Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1976
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำชั้นยอดของหัวหน้าหอผู้ป่วยการทำงานเป็นทีมกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ
Other Titles: Relationships between super-leadership of head nurse, team work, and effectiveness of patient units as perceived by staff nurses, governmental university hospitals
Authors: สุรีย์ โพธาราม, 2504-
Advisors: อารีย์วรรณ อ่วมตานี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Areewan.O@Chula.ac.th
Subjects: ภาวะผู้นำ
ประสิทธิผลองค์การ
การพยาบาลเป็นทีม
พยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ภาวะผู้นำชั้นยอดของหัวหน้าหอผู้ป่วย การทำงานเป็นทีมและประสิทธิผลของหอผู้ป่วย ศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัยพยากรณ์ประสิทธิผลของหอผู้ป่วย ตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 361 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามภาวะผู้นำชั้นยอดของหัวหน้าหอผู้ป่วย (Manz and Sims, 1989) แบบสอบถามการทำงานเป็นทีม (Woodcock, 1989) และแบบสอบถามประสิทธิผลของหอผู้ป่วย (Gibson et al., 1991) แบบสอบถามทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงได้เท่ากับ .97, .98 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่ม ตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ภาวะผู้นำชั้นยอดของหัวหน้าหอผู้ป่วย การทำงานเป็นทีม และประสิทธิผลของหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ อยู่ในระดับสูง ([Mean] = 3.92, 4.09 และ 4.07 ตามลำดับ) 2. ภาวะผู้นำชั้นยอดของหัวหน้าหอผู้ป่วย การทำงานเป็นทีม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .57 และ .69 ตามลำดับ p<.05) 3. ตัวแปรที่ร่วมพยากรณ์ประสิทธิผลของหอผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับดังนี้ การทำงานเป็นทีม การเสริมแรงทางบวก (องค์ประกอบหนึ่งของภาวะผู้นำชั้นยอด) โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 54.1 (R[superscript 2] = .541) ได้สมการในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้ ประสิทธิผลของหอผู้ป่วย = .543 การทำงานเป็นทีม + .287 การเสริมแรงทางบวก จากผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า การทำงานเป็นทีม และการเสริมแรงทางบวก เป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มระดับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย
Other Abstract: The purposes of this research were to study super-leadership of head nurse, team work, and effectiveness of patient units; and to analyze the relationships and predictors of effectiveness of patient units as perceived by staff nurses working in governmental university hospitals. Research subjects consisted of 361 staff nurses who were selected by multi-stage sampling. The research instruments were Super-Leadership of Head Nurse Questionnaire (Manz and Sims, 1989), Team Work Questionnaire (Woodcock, 1989), and Effectiveness of Patient Units Questionnaire (Gibson et al., 1991). All instruments were tested for the validity and reliability with Cronbachs Alpha Coefficient of .97, 98 and .96, respectively. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, Pearsons product moment correlation coefficients, and stepwise multiple regression analysis. Major findings were as follows: 1. Super-leadership of head nurse, team work, and effectiveness of patient units were at the high level ([Mean] = 3.92, 4.09 and 4.07 respectively). 2. Super-leadership of head nurse and team work were positively related to effectiveness of patient units at p = .05 level (r = .57 and .69 respectively). 3. Variables predicting effectiveness of patient units as perceived by staff nurses at p = .05 were team work and one of six components of super-leadership (reinforcement). These variables accounted for 54.1 percent of the variance (R[superscript 2] = .541). The standardized equation was: Effectiveness of patient units = .543 team work + .287 reinforcement These findings indicate that team work and reinforcement increase effectiveness of patient units as perceived by staff nurses, governmental university hospitals.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1976
ISBN: 9745322016
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suree.pdf956.47 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.