Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1985
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจภายใน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยสภาพแวดล้อมในงาน กับพฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ
Other Titles: Relationships between intrinsic motivation,transformational leadership of head nurse,work environment, and innovative behavior of professional nurses, governmental university hospitals
Authors: สุดารัตน์ เหลาฉลาด, 2518-
Advisors: อารีย์วรรณ อ่วมตานี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Areewan.O@Chula.ac.th
Subjects: พยาบาล
พฤติกรรมองค์การ
แรงจูงใจภายใน
ภาวะผู้นำ
สภาพแวดล้อมการทำงาน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แรงจูงใจภายใน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย สภาพแวดล้อมในงาน และพฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ ศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 386 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แนวคิดที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แรงจูงใจภายใน (อรพินทร์ ชูชม และคณะ, 2542) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย (Avolio, Bass & Jung, 1999) สภาพแวดล้อมในงาน (Mikdashi, 1999) และพฤติกรรมสร้างสรรค์ (Kleysen & Street, 2001) แนวคิดทั้งหมดนำมาสร้างเครื่องมือวิจัย ซึ่งตรวจสอบความตรงของเนื้อหาและตรวจสอบค่าความเที่ยงแล้วได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .90, .94, .83 และ .81 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แรงจูงใจภายในภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย และสภาพแวดล้อมในงาน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ อยู่ในระดับสูง ส่วนพฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99, 3.85, 3.77 และ 3.47 ตามลำดับ 2. แรงจูงใจภายใน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย สภาพแวดล้อมในงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .510, .273, และ .496 ตามลำดับ p < .05) 3. ตัวแปรที่ร่วมพยากรณ์พฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับดังนี้ แรงจูงใจภายใน สภาพแวดล้อมในงาน โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ ร้อยละ 33.8 (R[superscript 2] = .338) ได้สมการในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้ พฤติกรรมสร้างสรรค์ = .350 แรงจูงใจภายใน + .321 สภาพแวดล้อมในงาน จากผลการวิจัย ชี้ให้เห็นว่า แรงจูงใจภายใน และสภาพแวดล้อมในงาน เป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มระดับพฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ
Other Abstract: The purposes of this research were to study intrinsic motivation, transformational leadership of head nurse, work environment, and innovative behavior of professional nurses, and to analyze explore relationships and predictors of innovative behavior of professional nurses working in governmental university hospitals. Research subjects consisted of 386 professional nurses who were selected by multi-stage sampling. Intrinsic motivation (Chuchom et. al., 1999), transformational leadership (Avolio, Bass & Jung, 1999), work environment (Mikdashi, 1999), and innovative behavior (Kleysen & Street, 2001) were used as the conceptual framework and to develop study questionaires. All questionaires were tested for content validity and reliability with alphas ranging from .81 to .94. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, Pearson's product moment correlation coefficients, and stepwise multiple regression analysis. Major findings were as follows : 1. Intrinsic motivation, Transformational leardership of head nurse,and Work environment were at a high level whereas Innovative behavior of professional nurses was at a moderate level ([Mean] = 3.99, 3.85, 3.77, and 3.47 respectively ). 2. Intrinsic motivation, Transformational leardership of head nurse and Work environment were positively related to Innovative behavior of professional nurses at p= .05 level (r = .510, .273 and .496 respectively). 3. Variables predicting innovative behavior of professional nurses at p= .05 were intrinsic motivation and work environment . These predictors accounted for 33.8 percent of the variance (R[superscript 2] = .338) . The standardized equation was as follows : innovative behavior = .350 intrinsic motivation + .321 work environment. These findings indicate that intrinsic motivation and work environment were factors that increased the innovative behavior of professional nurses.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1985
ISBN: 9745321109
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SudaratLao.pdf824.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.