Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19777
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิริพันธุ์ สาสัตย์ | - |
dc.contributor.author | วันเพ็ญ สายัณย์ศศิกนก | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-05-20T08:12:04Z | - |
dc.date.available | 2012-05-20T08:12:04Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19777 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยายแบบการศึกษาเปรียบเทียบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการกลับมาตรวจรักษาซ้ำของผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังที่หน่วยอุบัติเหตุ – ฉุกเฉิน และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างในด้าน อายุ เพศ ความเพียงพอของรายได้ ระดับการศึกษา ความร่วมมือในการรับประทานยา จำนวนโรคเรื้อรัง ระดับความรุนแรงของความเจ็บป่วยเมื่อกลับมาตรวจรักษาซ้ำ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ระดับเชาวน์ปัญญา ระดับภาวะซึมเศร้า และระดับการสนับสนุนทางสังคมกับจำนวนวันเฉลี่ยของการกลับมาตรวจรักษาซ้ำของผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังที่หน่วยอุบัติเหตุ – ฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ หรือโรคต่อมไร้ท่อ อย่างน้อย 1 ระบบ ที่เคยเข้ามารับการตรวจรักษาที่หน่วยอุบัติเหตุ - ฉุกเฉินหรือจำหน่ายออกจากหอผู้ป่วย และแผนกต่าง ๆ ของโรงพยาบาล อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 90 วัน ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่เป็นโรงเรียนแพทย์ เขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยา แบบประเมินระดับความรุนแรงของความเจ็บป่วยเมื่อกลับมาตรวจรักษาซ้ำ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบประเมินระดับเชาวน์ปัญญา แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ T – test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุกลับมาตรวจรักษาซ้ำมากที่สุดภายใน 2 วันหรือ 48 ชั่วโมง 2. ผู้สูงอายุที่กลับมาตรวจรักษาซ้ำส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 70 – 79 ปี เป็นผู้สูงอายุเพศหญิง มีรายได้อยู่ในระดับที่เพียงพอ และจบการศึกษาระดับประถมศึกษา 3. อายุ เพศ ความเพียงพอของรายได้ ระดับการศึกษา จำนวนโรคเรื้อรัง ระดับความรุนแรงของความเจ็บป่วยเมื่อกลับมาตรวจรักษาซ้ำ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ระดับเชาวน์ปัญญา ระดับภาวะซึมเศร้า และการสนับสนุนทางสังคมที่แตกต่างกันมีจำนวนวันเฉลี่ยของการกลับมาตรวจรักษาซ้ำที่หน่วยอุบัติเหตุ – ฉุกเฉิน ไม่แตกต่างกัน 4. ผู้สูงอายุที่ให้ความร่วมมือในการรับประทานยาในระดับต่ำมีจำนวนวันเฉลี่ยของการกลับมาตรวจรักษาซ้ำที่หน่วยอุบัติเหตุ – ฉุกเฉินน้อยกว่าระดับอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study the revisiting of older persons with chronic illnesses at emergency department and to compare the revisiting of older persons among the differences of age, sex, income, educational level, drug compliance, number of chronic illnesses, emergency triage, activity of daily living, cognitive function, depression, and social support. The sample consisted of 60 years old and over of people who diagnosed of cardiovascular disease system, respiratory disease system or endocrine disease system. They were received health care services from emergency department, inpatient ward or other department at least one time with in 3 months in tertiary hospitals in Bangkok. The research instruments were demographic questionnaire, drug compliance questionnaire, emergency triage, ADL, MMSE – T, TGDS, and Social Support Assessment. Data were analysed for frequency, percentage, mean, standard deviation, T- test, and One – Way ANOVA Major findings were as follow: 1. The highest frequency of revisiting of older persons with chronic illness at emergency department was within 2 day or 48 hours. 2. The comparison between the differences at age group, sex, income, educational level, number of chronic illnesses, emergency triage, activity of daily living, cognitive function, depression and social support were found no significant difference in revisiting of older persons at emergency department 3. The different levels of drug compliance were found significant difference in revisiting of older persons at emergency department at level of .05. | en |
dc.format.extent | 12570171 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1413 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | en |
dc.subject | ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | en |
dc.subject | โรงพยาบาล -- บริการพยาบาลฉุกเฉิน | en |
dc.title | การศึกษาการกลับมาตรวจรักษาซ้ำของผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังที่หน่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน | en |
dc.title.alternative | A study of the revisit of older persons with chronic illness at the emergency department | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Siriphun.S@Chula.ac.th, s_sasat@hotmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.1413 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wanpen_sa.pdf | 12.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.