Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19577
Title: | การเขียนประวัติศาสตร์แห่งชาติอินโดนีเซีย ฉบับพิมพ์ ค.ศ. 1975 |
Other Titles: | The writing of Indonesia’s national history (1975 Edition) |
Authors: | นพปฏล กิจไพบูลทวี |
Advisors: | ดินาร์ บุญธรรม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Dinar.B@Chula.ac.th |
Subjects: | ประวัติศาสตร์นิพนธ์ -- อินโดนีเซีย -- ค.ศ.1957-1975 อินโดนีเซีย -- ประวัติศาสตร์ Historiography -- Indonesia -- 1957-1975 Indonesia -- History |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาการเขียนหนังสือประวัติศาสตร์แห่งชาติอินโดนีเซียระหว่าง ค.ศ. 1957-1975 รัฐบาลอินโดนีเซียยุคหลังได้รับเอกราชสนับสนุนให้มีการศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติแบบเน้นอินโดนีเซียเป็นศูนย์กลาง และผลิตหนังสือประวัติศาสตร์สำหรับใช้ในสถานศึกษาของรัฐ แทนหนังสือประวัติศาสตร์แบบเน้นยุโรปเป็นศูนย์กลางที่ผลิตในสมัยอาณานิคม ซึ่งมีเนื้อหาที่ไม่สามารถอธิบายที่มาและพัฒนาการของสังคมอินโดนีเซียในยุคเอกราชได้ รัฐบาลอินโดนีเซียจึงมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรมและมหาวิทยาลัยกัดจาห์มาดาจัดตั้งโครงการเรียบเรียงหนังสือประวัติศาสตร์แห่งชาติขึ้น คณะกรรมการโครงการนี้ได้จัดการสัมมนาประวัติศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1957 ผลของงานสัมมนาครั้งนั้นทำให้เกิดกระแสเรียกร้องให้มีการเขียนหนังสือประวัติศาสตร์แนวชาตินิยมอินโดนีเซีย แนวทางการเขียนประวัติศาสตร์อินโดนีเซียเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในการสัมมนาประวัติศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 2 เมื่อปี ค.ศ. 1970 ในการสัมมนาในครั้งนี้ รัฐบาลยุคระเบียบใหม่สนับสนุนให้มีการเขียนประวัติศาสตร์ที่เชิดชูบทบาทของกองทัพแห่งชาติ เพราะในขณะนั้นกองทัพอินโดนีเซียมีบทบาทในการบริหารประเทศ อันเป็นผลมาจากการที่กองทัพสามารถยุติเหตุการณ์รัฐประหาร 30 กันยายน ค.ศ.1965 ได้ ปัจจัยนี้ส่งผลให้การเขียนหนังสือประวัติศาสตร์แห่งชาติอินโดนีเซีย ฉบับตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1975 เน้นแนวคิดทั้งชาตินิยมและทหารนิยม |
Other Abstract: | The aim of this thesis is to examine the process of writing Indonesia’s national history between 1957 and 1975. After independence, the government of the Republic of Indonesia urged Indonesian historians to write an Indonesian-centric history and to produce history text books for state educational institutions to replace Euro-centric history books produced during the colonial era, which fail to explain the origins and development of Indonesian society in the independent era. The government of the Republic of Indonesia assigned the Ministry of Education and Culture, together with Gadjah Mada University, to formulate a committee for writing the national history. The Committee was responsible for the arrangement of two national history seminars in 1957 and 1970, in order to search for appropriate approaches in writing the Republic’s national history. The result of the first seminar saw an agreement in writing the history in nationalist narrative. However, the second seminar was supported by the New Order Government under President Suharto. The success of the National Army in subduing the Gestapu incident of 30 September 1965 was a crucial starting point of the Army’s role in the Republic’s administration. Under the New Order, nationalism and militarism guided the narrative of national history writing. The New Order version of Indonesia’s national history was published in 1975. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประวัติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19577 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1809 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1809 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
naphapadon_ki.pdf | 6.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.