Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19823
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สนานจิตร สุคนธทรัพย์ | - |
dc.contributor.author | กู้เกียรติ มานพ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-05-21T16:15:03Z | - |
dc.date.available | 2012-05-21T16:15:03Z | - |
dc.date.issued | 2530 | - |
dc.identifier.isbn | 9745678333 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19823 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และสาเหตุของปัญหาการบริการโรงเรียนสาขา 2.เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารโรงเรียนสาขา วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนสาขาจำนวน 17 คน และครูผู้สอนในโรงเรียนสาขา จำนวน 22 คน รวม 39 คน ใช้ประชากรทั้งหมดในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสำรวจข้อมูล เป็นแบบสำรวจเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของโรงเรียนสาขา และชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ แบบสัมภาษณ์มี 2 ตอน ตอนที่ 1 เกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ และสภาพทั่วไปของโรงเรียนสาขา และชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ตอนที่ 2 เกี่ยวกับปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบริหารโรงเรียนสาขา และแบบวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา สาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารโรงเรียนสาขา การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์และเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารด้วยตนเอง ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าความถี่และค่าร้อยละ สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการบริหารโรงเรียนสาขา ในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงราย ได้ปัญหาสำคัญดังนี้ 1.ปัญหาจากการสำรวจข้อมูล พบว่าโรงเรียนสาขาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่กันดาร ครึ่งหนึ่งตั้งอยู่ในชุมชนต่างเชื้อชาติ โรงเรียนสาขาทั้งหมดมีขนาดเล็กและเล็กมาก มีครูไม่ครบชั้นเรียน และส่วนใหญ่มีอาคารเรียนเป็นอาคารชั่วคราว 2.ปัญหาจากการสัมภาษณ์ พบว่ามีปัญหา 61 ปัญหา ปัญหาสำคัญได้แก่ ขาดแคลนสื่อการสอน ได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนน้อย ไม่สามารถจัดกิจกรรมสนับสนุนการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ ใช้ทรัพยากรจากชุมชนเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาโรงเรียนน้อย ขาดอาคารเรียนถาวร ครูขาดขวัญกำลังใจ ครูไม่ครบชั้นเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ครูเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนน้อย ได้รับการนิเทศน้อย ขาดเอกสารหลักสูตร คู่มือครู แผนการสอน ครูได้รับการพัฒนาน้อย และเด็กขาดเรียนบ่อย 3.ปัญหาจากการวิเคราะหห์เอกสาร พบว่าปัญหาส่วนใหญ่สอดคล้องกับปัญหาที่ได้จากการสัมภาษณ์ ปัญหาเพิ่มเติมที่พบคือ ปัญหาความแตกต่างระหว่างภาษาที่ครูและนักเรียนใช้อยู่ ปัญหาเด็กตกซ้ำชั้น ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา 2523 (การเกณฑ์เด็ก การยกเว้น การติดตาม การส่งเด็กเข้าเรียน การจำหน่ายเด็ก) ได้ยาก สถานที่คับแคบ ไม่มีบ้านพักครู และขาดแคลนน้ำ ปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุสำคัญหลายประการได้แก่ ครูต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ทรุกันดาร ห่างไกล ชุมชนเป็นชาวต่างเชื้อชาติ ต่างวัฒนธรรม ประเพณี เด็กช่วยผู้ปกครองทำงาน ชุมชนขาดแคลนทรัพยากร ครูมีโอกาสเพิ่มวุฒิน้อยเนื่องจากอยู่ห่างไกล และทางการจัดสรรงบประมาณด้านต่าง ๆ ให้น้อย ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการบริหารโรงเรียนสาขาที่สำคัญ ได้แก่ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดที่มีโรงเรียนสาขาในสังกัดควรหาทางลดปัญหาการขาดขวัญกำลังใจของครูผู้สอนในโรงเรียนสาขาให้มากที่สุด ในการจัดสรรงบประมาณ ควรแยกงบประมาณของโรงเรียนสาขาออกต่างหากจากโรงเรียนหลัก สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาห่างชาติ ควรหาวิธีการสนับสนุนให้โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชนชาวเขา และโรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นเรียน สามารถปรับหลักสูตรและวิธีการวัดผลให้เหมาะสมกับชาวเขา และโรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นเรียน สามารถปรับหลักสูตรและวิธีการวัดผลให้เหมาะสมกับชาวเขา และโรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นเรียน และใช้สื่อการเรียนสำเร็จรูปเข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้ทั่วถึงทุกโรงเรียนที่มีปัญหาในการเร่งคุณภาพด้านวิชาการนั้น สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอและผู้บริหารโรงเรียนสาขาควรควบคุมกำกับ ติดตามให้ครูผู้สอนในโรงเรียนสาขาได้ปฏิบัติเช่นเดียวกับโรงเรียนทั่วไป | - |
dc.description.abstractalternative | Purposes of the Study: 1.To study problems and causes of problems related to the administration of branch schools. 2.To propose guidelines for problem solving. Procedures: The population used in the research were 17 administrators and 22 teachers of branch schools, totaling 39, The instruments used were ; 1) a survey form concerning general state of branch schools and communities where schools were located ; 2) an inferview guideline concerning problems, causes of problems and guidelines for problem solving; 3)guidelines for documentary analysis concerning problems, causes and guidelines for problem solving. Data collection was carried out by the researcher Frequency counting and percentage were used in data analysis. Findings: 1.Data analysis from school and community survey revealed that majority of branch schools were situated in remote areas, half of them were located in diversified communities, all of them were either small or very small schools with inadequate teachers. Most of them had temporary building. 2.Sixty-one problems were indicated from the interview. Some major problems were lack of instructional media, low community participation, inability to organize supporting activities and services, minimal use of community resources, lack of permanent buildings, low teacher morale, inadequate teachers, low achievement, low teachers’ participation in community activities, insufficient supervision, lack of curriculum materials, teacher manuals and lesson plans, inadequate development of teachers and high absenteeism. 3.The problems revealed from document analysis were mostly concurrent with those found from the interview. Additional problems found were: differences in languages used by teachers and students, high repetition, difficulty in implementing 1980 primary Education Act, no teacher house and lack of water. Some major causes of the problems were : poor conditions of work environment, differences between race, culture and tradition of teachers and community, needs for child labour. Lack of community resources, low opportunity for teachers to upgrade their qualifications and inadequate resource allocation from the government. Major recommendations were : 1) the office of provincial Primary Education should search for appropriate means minimize the problems of low teacher morale; 2)the budget for branch schools should be allocated separately form the main school: 3)the Office of the National Primary Education Commission should enable hill tribe schools to adjust their curriculum and evaluation to suit the environment and their problems of inadequate teachers; 4)instructional package should be used in every problem schools: 5)regarding the improvement of quality of eduction, The office of District Primary Education and school administrators should monitor the teachers in branch schools to perform this duty like teachers in other schools. | - |
dc.format.extent | 744007 bytes | - |
dc.format.extent | 579064 bytes | - |
dc.format.extent | 1034690 bytes | - |
dc.format.extent | 279492 bytes | - |
dc.format.extent | 2972428 bytes | - |
dc.format.extent | 792214 bytes | - |
dc.format.extent | 957873 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โรงเรียนประถมศึกษา -- ไทย (ภาคเหนือ) | en |
dc.subject | โรงเรียนสาขา -- การบริหาร | en |
dc.subject | โรงเรียนประถมศึกษา -- ไทย -- เชียงราย | en |
dc.title | ปัญหาการบริหารโรงเรียนสาขาในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดเชียงราย | en |
dc.title.alternative | Administrative problems of branch schools under the jurisdiction of the Office of Chiang Rai Provincial Primary Education | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Snanchit.S@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kukiat_Ma_front.pdf | 726.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kukiat_Ma_ch1.pdf | 565.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kukiat_Ma_ch2.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kukiat_Ma_ch3.pdf | 272.94 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kukiat_Ma_ch4.pdf | 2.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kukiat_Ma_ch5.pdf | 773.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kukiat_Ma_back.pdf | 935.42 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.