Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19674
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์ | - |
dc.contributor.author | พูนศักดิ์ อ้นขำ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-05-19T05:34:25Z | - |
dc.date.available | 2012-05-19T05:34:25Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19674 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | การนำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยตรงอันเนื่องมาจากผลของโมฆะกรรมกับสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ก่อให้เกิดความไม่ชัดเจนและ ความไม่สอดคล้องกับระบบการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินในระบบกฎหมายของไทยที่ยึดถือระบบสัญญาเดียว ดังนั้นเมื่อสัญญาตกเป็นโมฆะ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่โอน ผู้โอนจึงมีทั้งสิทธิที่จะเรียกทรัพย์สินคืนตามหลักลาภมิควรได้และสิทธิที่จะเรียกทรัพย์สินคืนตามหลักกรรมสิทธิ์ ซึ่งหลัก กฎหมายทั้งสองหลักนั้นต่างมีฐานแห่งสิทธิที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดปัญหาในการปรับใช้ต่อประเภทของทรัพย์สินที่เรียกคืน และผลในทางกฎหมายเกี่ยวกับการคืนทรัพย์สินที่แตกต่างกัน จึงอาจทำให้คู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยสุจริต อาจไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการศึกษากฎหมายของประเทศอังกฤษและกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่ใช้ระบบสัญญาเดียว การที่นิติกรรมตกเป็นโมฆะ กรรมสิทธิ์ไม่โอน ในการคืนทรัพย์นั้น กฎหมายอังกฤษเปิดโอกาสให้โจทก์สามารถที่จะเลือกใช้สิทธิได้ในระหว่างหลักลาภมิควรได้และหลักกรรมสิทธิ์ แต่ในส่วนของกฎหมายฝรั่งเศสนั้นจะไม่ได้นำหลักลาภมิควรได้หรือหลักกรรมสิทธิ์มาปรับใช้ แต่จะปรับใช้กับหลักในเรื่องของการกลับคืนสู่ฐานะเดิม และสำหรับกฎหมายเยอรมันถือเป็นกฎหมายที่ใช้ระบบสัญญาคู่ ซึ่งมีการแยกพิจารณาผลของโมฆะกรรมในส่วนของผลทางหนี้และผลในทางทรัพย์ออกจากกัน หากการที่สัญญาทางหนี้ตกเป็นโมฆะ แต่สัญญาทางทรัพย์สมบูรณ์ กรรมสิทธิ์โอนไป แต่ขาดฐานในทางกฎหมายรองรับจึงเรียกคืนกันในฐานลาภมิควรได้ ดังนั้น การที่กฎหมายไทยนำหลักลาภมิควรได้มาใช้บังคับก่อนโดยตรง จึงอาจทำให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้รับทรัพย์สินคืนไม่เหมือนเดิมซึ่งย่อมจะไม่เป็นธรรม แต่ในขณะเดียวกันหากนำหลักกรรมสิทธิ์มาปรับใช้แม้จะสร้างความเป็นธรรมแก่คู่กรณี แต่ก็อาจไม่คุ้มครอง บุคคลภายนอกที่สุจริตอย่างเป็นธรรมได้ ผู้ศึกษาจึงขอเสนอให้นำหลักการกลับคืนสู่ฐานะเดิมมาปรับใช้เพื่อคุ้มครองคู่กรณี แต่ทั้งนี้ต้องกำหนดหลักเกณฑ์ในส่วนของการคุ้มครองบุคคลภายนอกผู้สุจริตไม่ให้ต้องได้รับผลกระทบจากการกลับคืนสู่ฐานะเดิมของคู่กรณีแห่งโมฆะกรรมไว้ด้วย | - |
dc.description.abstractalternative | Applying the provision on unjust enrichment directly due to a voidable result with the contract to have an objective in transferring the ownership of property can cause non-transparency and inconsistency with the system of transferring the ownership on the property in the Thai judicial system that adheres to the single contract. Thus, when the contract becomes null and void, the ownership on the property is not transferrable, so the transferor has a right to demand the property back in accordance with the restitution for unjust enrichment and the right to claim the property back in accordance with the ownership principle. The two judicial principles have a different basis of right, so there is a problem in adjusting the recalled property and the juridical effects concerning the restitution for unjust enrichment differently may cause the opposing or involved parties in bona fides may not be protected and treated fairly. In the study of the laws of the United Kingdom and French Republic that used the single contract, while a legal act becomes void, the ownership is not transferrable, restitution for unjust enrichment in the English law opens a chance for the Plaintiff can choose to exercise the right during the restitution of unjust enrichment and the principle of right. However, in the French law is not applied the restitution of unjust enrichment or the principle of right, but it adopts the principle of returning to the old status quo. Meanwhile, the German law regards it as a law that uses the double contract system, which separates the results of void on the debt and the property apart. If the debt contract becomes void, but the property contract is valid the ownership is transferrable, but it lacks the judicial basis to support, so it can be recalled as restitution for unjust enrichment. Thus, while the Thai law applies the principle of restitution of unjust enrichment directly may cause the opposing party involved to receive the property back differently, which is not fair. At the same time if it is applied the ownership principle although may create fairness but may not protect the bona fide third party. Therefore, the researcher would like to present the principle of returning to the status quo to be adopted with necessary changes to protect the opposing party. However, it has to set guidelines on the protection of the bona fide third party not to be affected by the return to the status quo of the parties by the void as well. | - |
dc.format.extent | 2259526 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1798 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ลาภมิควรได้ | en |
dc.subject | กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ทรัพย์สิน | en |
dc.title | การคืนทรัพย์ตามลักษณะลาภมิควรได้ | en |
dc.title.alternative | Restitution for unjust enrichment | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Sanunkorn.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1798 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
poonsak_on.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.