Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19792
Title: The localization of Seven Eleven in Bangkok
Other Titles: ถิ่นฐานภิวัตน์ของเซเวนอีเลฟเวนในกรุงเทพฯ
Authors: Buttel, Zachary Jack
Advisors: Niti Pawakapan
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: Niti.P@Chula.ac.th
Subjects: Convenience stores
Localism
Issue Date: 2008
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The 7-Eleven convenience store franchise is now the largest chain store of any category in the world surpassing even McDonald’s when compared by store numbers. As 7-Eleven is a multinational marketer and distributor of various modern style foods and services, which are all packaged together as a service promoted as ‘convenience’, the franchise is in a unique position to influence consumers and tastes in various parts of the world. In Thailand, but in Bangkok especially, the 7-Eleven franchise brand has been borrowed by one of Thailand’s most successful multinational companies, CP Group, and one of the world’s largest agribusiness firms. Bangkok possesses one of the heaviest concentrations of 7-Eleven stores of any city in the world. As such, the 7-Eleven franchise has been at the center of CP Group’s latest plans for driving growth and international competitiveness since they experienced debt problems after the 1997 Asian Financial Crisis. This thesis takes the view that this has allowed CP Group, primarily through the strategies it has employed as Thailand’s sole franchisor of the 7-Eleven brand, to have significant influence on local food tastes and perceptions of convenience. Equally important, if not more so, is the role of local consumers in localizing 7-Eleven in Bangkok. The process of adaption and adoption of foreign influences is often referred to academically as localization. This study uses the theory of localization to make the argument for the unique ability of local actors to shape and give character to processes that take place both within and outside national borders. Although this thesis is still written from the viewpoint of an outsider, the interdisciplinary methodology employed seeks to understand the processes of localization more in terms of what is happening in Thailand rather than outside of it. This counters and deepens arguments about the supposed homogenizing influences of globalization. Furthermore, an outside perspective applied to examining the localization of 7-Eleven in Bangkok allows for processes in Thailand to be compared with and partially reconciled with similar but not identical processes that are taking place in other parts of the world. As such, it is argued in this thesis that the localization the 7-Eleven franchise in Bangkok offers an exploration of how modern convenience is institutionalized and shaped by local actors. As far as comparisons with external actors go, it is argued that processes of development, growth, multinational business practices and demographic change share similarities between and across countries.
Other Abstract: ปัจจุบันร้านสะดวกซื้อเซเวนอีเลฟเวนถือเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่ใหญ่กว่าทุกๆ ธุรกิจอื่นใดในโลก ซึ่งใหญ่กว่าร้านแมคโดนัลด์เมื่อเทียบด้วยจำนวนสาขา การที่ธุรกิจเซเวนอีเลฟเวนเป็นผู้ทำการตลาดข้ามชาติ และเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าและบริการในรูปแบบที่ทันสมัย โดยทั้งหมดจัดทำเป็นการบริการที่เน้น “ความสะดวกซื้อ” ทำให้กลายเป็นธุรกิจ แฟรนไชส์ที่มีความโดดเด่นที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคและรสนิยมในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ในประเทศไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ กลุ่มธุรกิจเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี กรุ๊ป) ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทข้ามชาติของไทยที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด และยังเป็นหนึ่งในบริษัทธุรกิจการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้นำตราแฟรนไชส์ “เซเวนอีเลฟเวน” มาดำเนินกิจการ กรุงเทพฯ ได้กลายเป็นศูนย์รวมร้านเซเวนอีเลฟเวนที่หนาแน่นมากที่สุดเมืองหนึ่งในโลก ดังนั้น ธุรกิจแฟรนไชส์เซเวนอีเลฟเวนจึงกลายเป็นธุรกิจหลักในแผนกิจการล่าสุดของ ซีพี กรุ๊ป ที่จะช่วยผลักดันในบริษัทมีความเจริญเติบโต และสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้ นับตั้งแต่ที่ ซีพี กรุ๊ป ประสบปัญหาภาวะหนี้สินจากวิกฤตการเงินเอเชียที่เกิดขึ้นในปี 2540 วิทยานิพนธ์นี้ถือว่า การที่ ซีพี กรุ๊ป ดำเนินแผนกลยุทธที่ทำให้ตนเองมีสิทธิขายแฟรนไชส์เซเวนอีเลฟเวนได้เพียงผู้เดียวมาตั้งแต่แรกเริ่ม ทำให้เกิดอิทธิพลต่อรสนิยมการบริโภคอาหารท้องถิ่น และการรับรู้และเข้าใจความคิดเรื่อง “ความสะดวกซื้อ” นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่สำคัญเท่าๆ กัน คือ การที่ผู้บริโภคในท้องถิ่นมีบทบาทในการกำหนดสถานที่ตั้งของร้านเซเวนอีเลฟเวนในกรุงเทพฯ กระบวนการปรับเปลี่ยนและรับเอาอิทธิพลจากต่างชาติ ในทางวิชาการใช้คำว่าว่า ถิ่นฐานภิวัตน์ (Localization) การศึกษานี้จึงได้ใช้ทฤษฎีถิ่นฐานภิวัตน์เพื่อสร้างข้อถกเถียงในเรื่องที่ว่า คนในท้องถิ่นมีความสามารถที่แตกต่างกันไปในการก่อรูปและสร้างลักษณะของกระบวนการถิ่นฐานภิวัตน์ ซึ่งเกิดขึ้นทั้งในและนอกพรหมแดนของชาติ แม้ว่าผู้วิจัยได้เขียนวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้จากมุมมองของคนนอก แต่การใช้วิธีวิจัยทางสหวิทยาการได้ช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อกระบวนการถิ่นฐานภิวัตน์มากขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้นภายในประเทศไทยมากกว่าจากภายนอก การศึกษานี้ยังได้โต้แย้งและให้ข้อมูลเบื้องลึกในข้อถกเถียงถึงอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ ว่าทำให้ทุกอย่างมีลักษณะเดียวกัน นอกจากนี้ การวิจัยจากมุมนอกคนนอกช่วยให้สามารถนำเอากระบวนการถิ่นฐานภิวัตน์ของเซเวนอีเลฟเวนในกรุงเทพฯ ไปเปรียบเทียบและปรับใช้กับกระบวนการที่คล้ายแต่ไม่ใช่อันเดียวกันที่เกิดขึ้นในส่วนอื่นของโลก วิทยานิพนธ์นี้เสนอว่า ถิ่นฐานภิวัตน์ของเซเวนอีเลฟเวนในกรุงเทพฯ เป็นการสำรวจที่แสดงให้เห็นว่า คนในท้องถิ่นมีส่วนอย่างไรในสถาปนาและกำหนดรูปแบบการใช้ชีวิตสมัยใหม่ที่สะดวกสบาย อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับตัวแสดงภายนอก เห็นว่า กระบวนการการพัฒนา ความเจริญเติบโต การดำเนินกิจการของบริษัทข้ามชาติ และการเปลี่ยนแปลงของประชากร ล้วนมีลักษณะคล้ายคลึงกันไม่ว่าการเป็นระหว่างประเทศหรือข้ามประเทศ
Description: Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2008
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Southeast Asian Studies (Inter-Department)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19792
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1874
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1874
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
zachary_bu.pdf14.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.