Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19585
Title: การประเมินสมรรถนะของการประสานรอยร้าวด้วยวัสดุซ่อมประสานซีเมนต์
Other Titles: Evaluation of crack sealing performance of cementitious repair materials
Authors: โอฬาร เหลืองเพชราภรณ์
Advisors: บุญไชย สถิตมั่นในธรรม
รักติพงษ์ สหมิตรมงคล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Boonchai.S@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การก่อสร้างคอนกรีต -- การซ่อมแซม
คอนกรีต -- รอยร้าว
Concrete construction -- Repairing
Concrete -- Cracking
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันการซ่อมแซมรอยร้าวเป็นส่วนสำคัญในงานบำรุงรักษาโครงสร้างคอนกรีต วัสดุซ่อมจำนวนมากที่วางจำหน่ายในท้องตลาดได้แสดงให้เป็นถึงความสำคัญของการซ่อมแซมรอยร้าว ท่ามกลางวัสดุซ่อมนานาชนิด วัสดุซ่อมที่มีซีเมนต์เป็นส่วนประกอบหรือวัสดุซ่อมประสานซีเมนต์ (CRMs) เป็นวัสดุซ่อมที่มีความเข้ากันได้กับคอนกรีตเป็นอย่างดีและมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย งานวิจัยนี้ได้นำปูนทรายซ่อมประสานซีเมนต์สามชนิดที่ใช้งานด้วยการเคลือบผิว มาศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการซ่อมแซมรอยร้าวโดยใช้การทดสอบกำลังยึดเกาะ การทดสอบการรั่วซึมของน้ำผ่านรอยร้าว การทดสอบระยะคาร์บอเนชั่นในสภาวะเร่ง และการทดสอบการแทรกซึมของคลอไรด์เป็นเกณฑ์ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า กำลังยึดเกาะระหว่างวัสดุซ่อมประสานซีเมนต์กับคอนกรีตเดิม มีความสัมพันธ์กับกำลังอัดของวัสดุซ่อมประสานซีเมนต์ นอกจากนี้การซ่อมแซมรอยร้าวด้วยวัสดุซ่อมประสานซีเมนต์ สามารถป้องกันการรั่วซึมของน้ำผ่านรอยร้าวคอนกรีตได้ ในส่วนของความต้านทานคาร์บอเนชั่นและความต้านทานคลอไรด์ พบว่า คอนกรีตที่มีรอยร้าวมีความต้านทานลดลงเมื่อเทียบกับคอนกรีตที่ไม่มีรอยร้าว โดยความต้านทานคาร์บอเนชั่น ณ ตำแหน่งรอยร้าวมีความสัมพันธ์กับความกว้างรอยร้าวที่ผิวคอนกรีต อย่างไรก็ตาม การซ่อมแซมด้วยวัสดุซ่อมประสานซีเมนต์สามารถลดการเกิดคาร์บอเนชั่นและการแทรกซึมของคลอไรด์ลงได้ ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมร่วมระหว่างวัสดุซ่อมประสานซีเมนต์และคอนกรีตที่มีรอยร้าว และวัสดุซ่อมประสานซีเมนต์ต่างชนิดกันมีประสิทธิภาพในการซ่อมแซมรอยร้าวที่แตกต่างกัน
Other Abstract: Nowadays crack repairing has become an important activity in the maintenance of concrete structure. The significance of crack repairing is clearly indicated by a large number of repair materials in markets. Among various types of repair materials, cementitious repair materials (CRMs) are the one with compatibility to the concrete substrate and have been used widely. This study was conducted to evaluate the crack repairing performance of three cementitious repair mortars by surface coating method. The performance of crack repairing was evaluated through adhesive strength test, water leakage test, accelerated carbonation test, and chloride penetration test. Test results show that adhesive strength between CRMs and concrete substrate relates to compressive strength of CRMs. Crack repairing with CRMs also prevent water leakage through concrete crack. Carbonation resistance and chloride resistance of cracked concrete drastically decrease compared to non-crack concrete. The width of crack at concrete surface has a relationship with carbonation depth at position of crack in most cases. However crack repairing with CRMs can provide carbonation resistance and chloride penetration resistance because of combined behavior from both CRM and cracked section. And test data shows that each CRM has different performance on crack repairing.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19585
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.161
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.161
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
oran_lu.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.