Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19497
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทิพวรรณ ธราภิวัฒนานนท์-
dc.contributor.authorบุญเพ็ญ ติกคณารักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-08T06:31:13Z-
dc.date.available2012-05-08T06:31:13Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19497-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractพัฒนาและทดสอบผลการใช้สื่อในรูปแบบวีดิทัศน์เรื่อง ทันตสุขภาพของเด็กทารกสำหรับหญิงตั้งครรภ์ โดยทดสอบสื่อวีดิทัศน์ที่พัฒนาขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2551 ทั้งหมด 91 คน ด้วยแบบทดสอบความรู้และทัศนคติก่อนและหลังดูวีดิทัศน์ วิเคราะห์หาประสิทธิภาพและดัชนีประสิทธิผลของสื่อ ทดสอบความแตกต่างของคะแนนความรู้ก่อนและหลังดูวีดิทัศน์ ด้วยสถิติวิลคอกสัน แมช แพร์ ไซน์ แรงค์ เทสต์ ทดสอบความสัมพันธ์ของคะแนนความรู้กับข้อมูลพื้นฐานของตัวอย่างด้วยสถิติครัสคัล วัลลิส และ แมนวิทนีย์ เทสต์ ผลการวิจัยพบว่า สื่อวีดิทัศน์ที่ใช้มีประสิทธิภาพ 87/70 ดัชนีประสิทธิผล 0.64 สามารถทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลทันตสุขภาพของเด็กทารกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) คะแนนความรู้ก่อนดูวีดิทัศน์มีความสัมพันธ์กับรายได้และระดับการศึกษาของตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) คะแนนความรู้หลังดูวีดิทัศน์มีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษาและอาชีพของตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) กลุ่มตัวอย่างประมาณ 80% หรือมากกว่ามีความเห็นว่า ระยะเวลา ความเร็วในการดำเนินเรื่อง และปริมาณเนื้อหาอยู่ในเกณฑ์พอดี ความชัดเจนของเสียงพากษ์ ภาพประกอบมีความชัดเจนและมีความเข้าใจเนื้อหาได้ดี การนำเสนอน่าสนใจ มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ และความชอบต่อสื่ออยู่ในระดับมาก ดังนั้นสื่อวีดิทัศน์เรื่อง ทันตสุขภาพของเด็กทารกที่พัฒนาขึ้นจึงเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพ ช่วยส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลี้ยงดูและดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กทารก เพื่อการป้องกันโรคฟันผุในเด็กเล็กได้ดีen
dc.description.abstractalternativeTo develop and test the infant oral health educational audio-visual aid for pregnant women. The audio-visual aid containing evidence-based information about infant oral health care and early childhood caries prevention has been developed and test in 91 pregnant women having prenatal care at U-Thong hospital, Suphanburi province during October 1, 2008 to November 30, 2008. A questionnaire was developed to test knowledge and attitude of expectant mother before and after viewing the audio-visual aid. The efficiency and effectiveness index of the audio-visual aid were determined. The differences of knowledge score were tested with Wilcoxon match-pair signed-ranks test. Kruskal-Wallis test and Mann-Whitney test were used to determine factors related to knowledge score. The efficiency of an audio-visual aid is 87/70 and effectiveness index is 0.64. The pregnant women significantly improve their infant oral health knowledge (p < 0.05). The pre-test knowledge scores are statistically significantly related to income and educational level (p < 0.05). The post-test knowledge scores are statistically significantly related to educational level and occupation (p < 0.05). Approximately or more than 80% of the participants rate proper timing, speed and contents of audiovisual aid, and highly satisfaction on narration, illustration, easy understanding, interesting presentation, and useful. This infant oral health educational audio-visual aid promises to be an effective tool for pregnant women in providing anticipatory guidance regarding infant oral health care to prevent early childhood cariesen
dc.format.extent1341064 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.751-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectฟันผุในเด็กen
dc.subjectทันตสุขศึกษาen
dc.subjectวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาen
dc.titleการพัฒนาและทดสอบวีดิทัศน์เรื่องทันตสุขภาพของเด็กทารกสำหรับหญิงตั้งครรภ์en
dc.title.alternativeDevelopment and testing of an infant oral health educational audio-visual aid for pregnant womanen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมสำหรับเด็กes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorThipawan.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.751-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonpen_ti.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.