Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19562
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิชิต คนึงสุขเกษม-
dc.contributor.authorธิติ ญานปรีชาเศรษฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2012-05-11T05:54:45Z-
dc.date.available2012-05-11T05:54:45Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19562-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกแบบใช้แรงต้านต่อองค์ประกอบของร่างกายในเพศหญิง ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน อาสาสมัครที่เข้าร่วมการทดลองครั้งนี้ อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 30-40 ปี จำนวน 40 คน ที่มีค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 23-24.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย จำแนกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน โดยกลุ่มที่หนึ่ง เป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน ดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ กลุ่มที่สอง เป็นทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองในกลุ่มเดียวกัน จำนวน 20 คน โดยในช่วงแรกได้ให้อาสาสมัครในกลุ่มทดลองดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาสาสมัครในกลุ่มทดลองได้รับการฝึกแบบใช้แรงต้านที่ระดับความหนัก 8-12 RM เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการฝึกแบบใช้แรงต้าน 10 ท่าฝึก โดยฝึกอย่างต่อเนื่องระหว่าง 8-12 ครั้ง ในแต่ละท่าฝึก ไม่มีการหยุดพักระหว่างท่าฝึก แต่เปลี่ยนไปฝึกกล้ามเนื้ออีกกลุ่มแทน จนครบ 3 รอบ พัก 30-60 วินาทีระหว่างรอบ ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับการฝึกแบบใช้แรงต้าน เป็นระยะเวลา 3 ครั้งต่อสัปดาห์ วันเว้นวัน ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองได้รับการวิเคราะห์ความต้านทานการนํากระแสไฟฟ้าของร่างกาย เพื่อตรวจหาองค์ประกอบของร่างกาย และวัดความหนาของไขมันใต้ผิวหนังก่อนการทดลองและทุก ๆ 2 สัปดาห์ระหว่างการทดลอง แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที โดยที่ตัวแปรทั้งสองเป็นอิสระต่อกัน (Independent-sample t test) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรระหว่างกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way Repeated Measures ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มและทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของตูกี (เอ) [tukey (a) method] ที่ระดับความมีนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ก่อนและหลังการทดลองตลอด 14 สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มควบคุมพบว่า ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักของร่างกาย ดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์น้ำหนักไขมัน และความหนาของไขมันใต้ผิวหนังบริเวณต้นขาเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอัตราการใช้พลังงานพื้นฐาน และเปอร์เซ็นต์น้ำหนักที่ไม่ใช่ไขมันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่ความหนาของไขมันใต้ผิวหนังบริเวณใต้ท้องแขน และบริเวณเอวของกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ก่อนและหลังการทดลองตลอด 14 สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยของอัตราการใช้พลังงานพื้นฐาน เปอร์เซ็นต์น้ำหนักที่ไม่ใช่ไขมันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนน้ำหนักของร่างกาย ดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์น้ำหนักไขมัน ความหนาของไขมันใต้ผิวหนังบริเวณใต้ท้องแขน บริเวณเอว และบริเวณต้นขา ของกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกแบบใช้แรงต้าน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ก่อนและหลังการทดลองตลอด 14 สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยของอัตราการใช้พลังงานพื้นฐาน เปอร์เซ็นต์น้ำหนักที่ไม่ใช่ไขมัน และเปอร์เซ็นต์น้ำหนักไขมัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่น้ำหนักของร่างกาย ดัชนีมวลกาย ความหนาของไขมันใต้ผิวหนังบริเวณใต้ท้องแขน บริเวณเอว และบริเวณต้นขา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the effects of resistance training on body composition in overweight women. There were 40 volunteers between aged of 30 – 40 years old with a body mass index (BMI) between 23-24.9 kg/m[superscript 2] participating in this study. The subjects were simply random sampled and divided into 2 groups with 20 subjects in each group. The first group was the control group with normal daily life activities for 14 weeks while the second group was the experimental group with normal daily life activities in the first six weeks and training with the resistance training exercise for 8 weeks. They trained by lifting the weights for 3 circuits (10 muscle training positions in each circuit) with 30-60 seconds rest interval between each circuit. Each muscle training position was trained with 1 set and with 8-12 repetitions a set and then was alternatively trained with the other muscle groups without anybreak in one circuit. They were trained 3 days a week for every other day. Every 2 weeks, all subjects in both groups were measured by Foot-to-Foot Bioelectrical Impedance Analyzer and skinfold thickness measurement to evaluate the body composition. The results were analyzed by means, standard deviation, and t-test (independent) to compare the significant differences of the body composition variables between the control group and the experimental group at the .05 level. One-way repeated measurement was also performed to study the significant differences of the body composition variables within both groups at the .05 level. If any significance were found, the tukey (a) method would be performed to determine the coupling difference. The results were found out as follows; 1. After 14 weeks, there were increasing of body weight, BMI, %FM and thigh skinfold, but RMR and %FFM were decreased at the significant level of .05 while there were no any significant differences of triceps skinfold and subprailiac skinfold within the control group. 2. After 14 weeks, there were increasing of RMR and %FFM, but body weight, BMI, %FM, triceps skinfold, subprailiac skinfold and thigh skinfold were decreased at the significant level of .05 within the experimental group. 3. After 14 weeks, there were significant differences of RMR, %FFM and %FM between the control group and experimental group at the significant level of .05 while there were no any significant differences of body weight, BMI, triceps skinfold, subprailiac skinfold and thigh skinfold between the control group and experimental group at the significant level of .05en
dc.format.extent4087688 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.537-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการฝึกยกน้ำหนักen
dc.subjectการออกกำลังกายen
dc.titleผลของการฝึกแบบใช้แรงต้านต่อองค์ประกอบของร่างกายในเพศหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินen
dc.title.alternativeEffects of resistance training on body composition in overweight womenen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorVijit.k@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.537-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thiti_ya.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.