Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19581
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกอบบุญ หล่อทองคำ-
dc.contributor.advisorปัญญวัชร์ วังยาว-
dc.contributor.authorณัฐพล ธรรมโสภณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-13T05:47:15Z-
dc.date.available2012-05-13T05:47:15Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19581-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractในการใช้งานแนวเชื่อมทิกระหว่างเหล็กกล้า P22 (2.25%โครเมียม) และเหล็กกล้า P91 (9%โครเมียม) ที่เชื่อมต่อกันด้วยลวดเชื่อมอินโคเนล 625 หรืออินโคเนล 617 ที่อุณหภูมิสูง พบว่าเกิดการแตกร้าวที่บริเวณกระทบร้อนของเหล็กกล้า P91 เพื่อความเข้าใจปัญหาการแตกร้าวนี้ จึงศึกษาผลของกรรมวิธีทางความร้อนหลังการเชื่อมที่อุณหภูมิ 750°C เป็นเวลา 2, 4 และ 6 ชั่วโมง และศึกษาผลของกรรมวิธีทางความร้อนที่อุณหภูมิ 550, 633, 717 และ 800°C เป็นเวลา 500, 1000, 2000 และ 2500 ชั่วโมง หลังจากกรรมวิธีทางความร้อนหลังการเชื่อม ต่อโครงสร้างจุลภาคและความแข็ง หลังผ่านกรรมวิธีทางความร้อนหลังการเชื่อมที่อุณหภูมิ 750°C เวลา 2 ชั่วโมง ความแข็งที่บริเวณกระทบร้อนของเหล็กกล้า P91 สูงกว่าค่าความแข็งหลังผ่านกรรมวิธีทางความร้อนหลังการเชื่อมเวลา 4 และ 6 ชั่วโมง แต่ค่าไม่เกิน 350 HV ซึ่งเป็นค่ากำหนดทั่วไปในงานเชื่อมเหล็กกล้า หลังจากนั้นการทำกรรมวิธีทางความร้อนที่อุณหภูมิ 633°C เวลา 1000 ชั่วโมง บริเวณกระทบร้อนของเหล็กกล้า P91 มีค่าความแข็งกว่าการทำกรรมวิธีทางความร้อนที่อุณหภูมิและเวลาอื่น ความแข็งหลังผ่านกรรมวิธีทางความร้อนที่อุณหภูมิ 633°C เวลา 2000 ชั่วโมง ลดลง การผ่านกรรมวิธีทางความร้อนทำให้โครงสร้างจุลภาคเปลี่ยนจากมาร์เทนไซต์เป็นเทมเปอร์มาร์เทนไซต์และตะกอนคาร์ไบด์เนื้อเชื่อมอินโคเนล 625 และ อินโคเนล 617 หลังผ่านกรรมวิธีทางความร้อนหลังการเชื่อมที่อุณหภูมิ 750°C เป็นเวลา 4 และ 6 ชั่วโมง และผ่านกรรมวิธีทางความร้อนที่อุณหภูมิ 633°C เป็นเวลา 1000 ชั่วโมง มีค่าความแข็งสูงที่สุด ผลการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคของเนื้อเชื่อมอินโคเนล 625 และ 617 ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกวาด พบตะกอนภายในเนื้อเชื่อมและคาร์ไบด์ตามขอบเกรน ส่งผลทำให้ความแข็งมีค่าสูง จากการผ่านกรรมวิธีทางความร้อนหลังทุกกรณี พบว่า บริเวณโลหะพื้นของเหล็กกล้า P22 และ P91 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจุลภาคและความแข็ง และบริเวณกระทบร้อนของเหล็กกล้า P22 ไม่พบปัญหาค่าความแข็งสูงกว่าที่กำหนดen
dc.description.abstractalternativeIn the practical use at high temperature of TIG weldments between P22 (2.25Cr steel) and P91 (9Cr steel) using Inconel 625 or Inconel 617 as filer metals, cracking at the heat affected zone (HAZ) of P91 steel was reported. In order to understand this cracking problem, the effect of postweld heat treatment (PWHT) at 750°C for 2, 4, and 6 hrs, as well as the effect of long-term heat treatment (LTHT) at 550, 633, 717 and 800°C for 500, 1000, 2000 and 2500 hrs on microstructure and hardness of weldments were studied.The hardness at HAZ of P91 steel after PWHT at 750°C for 2 hrs was higher than those after PWHT at 750°C for 4 and 6 hrs, but it was not in excess of 350 HV, which is the general limit value for welding of steel. The hardness at HAZ of P91 after PWHT and LTHT at 633°C for 1,000 hours was higher than those at the other conditions. The hardness was reduced after PWHT and LTHT at 633°C for 2,000 hours. The martensite microstructure was changed to be tempered martensite and carbide. The Inconel-625 or Inconel-617 weld metals, after PWHT at 750°C for 4, 6 hours and LTHT at 633°C for 1000 hours, had the highest hardness. The microstructures of those weld metals observed by SEM showed some precipitates in the grain and carbide at the grain boundary. This was responsible for the high hardness.In any case of the PWHT and LTHT conditions, the microstructure and hardness at the base metals of P22 and P91 steels were not changed. The hardness at HAZ of P22 steel was not so high.en
dc.format.extent8382752 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.566-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเหล็กกล้า -- การเชื่อม-
dc.subjectเหล็กกล้า -- การเชื่อม -- โครงสร้างจุลภาค-
dc.subjectเหล็กกล้า -- การเชื่อม -- สมบัติทางกล-
dc.subjectอินโคเนล-
dc.subjectSteel -- Welding-
dc.subjectSteel -- Welding -- Microstructure-
dc.subjectSteel -- Welding -- Mechanical properties-
dc.subjectInconel-
dc.titleผลของกรรมวิธีทางความร้อนหลังเชื่อมและชนิดของลวดเชื่อมต่อความแข็งและโครงสร้างจุลภาคของแนวเชื่อมระหว่างเหล็กกล้าที่มีโครเมียม 2.25%และ 9% โดยน้ำหนักen
dc.title.alternativeEffects of postweld heat treatment and filler metal type on hardness and microstructures between 2.25 wt.%Cr and 9 wt.%Cr steel weldmenten
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโลหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorGobboon.L@Chula.ac.th-
dc.email.advisorPanyawat.W@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.566-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nattaphon_ta.pdf8.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.