Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1966
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารีย์วรรณ อ่วมตานี-
dc.contributor.authorเนาวรัตน์ สาทลาลัย, 2502--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-19T05:04:15Z-
dc.date.available2006-08-19T05:04:15Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745315869-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1966-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในงานของบุคลากรการพยาบาล หน่วยงานห้องคลอด ก่อนและหลังการพัฒนาการทำงานเป็นทีม และเปรียบเทียบความพึงพอใจในงานของบุคลากรการพยาบาล หน่วยงานห้องคลอดในกลุ่มที่ได้รับการพัฒนาการทำงานเป็นทีมและกลุ่มที่ไม่ได้รับการพัฒนาการทำงานเป็นทีม กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง ได้แก่ บุคลากรการพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานห้องคลอดโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จำนวน 39 คน และกลุ่มควบคุม ได้แก่ บุคลากรการพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานห้องคลอดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี จำนวน 14 คน รวมทั้งสิ้น 53 คน เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการพัฒนาการทำงานเป็นทีม คู่มือการทำงานเป็นทีม และแบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ซึ่งใช้แนวคิดของ เจิมจันทร์ ทองวิวัฒน์ และปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา (2531) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจในงานบุคลากรการพยาบาลประยุกต์มาจากแนวคิดความพึงพอใจในงานของ Munson and Heda (1974) เครื่องมือวิจัยทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม และแบบสอบถามความพึงพอใจในงานบุคลากรการพยาบาล ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .80 และ .95 ตามลำดับ วิธีการดำเนินการทดลอง คือ กลุ่มทดลองจะได้รับการอบรมและฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม ซึ่งประกอบด้วยทักษะ 3 ด้าน คือ การสร้างความร่วมมือ การแก้ปัญหาโดยทีมงาน และการสร้างความเห็นพ้องต้องกัน เมื่อผ่านการอบรม บุคลากรการพยาบาลนำทักษะดังกล่าวไปใช้ในการปฏิบัติงาน ขณะที่กลุ่มควบคุมมีการปฏิบัติงานตามปกติ หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ ผุ้วิจัยรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลการทดลอง โดยให้ทั้งสองกลุ่ม ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในงานของบุคลากรการพยาบาล จากนั้น นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ความพึงพอใจในงานของบุคลากรพยาบาลภายหลังได้รับการพัมนาการทำงานเป็นทีม สูงกว่าก่อนได้รับการพัฒนาการทำงานเป็นทีม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = < .05) 2. ความพึงพอใจในงานของบุคลากรการพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการพัมนาการทำงานเป็นทีม สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการพัฒนาการทำงานเป็นทีม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = < .05) จากผลการวิจัย แสดงว่าการพัฒนาการทำงานเป็นทีม สามารถส่งผลให้บุคลากรการพยาบาล หน่วยงานห้องคลอดมีความพึงพอใจในงานในระดับที่สูงขึ้นen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this quasi-experimental research were: 1) to compare the satisfaction of nursing personnel in an experimental group who received a teamwork development program with a control group who practiced in a conventional nursing assignment; and 2) to compare the satisfaction of experimental group nursing personnel before and after the intervention. Study subjects consisted of 39 nursing personnel assigned to the experimental group from Nopparatrajathanee Hospital and 14 nursing personnel assigned to the control group from Rachaburi Hospital. Study instruments were the Teamwork Development Program, a manual of team working, Nursing Personnel Teamwork Behavior Observation, and Nursing Personnel Satisfaction Questionnaire. Instruments were tested for content validity and reliability. The reliability of Nursing Personnel Teamwork Behavior Observation and Nursing personnel Satisfaction Questionnaire were .80 and .95 respectively. According to the study program, the experimental group received the teamwork development program that included cooperative skills, group problem solving skills, and consensus building skills. After training, they applied those skills to working in a unit for 4 weeks. After the experimental period, both control and experimental groupos were asked to complete the Nursing Personnel Satisfaction Questionnaire. Study data were analyzed by using mean, standard deviation, and t-tests. The findings were as follows: 1. Nursing personnel satisfaction after receiving the teamwork development program were significantly higher than prior to the program (p = < .05). 2. Nursing personnel satisfaction inthe experimental group after receiving the teamwork development program was significantly higher than that of the control group (p = < .05). These results suggest that the teamwork development program may be effective for increasing the level of satisfaction of nursing personnel.en
dc.format.extent1338851 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพยาบาล -- ความพอใจในการทำงานen
dc.subjectพยาบาล -- การทำงานเป็นทีมen
dc.titleผลของการพัฒนาการทำงานเป็นทีมต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากรการพยาบาลหน่วยงานห้องคลอดen
dc.title.alternativeThe effect of teamwork development on job satisfaction of nursing personnel in the delivery roomen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAreewan.O@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naovarat.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.