Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19620
Title: การเปรียบเทียบคุณสมบัติของตัวประมาณค่าพารามิเตอร์ ที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบหลายขั้นตอน ระหว่างวิธีสุ่มแบบง่ายกับแบบมีระบบ
Other Titles: A comparison of the properties of parameter estimators obtained from multi-stage random samples between simple and systematic random sampling techniques
Authors: สุกัญญรัตน์ คงงาม
Advisors: ดิเรก ศรีสุโข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Derek.s@chula.ac.th
Subjects: การประมาณค่าพารามิเตอร์
การสุ่มตัวอย่าง (สถิติ)
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติตัวประมาณค่าพารามิเตอร์ ในด้านความไม่เอนเอียง ความคงเส้นคงวา และความมีประสิทธิภาพของค่าประมาณมัชฌิมเลขคณิตและค่าประมาณความแปรปรวนของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จากวิธีการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน ที่แตกต่างกัน 3 วิธีการสุ่ม คือ วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น 2 ระยะ และวิธีสุ่มแบบตามกลุ่ม โดยที่แต่ละวิธีมีวิธีสุ่มตัวอย่างย่อยที่แตกต่างกัน 2 วิธี คือ วิธีสุ่มแบบง่าย และวิธีสุ่มแบบมีระบบ รวมวิธีสุ่มทั้งหมด 6 วิธี ด้วยขนาดตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่น แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 90% (785 คน), 95% (1,070 คน) และ 99% (1,664 คน) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2536 จำนวน 7,298 คน ดำเนินการสุ่มตัวอย่างในแต่ละวิธีและแต่ละขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้คอมพิวเตอร์กระทำการสุ่มซ้ำ 1,000 ครั้ง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ทุกวิธีการสุ่มตัวอย่าง ให้ค่าประมาณที่มีคุณสมบัติด้านความไม่เอนเอียง ยกเว้น วิธีสุ่มแบบตามกลุ่มทั้งที่สุ่มตัวอย่างย่อยแบบง่ายและแบบมีระบบ ที่ขนาดตัวอย่าง 785 คน ให้ค่าประมาณที่เอนเอียง 2. ทุกวิธีการสุ่มตัวอย่าง ให้ค่าประมาณที่มีคุณสมบัติด้านความคงเส้นคงวา 3. วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นและสุ่มตัวอย่างย่อยแบบมีระบบ ให้ค่าประมาณที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นและสุ่มตัวอย่างย่อยแบบง่าย วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น 2 ระยะ และสุ่มตัวอย่างย่อยแบบมีระบบ วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น 2 ระยะและสุ่มตัวอย่างย่อยแบบง่าย วิธีสุ่มแบบตามกลุ่มและสุ่มตัวอย่างย่อยแบบง่าย และวิธีสุ่มแบบตามกลุ่มและสุ่มตัวอย่างย่อยแบบมีระบบ ให้ค่าประมาณที่มีประสิทธิภาพต่ำที่สุด 4. วิธีสุ่มตัวอย่างย่อยแบบมีระบบ ให้ค่าประมาณที่มีคุณสมบัติในการประมาณค่าพารามิเตอร์ทั้งสามด้าน สูงกว่า ค่าประมาณจากวิธีสุ่มตัวอย่างย่อยแบบง่าย เมื่อใช้วิธีสุ่มตัวอย่างในหน่วยใหญ่แบบแบ่งชั้น และแบบแบ่งชั้น 2 ระยะ แต่เมื่อสุ่มด้วยวิธีการสุ่มแบบตามกลุ่ม พบว่า วิธีสุ่มตัวอย่างย่อยแบบง่ายจะให้ค่าประมาณที่มีคุณสมบัติในการประมาณค่าพารามิเตอร์สูงกว่า ค่าประมาณจากวิธีสุ่มตัวอย่างย่อยแบบมีระบบ
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the parameter estimators in terms of empirical unbiasedness, consistency, and efficiency of the means and variances of mathematics achievement scores obtained from multi-stage random sampling employing different techniques: stratified sampling, two-stage stratified sampling, and cluster sampling, each of which were also compared between simple and systematic sampling techniques. The sampling techniques were investigated under three different sample sizes which were computed from three percentages of confidence levels: 90% (785), 95% (1,070) and 99% (1,664) Monte Carlo simulation was employed for this study. The simulations were made on the real data, the score of 7,298 Pratom Suksa six students in the academic year 2536; with 1,000 repetitions for each case. The major findings were as follows: 1. The means obtained from different techniques were unbiased except for the small sample size (785) using the cluster sampling technique. 2. The consistency of the means were found on every sampling technique. 3. The highest relative efficiency of the means was the stratified technique followed by the systematic random sampling technique. The stratified technique followed by the simple random sampling technique was the second. The lowest relative efficiency of the means obtained from the cluster sampling technique. 4. When the stratified technique was employed at the first stage. The estimators obtained from the systematic random sampling technique at the last stage have shown higher properties (unbiasedness, consistency, and relative efficiency), than the technique using simple random sampling at the last stage. When the cluster technique was employed at the first stage, it was found that the properties of estimators obtained from the simple random sampling technique at the last stage were higher than those obtained from systematic random sampling technique.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19620
ISBN: 9746365797
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukanyarat_Kh_front.pdf787.35 kBAdobe PDFView/Open
Sukanyarat_Kh_ch1.pdf815.08 kBAdobe PDFView/Open
Sukanyarat_Kh_ch2.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Sukanyarat_Kh_ch3.pdf893.64 kBAdobe PDFView/Open
Sukanyarat_Kh_ch4.pdf896.04 kBAdobe PDFView/Open
Sukanyarat_Kh_ch5.pdf744.65 kBAdobe PDFView/Open
Sukanyarat_Kh_back.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.