Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19726
Title: | กระบวนการสื่อสารกับเยาวชนของเครือข่ายครูนักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ |
Other Titles: | Communication process of teachers network against tobacco for youth |
Authors: | สุรัชตา ราคา |
Advisors: | กาญจนา แก้วเทพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kanjana.Ka@chula.ac.th |
Subjects: | การสื่อสารในกลุ่มขนาดเล็ก |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารในดำเนินงานเพื่อการไม่สูบบุหรี่ของเครือข่ายครูนักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในโรงเรียนต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการดำเนินงานในเครือข่ายครูนักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่และกลยุทธ์การสื่อสารที่จะสามารถสร้างการมีส่วนร่วมในโครงการแก่เยาวชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบกับการวิเคราะห์เอกสารและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการสื่อสารในดำเนินงานเพื่อการไม่สูบบุหรี่ของเครือข่ายครูนักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่แบ่งออกเป็น 2 ขอบเขตได้แก่ กระบวนการสื่อสารภายในเครือข่ายและกระบวนการสื่อสารของครูแกนนำในเครือข่ายครูนักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่กับเยาวชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในโรงเรียน 1.1 กระบวนการสื่อสารภายในเครือข่ายนักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ (1) การสื่อสารภายใน CORE TEAM เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารกลุ่มย่อย (2) การสื่อสารระหว่าง CORE TEAM กับสมาชิกภายในเครือข่าย เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารกลุ่มใหญ่ และการสื่อสารองค์กร (3) การสื่อสารระหว่างการสื่อสารระหว่างเครือข่ายกับมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) และศูนย์สร้างสรรค์ครูมืออาชีพ เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารกลุ่มใหญ่ การสื่อสารในองค์กร และการสื่อสารมวลชน 1.2 กระบวนการสื่อสารของครูแกนนำในเครือข่ายครูนักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กับเยาวชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในโรงเรียนเป็นรูปแบบการสื่อสารผ่าน (1) สื่อบุคคล ประกอบด้วยสื่อบุคคลภายในโรงเรียนและสื่อบุคคลภายนอกโรงเรียน (2) สื่อกิจกรรม ประกอบด้วยกิจกรรมภายในโรงเรียนและกิจกรรมในระดับเครือข่าย 2. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในโรงเรียนต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการดำเนินงานในเครือข่ายครูนักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มีผลกระทบกับทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม และการมีส่วนร่วม โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 ประเภทได้แก่(1) กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ เยาวชนทั้งเยาวชนแกนนำและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง (2)กลุ่มเป้าหมายรองคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูภายในโรงเรียน ผู้ปกครอง ร้านค้า 3. กลยุทธ์การสื่อสารที่จะสามารถสร้างการมีส่วนร่วมในโครงการแก่เยาวชน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ (1) กลยุทธ์การใช้สื่อ ประกอบด้วยสื่อบุคคลและสื่อกิจกรรม (2) กลยุทธ์การใช้สาร คือการกำหนดเนื้อหาสาร รหัสสาร การจัดสารและสร้างจุดจูงใจในสาร (3) กลยุทธ์การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม โดยเป็นการมีส่วนร่วมทั้งกระบวนการแก่เยาวชน (4) กลยุทธ์การให้แรงเสริมแก่เยาวชนด้วยการพูดให้กำลังใจและการให้รางวัล (5) กลยุทธ์การใช้แรงกระตุ้นจากภายนอก ได้แก่ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ การทำกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนต่างๆ และ สื่อมวลชน |
Other Abstract: | This research aims to study the communication process of teachers network against tobacco for youth, the impact of non-smoking communication campaign in school toward stakeholders from the operation of this network, and communication strategies that are capable to build cooperation among youth. The research is done through qualitative research and data collection for the study was done through in-depth interview, focus group interview with key informants, documentary research and participatory observation. Research results indicate that: 1. Communication processes of this network are divided into 2 areas; communication process within network and communication process of this network with youth and concerned people in school. 1.1 Communication processes within network are divided into 3 areas (1) Communication within core team is interpersonal communication and small group communication. (2) Communication between core team and members is interpersonal communication, large group communication, and organization communication. (3) Communication between network and Action on Smoking and Health Foundation (ASH THAILAND), Tobacco Control Research and Knowledge Management Center (TRC) and Creative Center for Professional Teacher is interpersonal communication, large group communication, organization communication and mass communication. 1.2 Communication process of leader in teachers network against tobacco with youth and concerned people in school is run through various media. (1) Personal media consist of persons within school and outside. (2) Activity media consist of both activities at school level and network level. 2. The non-smoking communication campaigns in school toward stakeholders, from the operation of this network have impact on the knowledge, attitude, practice and participation of the 2 target groups: (1) Main target included youth in core and risky group (2) Second targets are school managers, parents, and store owners. 3. Communication strategies which are capable to build cooperation among youth are (1) Media strategy consists of personal media and activity media. (2) Message strategy is message design, message code, message arrangement, and message appeal. (3) Participation communication strategy is total participation of the youth (4) Reinforcement strategy for youth is verbal encouragement and material rewarding (5) Motivation from external organization strategy i.e. the support from Action on Smoking and Health Foundation (ASH THAILAND), joining activity programs with other schools and mass media. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19726 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.34 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.34 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
surutchata_ra.pdf | 3.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.