Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1960
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การสนับสนุนจากสามีและกิจกรรมทางกายของสตรีหลังคลอด
Other Titles: Relationships among personal factors, spouse support, and physical activity of postpartum women
Authors: นวลจันทร์ บุญรัตน์, 2513-
Advisors: สุกัญญา ประจุศิลป
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: ระยะหลังคลอด
ภาพลักษณ์ร่างกาย
การส่งเสริมสุขภาพ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อาชีพของสตรีหลังคลอด ภาวะน้ำหนักเกินตามการรับรู้ของสตรีหลังคลอด และภาพลักษณ์ที่มีต่อตนเอง การสนับสนุนจากสามีกับกิจกรรมทางกายของสตรีหลังคลอด โดยใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของ Pender (2002) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีในระยะ 6 สัปดาห์ หลังคลอดที่มารับบริการตรวจสุขภาพที่ห้องตรวจหลังคลอด หน่วยงานสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 120 ราย เลือกโดยวิธีการกลุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามภาวะน้ำหนักเกินตามการรับรู้ของสตรีหลังคลอด แบบสอบถามภาพลักษณ์ที่มีต่อตนเอง แบบสอบถามการสนับสนุนจากสามี และแบบสอบถามกิจกรรมทางกายของสตรีหลังคลอด ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค มีค่าความเที่ยง .85, .78, .94 และ .78 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไค-สแควร์และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมทางกายของสตรีหลังคลอดอยู่ในระดับปานกลาง ([Mean] = 2.24) 2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อาชีพของสตรีหลังคลอด ภาวะน้ำหนักเกินตามการรับรู้ของสตรีหลังคลอด และภาพลักษณ์ที่มีต่อตนเอง ไม่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การสนับสนุนจากสามีมีความสัมพันธ์ทางบวกกับกิจกรรมทางกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to examine the relationships among personal factors (occupation, perceived of over-weight, and self-image), spouse support, and physical activity of postpartum women. The theoretical framework for the study was based on Pender's Health Promotion Model. The sample consisted of 120 postpartum women within 6 weeks after delivery who attended the postpartum clinic, department of obstetrics and gynecology in goverment public hospitals, Bangkok. Participants were selected by simple random sampling. Data were collected with the following questionnaires: Perceived of Over-Weight by Postpartum Women, Self-Image Questionnaire, Spouse Support Questionnaire and Physical Activity Questionnaire. The reliability of all instruments tested by Cronbach's alpha coefficients were .85, .78, .94 and .78, respectively. The statistics used in this study were percentage, mean, standard deviation, Chi-Square and Pearson's Product Moment Correlation. The major results of this study were as follows: 1. Mean scores of physical activity of postpartum women was at a moderate level ([Mean] = 2.24). 2. Personal factors (Occupation of postpartum women, perceived of over-weight, and self-image) were not significantly related to physical activity of postpartum women at .05 level. 3. There was a significant positive relationship (p < .05) between spouse support and physical activity of postpartum women (r = .540).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1960
ISBN: 9745310026
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuanjan.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.