Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19480
Title: | ภาวะสังคมเสี่ยงภัย : แพทย์กับชีวิตคนไข้ในสังคมไทย |
Other Titles: | Risk society: doctor and patient's life in Thai society |
Authors: | กัญญาณัฐ เฮ็งบ้านแพ้ว |
Advisors: | สุภาวดี มิตรสมหวัง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | supa_msi@yahoo.com |
Subjects: | การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ -- ไทย การแพทย์กับสังคม แพทย์กับผู้ป่วย การรักษาโรค การวินิจฉัยโรค |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้คือ 1) เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ความเป็นสมัยใหม่( Modernity) ของ Anthony Giddens 2) เพื่ออธิบายถึงกระบวนการการครอบงำทางการแพทย์ (Medicalization) ในสังคมไทย 3) เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงของคนไทย อันเกิดจากการให้ความเชื่อมั่นและศรัทธาในผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ (Expert system) หนึ่งของสังคมไทย 4)เพื่อนำข้อค้นพบไปกำหนดแนวทางในการสร้างกลไกทางสังคมเพื่อสร้างความเป็นธรรมและความปลอดภัยในสังคมไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับการวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่มผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจากการเข้ารับการรักษาจากแพทย์ โดยได้ร้องเรียนมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ รวมทั้งเรื่องราวของกลุ่มผู้เสียหายต้องได้ยื่นเรื่องฟ้องต่อศาล เพื่อแสดงให้เห็นว่าเรื่องราวดังกล่าวเป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการแพทย์จริง ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview)และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) ความทันสมัยและระบบผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผลมาจากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพในสังคมไทย 2) กระบวนการการครอบงำทางการแพทย์ (Medicalization) ในสังคมไทย ผ่านเข้ามาในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ รูปแบบการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยทางการแพทย์ รูปแบบของการเป็นธุรกิจทางการแพทย์ รูปแบบของความเป็นสัญลักษณ์ทางการแพทย์ 3) ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดในระบบบริการทางการแพทย์ ทำให้คนไข้มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดในระบบบริการทางการแพทย์ 5 ด้าน คือ ความเสี่ยงทางร่างกาย ความเสี่ยงด้านจิตใจ ความเสี่ยงด้านสังคม ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ ความเสี่ยงด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว |
Other Abstract: | This study focuses on the followings: a) identifying Anthony Giddens’ concept of Modernity ; b) explaining the influence of medicalization in the Thai society ;c) analyzing the risks of the Thai patients stemming from trust and faith in medical specialists who are highly regarded in the Thai society, ;d) recommending the findings to improve fair and safety medical practices in the Thai society. The sampling group was consisted of 10 victims who were suffered from the damages caused by medical treatment, and requested help from the Foundation for Consumers and the network of those suffering from medical mistreatment. Others are those who filed suit to prove that they really suffered from the mistakes in medical treatment. The data were collected by using in-depth interviews and non-participative observations.Qualitative data were analyzed by using content analysis. The findings revealed that a) Giddens ‘s modernity concept is shown by symbolization and in expert system which became a social mechanism that controls faith and trust of its members ; b) medicalization gained faith and trust of the patients because it used high technology in expert curing practices, provided high quality services, and enhanced faith and trust of the patients through medical symbols and ; c) the mistake in the malcuring practices put high risks to the patients such as physical, mental, social, economic and family – relationship risk. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สังคมวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19480 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.306 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.306 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanyanat_ha.pdf | 2.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.