Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19694
Title: ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้สมาธิต่ออาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Other Titles: The effect of symptom management and meditation program on acute exacerbations in persons with chronic obstructive pulmonary desease
Authors: มณฑา ทองตำลึง
Advisors: สุรีพร ธนศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: sureeporn04@yahoo.com
Subjects: ปอดอุดกั้น
ปอดอุดกั้น -- ผู้ป่วย
สมาธิ -- การใช้รักษา
Lungs -- Diseases, Obstructive
Lungs -- Diseases, Obstructive -- Patients
Meditation -- Therapeutic use
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการจัดการ กับอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ร่วมกับการใช้สมาธิ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่อยู่ในอำเภอพุนพิน และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 ราย และกลุ่มทดลอง 20 ราย โดยให้แต่ละกลุ่ม มีเพศ และระดับความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับที่เท่ากัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการกำเริบเฉียบพลัน ร่วมกับการใช้สมาธิ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินประสบการณ์เกี่ยวกับอาการกำเริบเฉียบพลัน 2) การให้ความรู้ในการจัดการกับอาการกำเริบเฉียบพลัน 3) การฝึกทักษะในการจัดการกับอาการกำเริบเฉียบพลัน 4) การปฏิบัติในการจัดการกับอาการกำเริบเฉียบพลัน 5) การประเมินผลการจัดการกับอาการกำเริบเฉียบพลัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลได้แก่ เครื่องตรวจสมรรถภาพปอด โดยวัดอัตราการไหลสูงสุดของอากาศขณะหายใจออก วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มทดลองมีอัตราการไหลสูงสุดของอากาศขณะหายใจออก หลังการได้รับโปรแกรมฯ ดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มทดลองมีอัตราการไหลสูงสุดของอากาศขณะหายใจออกเพิ่มขึ้น มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือโปรแกรมจัดการกับอาการร่วมกับการใช้สมาธิ สามารถลดอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้
Other Abstract: The quasi-experimental research aimed to test the effect of symptom management program and meditation to reducing acute exacerbation in persons with chronic obstructive pulmonary disease. The sample include 30 patients with COPD at Phunphin hospital . fifteen patients were assigned to a control group and another fifteen were assigned to experimented group. The groups were matched in terms of gender and disease severity. The control group received routine nursing care while the experimental group received the symptom management program with meditation, base on the symptom management model and complementary concepts, which comprised of five sessions : a) assessment patient’s symptom experience b) knowledge providing c) skill development d) self-symptom management e) evaluation. Statistical techniques used in data analysis were frequency, percentage, means, standard deviation and t-test. The results lf this study demonstrated that : 1. The posttest means score of PEFR of an experimental group was significant higher than the pretest phase. 2. The difference mean score of PEFR of an experimental group was significant greater than that of a control group. The result suggests that the symptom management program with meditation could reduce acute exacerbation in persons with COPD.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2553
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19694
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1810
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1810
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
montha_th.pdf9.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.