Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19659
Title: ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการอุปนัย ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาทีที่ 3
Other Titles: Effects of organizing mathematics learning activities using the inductive model on mathematical concept and reasoning ability of ninth grade students
Authors: กุลนิดา วรสารนันท์
Advisors: อัมพร ม้าคนอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Aumporn.M@chula.ac.th
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
กิจกรรมการเรียนการสอน
ความคิดรวบยอด
การอ้างเหตุผลในเด็ก
นักเรียนมัธยมศึกษา
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. ศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการอุปนัย 2. เปรียบเทียบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการอุปนัยกับกลุ่มปกติ 3. ศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการอุปนัย 4. เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โมเดลการอุปนัยกับกลุ่มปกติ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 63 คน เป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 31 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุม จำนวน 32 คน โดยนักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการอุปนัย และนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดความรู้มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ก่อนเรียน แบบทดสอบวัดความรู้ในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ก่อนเรียน แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ หลังเรียน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ หลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการอุปนัยและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการอุปนัย มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำกำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ คือ สูงกว่า 50% ของคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ หลังเรียน 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการอุปนัย มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการอุปนัยมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำกำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ คือ สูงกว่า 50% ของคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ หลังเรียน 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการอุปนัย มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study mathematical concepts of ninth grade students being taught by organizing mathematics learning activity using the inductive model, 2) to compare mathematical concepts of ninth grade students between groups being taught by organizing mathematics learning activity using the inductive model and conventional approach, 3) to study mathematics reasoning ability of ninth grade students being taught by organizing mathematics learning activity using the inductive model, 4) to compare mathematics reasoning abilities of ninth grade students between being taught by organizing mathematics learning activity using the inductive model and conventional approach. The populations of this research were ninth grade students in Chulalongkorn University Demonstration School. The subjects were 63 ninth grade students in the academic year 2009 of Chulalongkorn University Demonstration School. They were divided into two groups, one experimental group with 31 students and one controlled group with 32 students. The students in experimental group were developed mathematical concepts and mathematics reasoning ability by using the inductive model and those in control group were developed both by using the conventional approach. The research instruments were tests of mathematical concepts, reasoning ability and lesson plans for developing mathematical concept and mathematics reasoning ability by using inductive model and the conventional approach. The data were analyzed by means of arithmetic mean, standard deviation, and t-test. The results of the study revealed that 1. Mathematical concepts of ninth grade students being taught by organizing mathematics learning activity using the inductive model were higher than minimum criteria of 50 percent. 2. Mathematical concepts of ninth grade students being taught by organizing mathematics learning activity using the inductive model were higher than those of students being taught by using conventional approach at .05 level of significance. 3. Mathematics reasoning ability of ninth grade students being taught by organizing mathematics learning activity using the inductive model were higher than minimum criteria of 50 percent. 4. Mathematics reasoning ability of ninth grade students being taught by organizing mathematics learning activity using the inductive model were higher than those of students being taught by using conventional approach at .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาคณิตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19659
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1404
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1404
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kulnida_Wo.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.