Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1954
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสัจจา ทาโต-
dc.contributor.authorภาวดี ทองเผือก, 2517--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-19T03:47:59Z-
dc.date.available2006-08-19T03:47:59Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745316032-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1954-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง ที่เน้นการสนับสนุนจากสามีต่อการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ การเป็นมารดาในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก โดยใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองของ Bandura (1997) และแนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของ Hous (1981) กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก จำนวน 30 คน จัดกลุ่มตัวอย่าง 15 คนแรกเข้ากลุ่มควบคุม และจัดกลุ่มตัวอย่าง 15 คนหลังเข้ากลุ่มทดลอง โดยจับคู่ตามความพร้อมในการมีบุตร ประสบการณ์ในการเลี้ยงดูเด็กเล็กและอายุ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง ที่เน้นการสนับสนุนจากสามี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง ที่เน้นการสนับสนุนจากสามีประกอบด้วย แผนการสอน ภาพพลิกและคู่มือ ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาแล้วจึงนำไปใช้ในการทดลอง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่การเป็นมารดา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยายและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ การเป็นมารดาของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก ภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองที่เน้นการสนับสนุนจากสามี สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ การเป็นมารดาของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก ที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองที่เน้นการสนับสนุนจากสามี สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)en
dc.description.abstractalternativeTo examine the effects of the perceived self-efficacy promoting program emphasizing husband support on maternal role adaptation of teenage primigravidas. Self-efficacy theory (Bandura,1997) and social support theory (House,1981) were utilized to develop the intervention. The sample consisted of 30 teenage primigravidas. The first 15 subjects were assigned to a control group and the later 15 subjects were assigned to an experimental group. Participants were matched by age, readiness for having children and childrearing experience. The control group received routine nursing care and the experimental group received the perceived self-efficacy promoting program emphasizing husband support. The intervention, developed by the researcher, was the perceived self-efficacy promoting program emphasizing husband support. It included lesson plans, flip charts and a handbook. The intervention was reviewed for content validity by a panel of experts. Data were collected using the maternal role adaptation questionnaire. Itdemonstrated acceptable reliability with Cronbach's alpha of .90. Data were analyzed using descriptive and t-test statistics. Major findings were as follows 1. The mean score of maternal role adaptation of teenage primigravidas in the experimental group after receiving the perceived self-efficacy promoting program emphasizing husband support was significantly higher than before receiving the program (p < .01). 2. The mean score of maternal role adaptation of teenage primigravidas in the experimental group after receiving the perceived self-efficacy promoting program emphasizing husband support was significantly higher than that of the control group (p < .01).en
dc.format.extent2032252 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectครรภ์ในวัยรุ่นen
dc.subjectการเป็นมารดาen
dc.subjectความสามารถในตนเองen
dc.subjectการสนับสนุนทางสังคมen
dc.titleผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองที่เน้นการสนับสนุนจากสามี ต่อการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่การเป็นมารดาในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรกen
dc.title.alternativeEffect of using the perceived self-efficacy promoting program emphasizing husband support on maternal role adaptation of teenage primigravidasen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSathja.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pawadee.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.