Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19644
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเขมรัฐ โอสถาพันธุ์-
dc.contributor.advisorเจริญขวัญ ไกรยา-
dc.contributor.authorพิชิต ลีกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-17T14:00:29Z-
dc.date.available2012-05-17T14:00:29Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19644-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractน้ำเสียจากกระบวนการผลิตเส้นใยเรยอนเป็นน้ำเสียที่มีการปนเปื้อนสังกะสีในปริมาณสูง ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองปรับปรุงวิธีการกำจัดสังกะสีออกจากน้ำเสียสังเคราะห์และน้ำเสียจริงจากโรงงานผลิตเส้นใยเรยอน ด้วยวิธีการตกตะกอนด้วยไฟฟ้าเคมีแบบควบคุมกระแสอย่างต่อเนื่อง น้ำเสียจากกระบวนการผลิตเส้นใยเรยอนมีปริมาณสังกะสีปนเปื้อน 155 มิลลิกรัมต่อลิตร พีเอช 1.7 และค่าความนำไฟฟ้า 33.2 มิลลิซีเมนต์ต่อเซนติเมตร การทดลองเริ่มต้นจากการศึกษารูปแบบถังปฏิกิริยาที่เหมาะสมกับงานทางด้านไฟฟ้าเคมี ผ่านปฏิกิริยารีดักชั่นของ KMnO4 และการทดสอบหาวัสดุที่ดีที่สุดที่สามารถใช้เป็นสะพานเกลือได้ทั้งถังปฏิกิริยาแบบมีรอยต่อและไม่มีรอยต่อ ซึ่งจากผลการทดลองพบว่าถังปฏิกิริยาที่มีแผ่นแก้วพรุนทำหน้าที่เป็นเหมือนสะพานเกลือให้ผลการทดลองที่ดีที่สุดและได้นำไปใช้สำหรับการทดลองการกำจัดสังกะสีในขั้นต่อไป เหล็ก อะลูมิเนียม แกรไฟต์ และเหล็กกล้าไร้สนิม ถูกนำมาทดสอบเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำมาใช้ทำขั้วไฟฟ้าแคโทดสำหรับการกำจัดสังกะสีออกจากน้ำเสียสังเคราะห์ โดยตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงของค่าพีเอช และความเข้มข้นของสังกะสีตลอดระยะเวลาการทดลอง จากผลการทดลองพบว่าขั้วไฟฟ้าที่เหมาะสมในการกำจัดสังกะสีด้วยวิธีทางเคมีไฟฟ้าแบบควบคุมความหนาแน่นกระแส คือ เหล็กกล้าไร้สนิม ซึ่งสามารถกำจัดสังกะสีได้ถึง 98% ภายในเวลา 30 นาที ณ ค่าความหนาแน่นกระแส 37.5 แอมแปร์ต่อตารางเมตร รูปแบบใหม่ของการควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้าตามเวลาได้ถูกนำมาใช้ในงานวิจัยชิ้นนี้ โดยวิธีการควบคุมกระแสไฟฟ้าแบบใหม่นี้สามารถลดระยะเวลาในการกำจัดสังกะสีในน้ำเสียจริงลงได้มาก พร้อมๆกับการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงกระแสของการกำจัด จากผลการทดลองพบว่าสามารถกำจัดสังกะสีออกจากน้ำเสียจริงได้ถึง 98% ภายในเวลา 50 นาที โดยคิดเป็น 100% ประสิทธิภาพเชิงกระแสen
dc.description.abstractalternativeWastewater from rayon fiber manufacturing process contained high concentration of zinc has been treated using continuous current-controlling electrochemical method. Wastewater containing 155 ppm Zn2+ at pH 1.7 with 33.2 mS/cm conductance was used throughout these studies. An investigation begun with a reactor design. Reduction of KMnO4 were employed to indicate whether the reactor with or without salt bridge would provide a better result. Many materials made for salt bridge were also tested. Then, a reactor with sintered glass, as a salt bridge, was chosen for Zn removal process. Aluminum, iron, graphite and stainless steel were examined as a possibly cathode material to use for the Zn removal process. The pH and zinc concentration were monitored. From the results, a suitable electrode for the Zn removal using the controlled current current density method was stainless steel which could eliminate 98% of Zn within 30 min when 37.5 A/ m² current density was applied. A new aspect of adjusting controlled-current vs. time during the electrolysis course was proposed. It shows a benefit in less-time consuming in Zn removal process at great improvement in the current efficiency. The results revealed that 98% of Zn removal was achieved within 50 min electrolysis with 100% current efficiency at the highest.en
dc.format.extent1693840 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.334-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด-
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก-
dc.titleการเพิ่มประสิทธิภาพกำจัดสังกะสีจากน้ำเสียอุตสาหกรรมโดยกระบวนการตกตะกอนด้วยไฟฟ้าเคมีด้วยวิธีควบคุมกระแสอย่างต่อเนื่องen
dc.title.alternativeEnhancement of zinc removal efficiency from industrial wastewater using electrochemical precipitation processes with continuous controlled currenten
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKhemarath.O@chula.ac.th-
dc.email.advisorkraiya@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.334-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pichit_le.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.