Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19695
Title: ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนจริยศึกษาของครูสังคมศึกษา และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สี่ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Opinions concerning problems in moral education instruction of social studies teachers adn mathayom suksa four students in Bangkok Metropolis
Authors: กาญจนา เวชยนต์
Advisors: ลาวัณย์ วิทยาวุฑฒิกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: นักเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯ
จริยศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการเรียนและการสอนจริยศึกษาของครูสังคมศึกษาและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สี่ในกรุงเทพมหานคร ในด้านวัตถุประสงค์ เนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการเรียนและการสอนจริยศึกษา ระหว่างครูผู้สอน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สี่ในกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการเรียนและการสอนจริยศึกษา ประกอบด้วยคำถามแบบตรวจคำตอบ แบบมาตราส่วนประเมินค่า และแบบปลายเปิด ส่งไปยังนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สี่จำนวน 600 คน และครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา (ส.402) ทุกคนเป็นจำนวน 50 คน จากโรงเรียนรัฐบาล 30 แห่ง โรงเรียนราษฎร์ 10 แห่ง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t-test) แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง สรุปผลการวิจัย 1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนจริยศึกษาของครูผู้สอน และนักเรียน ประกอบด้วย 5 ด้าน ปรากฏผลโดยเฉลี่ยรวมในแต่ละด้านดังต่อไปนี้ ด้านวัตถุประสงค์ ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษามีความคิดเห็นว่า เป็นปัญหาปานกลาง ด้านเนื้อหาวิชา ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษามีความคิดเห็นว่า เป็นปัญหาปานกลาง แต่นักเรียนมีความคิดเห็นว่าเป็นปัญหาน้อย ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาและนักเรียนมีความคิดเห็นว่า เป็นปัญหาปานกลาง ด้านสื่อการเรียนการสอน ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาและนักเรียนมีความคิดเห็นว่า เป็นปัญหาปานกลาง ด้านการวัดและการประเมินผล ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาและนักเรียนมีความคิดเห็นว่า เป็นปัญหาปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาและนักเรียนเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนจริยศึกษาโดยส่วนรวมแล้วไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: Purposes : 1. To study the opinions concerning problems in moral education instruction of social studies teachers and Mathayom Suksa Four students in Bangkok Metropolis with emphasis on objectives of teaching, content areas, teaching-learning activities, instructional materials, and evaluation. 2. To compare the opinions concerning problems in moral education instruction between social studies teachers and Mathayom Suksa Four students in Bangkok Metropolis. Procedures : Two sets of questionnaires on opinions concerning problems in moral education instruction consisted of check-list, rating-scale, and open-ended items, were constructed by the researcher, and sent to 600 Mathayom Suksa Four students and 50 social studies teachers which were simple randomly sampled from 30 government schools and 10 private schools in Bangkok Metropolis. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test and explained descriptively. Conclusions : 1. The opinions concerning problems in moral education instruction of social studies teachers and students in 5 areas were generally as follow : The objectives of teaching : The social studies teachers opined that the problems on this area were moderate. The contents areas : The social studies teachers viewed that the problem on the content area were moderate, but the students viewed them as not serious. The teaching-learning activities : The opinions of both teachers and students concerning problems on teaching-learning activities were moderate. The instructional materials : The social studies teachers and the students opined that the problems on this area were moderate. The evaluation : The social studies teachers and the students viewed that the problems on this area were moderate. 2. The overall opinions concerning problems in moral education instruction between the social studies teachers and students were not significantly different at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19695
ISBN: 9745620077
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanchana_Ve_front.pdf388.26 kBAdobe PDFView/Open
Kanchana_Ve_ch1.pdf550.04 kBAdobe PDFView/Open
Kanchana_Ve_ch2.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Kanchana_Ve_ch3.pdf309.21 kBAdobe PDFView/Open
Kanchana_Ve_ch4.pdf828.6 kBAdobe PDFView/Open
Kanchana_Ve_ch5.pdf896.46 kBAdobe PDFView/Open
Kanchana_Ve_back.pdf859.42 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.