Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19607
Title: | การวิเคราะห์อภิมานของปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการตอบกลับแบบสอบถาม ที่ส่งทางไปรษณีย์ |
Other Titles: | A meta-analysis of factors affecting response rates to mailed questionnaires |
Authors: | ปรีดา เบ็ญคาร |
Advisors: | นงลักษณ์ วิรัชชัย สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Nonglak.W@chula.ac.th Somwung.P@chula.ac.th |
Subjects: | แบบสอบถาม -- อัตราการตอบกลับ การวิเคราะห์อภิมาน |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับอัตราการตอบกลับแบบสอบถามที่ส่งทางไปรษณีย์ ที่ทำขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2522-2538 เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับตัวแปร ที่มีผลต่อการเพิ่มอัตราการตอบกลับแบบสอบถาม และเพื่อเปรียบเทียบข้อสรุปจากผลการสังเคราะห์ครั้งนี้ กับผลการสังเคราะห์ของต่างประเทศ ข้อมูลสำหรับการสังเคราะห์คือ งานวิจัย 24 เรื่อง มีค่าขนาดอิทธิพล 58 ค่า มีจำนวนอัตราการตอบกลับ 505 ค่า ที่ได้จากปัจจัย 5 ด้าน คือด้านตัวแบบสอบถาม ด้านการส่งและการจัดเก็บ ด้านการติดต่อกับผู้ตอบ ด้านการให้สิ่งจูงใจและภูมิหลังของผู้ตอบ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบประเมินงานวิจัยและแบบสำรวจงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา การแจกแจงความถี่ การคำนวณค่าขนาดอิทธิพล 3 แบบ คือความแตกต่างของอัตราการตอบกลับของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ฟิ และค่าประมาณไม่คลาดเคลื่อนความแปรปรวนต่ำสุด การทดสอบด้วยสถิติซี และไค-สแควร์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการตอบกลับแบบสอบถามเป็นตัวแปรต้น ค่าขนาดอิทธิพลเป็นตัวแปรตาม ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทั้ง 5 ด้านมีผลต่ออัตราการตอบกลับแบบสอบถามทางไปรษณีย์ที่แตกต่างกัน ตัวแปรที่มีผลให้ขนาดอิทธิพลวัดในรูปการเพิ่มอัตราการตอบกลับ เรียงตามลำดับจากค่ามากที่สุด คือการติดตาม (26.9%) การติตตามครั้งที่ 2 (20.1%) การเตือนโดยใช้โทรศัพท์ (19.7%) การเตือนโดยใช้ไปรษณียบัตร (18.8%) การให้สิ่งจูงใจ (17.5%) การเตือนด้วยวิธีการต่าง ๆ (17.3%) การแจ้งให้ทราบล่วงหน้าโดยใช้จดหมาย (16.4%) การเตือนโดยใช้จดหมาย (16.4%) การเตือนครั้งที่ 1 (16.0%) การเจาะจงตัวผู้ตอบ (15.0%) การเตือนครั้งที่ 2 (13.0%) การแจ้งให้ทราบล่วงหน้า (12.9%) ผู้ลงนามในจดหมายนำเกี่ยวข้องกับผู้ตอบ (12.8%) การติดตามครั้งที่ 1 (12.6%) การให้หนังสือเป็นสิ่งจูงใจ (9.9%) การจัดหน้า (9.8%) และการกาเครื่องหมายเปรียบเทียบกับการเขียนรหัสคำตอบ (8.8%) ในจำนวน 17 ตัวแปรนี้ มี 5 ตัวแปรที่มีผลสอดคล้องกับผลการวิจัยของต่างประเทศ และได้รับการเสนอแนะให้ใช้เพื่อเพิ่มอัตราการตอบกลับแบบสอบถามที่ส่งทางไปรษณีย์ต่อไป |
Other Abstract: | Synthesizes research reports pertaining to mailed questionnaires response rates, conducted in Thailand from 1979 to 1995 in order to obtain clear and concise findings about factors affecting increment of mailed questionnaires response rates, and to compare the results of this research with those conducted abroad. The data for this synthesis consisted of 24 research reports, 58 effect sizes, and 505 response rates associated with 5 factors namely : questionnaires characteristics, communication with respondents, questionnaire delivery and gathering, incentives and respondent's background. The research instruments were thesis evaluation and coding forms. Data analyses were descriptive statistics, frequency distribution, 3 methods of effect size estimations : difference of response rates between experimental group and control group, phi-correlation coefficient, and unbiased minimum variance estimate of effect size, z-test and chi-square test, multiple regression analysis using factors affecting response rates as independent variables and effect sizes as dependent variable. The major findings were as follows : all five factors had significant effects on mailed questionnaires response rates. The variables that had strongest effects ranging from the highest effect size measuring in terms of response rate increment were follow up contact (26.9%), the second follow up contact (20.1%), reminded telephone (19.7%), reminded postcard (18.8%), incentive (17.5%), any reminder (17.3%), pre-notification by letter (16.4%), reminded letter (16.4%), the first reminder (16.0%), respondent identification (15.0%), the second reminder (13.0%), pre-notification (12.9%), cover letter signed by a person related to respondent (12.8%), the first follow up contact (12.6%), book incentive (9.9%), page lay out (9.8%), checking versus coding (8.8%). There were 5 among these 17 variables that had effects in consistent with the effects of foreign research, and they were recommended for future usage to increase response rate of mailed questionnaires. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19607 |
ISBN: | 9746349171 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Preeda_Ba_front.pdf | 790.89 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeda_Ba_ch1.pdf | 862.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeda_Ba_ch2.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeda_Ba_ch3.pdf | 787.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeda_Ba_ch4.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeda_Ba_ch5.pdf | 951.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeda_Ba_back.pdf | 880.25 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.