Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19507
Title: | การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุและผลของความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนของอัครสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Development of a cause and effect model of creative thinking of secondary school students in archdiocese schools in Bangkok |
Authors: | มิ่งขวัญ ภาคสัญไชย |
Advisors: | เอมอร จังศิริพรปกรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Aimorn.J@Chula.ac.th |
Subjects: | ความคิดสร้างสรรค์ นักเรียนมัธยมศึกษา Creative thinking |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ประการแรก เพื่อศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ประการที่สอง เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของความคิดสร้างสรรค์ ประการที่สาม เพื่อศึกษาผลของความคิดสร้างสรรค์ ประการที่สี่ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลของความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนของอัครสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร จำนวน 532 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 4 ตัวแปรคือ ความคิดสร้างสรรค์ ผลของความคิดสร้างสรรค์ ปัจจัยภายในของผู้เรียน และปัจจัยภายนอกของผู้เรียน ตัวแปรแฝงทั้งหมดวัดได้จากตัวแปรสังเกตได้จำนวน 17 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ แบบวัดเชาวน์ปัญญา และแบบประเมินความสามารถทางศิลปะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน (one-way ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนาม (MANOVA) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันด้วยโปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีความคิดคล่องและความคิดริเริ่มอยู่ในระดับต่ำ มีความคิดละเอียดลอออยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความคิดยืดหยุ่นในระดับสูงที่สุด 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์คือ ปัจจัยภายในของผู้เรียนและปัจจัยภายนอกของผู้เรียน ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์สูงสุดคือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน ตามลำดับ โดยตัวแปรความคิดสร้างสรรค์ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรปัจจัยภายในของผู้เรียน สูงกว่าอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรปัจจัยภายนอกของผู้เรียน 3. ผลของความคิดสร้างสรรค์ เรียงลำดับตามค่าน้ำหนักความสำคัญ ได้แก่ ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถทางศิลปะ และความสามารถทางคณิตศาสตร์ 4. โมเดลเชิงสาเหตุและผลของความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนของอัครสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ Chi-square = 56.323 df = 55 p = 0.425 GFI = 0.988 AGFI = 0.966 และ RMR = 0.485 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรความคิดสร้างสรรค์ และผลของความคิดสร้างสรรค์ ได้ 44.5% และ 32.4% ตามลำดับ |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to study a level of creative thinking of lower secondary school students, 2) to study a cause of creative thinking, 3) to study a consequences of creative thinking, and 4) to develop and validate the cause and effect model of creative thinking of lower secondary school students. The research sample was 532 students at Mathayomsuksa 1 level in archdiocese schools in Bangkok. The research variables consisted of 4 latent variables: creative thinking, consequences of creative thinking, internal learner factor, and external learner factor. All latent variables were measured by 17 observed variables.Data were collected by questionnaires, creative thinking test, intelligent quotient test, and art-performance test. The analytical methods of this research consisted of descriptive statistics, one-way ANOVA, MANOVA, Pearson’s product moment correlation coefficient were analyzed by SPSS, and structural equation model through LISREL. The research findings were as follows: 1. The lower secondary school students had fluency and originality in low level. They had elaboration in moderate level. And flexibility was in the highest level. 2. The cause of creative thinking was internal learner factor and external learner factor. Creative thinking had been affected direct effect by internal learner factor more than external learner factor. 3. The consequences of creative thinking was performance in science, art, and mathematics. 4. The cause and effect model of creative thinking of secondary school students was valid and fit to the empirical data with Chi-square = 56.323, df = 55, p = 0.425, GFI = 0.988, AGFI = 0.966 and RMR = 0.485. The variables in this model could explain 44.5% and 32.4% of variance of creative thinking and consequences of creative thinking respectively |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19507 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.877 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.877 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Mingkhuan_Ph.pdf | 2.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.