation behavior. The process consisted of seven processes: 1) Prepare before sharing knowledge, 2) Open mind and exchange experience for building of shared visions, 3) Define the topic and develop strategies, 4) Plan and design activities for sharing experiences, 5) Create the plan, appoint, and discuss, 6) Follow the plan, and 7) Present and evaluate | en |
dc.format.extent | 4175494 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1743 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | en |
dc.subject | การบริหารองค์ความรู้ | - |
dc.subject | การแลกเปลี่ยนทางการศึกษา | - |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการแบ่งบันความรู้ด้วยวิธีผสมผสานโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เอไอซีเพื่อส่งเสริมการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันของนักเรียนแกนนำ อย.น้อย | en |
dc.title.alternative | The development of a blended knowledge sharing model using appreciation-influence-control approach to enhance building of shared visions of Young FDA leaders | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Sugree.R@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Onjaree.N@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1743 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Patcharavadee_si.pdf | 4.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.