Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19875
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุปรีชา หิรัญโร-
dc.contributor.advisorยุวดี ศิริ-
dc.contributor.authorประภัสสร ใจกล้า-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialนนทบุรี-
dc.date.accessioned2012-05-26T14:29:42Z-
dc.date.available2012-05-26T14:29:42Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19875-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการบริหารชุมชนของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อดูแลทรัพย์สินส่วนกลางเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะหมายถึงการดูแลบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะให้ดีอันจะส่งผลต่อการอยู่อาศัยของคนในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีไปด้วย ซึ่งการบริหารชุมชนจำเป็นต้องมีต้นทุนในการดำเนินการ หมายถึงค่าส่วนกลาง เพื่อช่วยให้การบริหารชุมชนมีประสิทธิภาพ แต่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจำนวนมากประสบปัญหาในเรื่องการจัดเก็บค่าส่วนกลางได้ไม่เต็มจำนวน นิติบุคคลจึงมีงบประมาณไม่เพียงพอสำหรับการดูแลสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ จึงทำให้การบริหารชุมชนไม่มีประสิทธิภาพ จากการสำรวจพบว่ามีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรสามารถจัดเก็บเงินค่าส่วนกลางได้ 100% จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษารูปแบบ และวิเคราะห์ปัญหา วิธีการแก้ไขที่เกิดขึ้นกับการบริหารชุมชนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโครงการจัดสรรขนาดกลาง โดยเลือกหมู่บ้านเบญญาภาราชพฤกษ์ และณัฐชากรีนวิลล์ จังหวัดนนทบุรี เป็นกรณีศึกษาเพื่อให้ผู้ประกอบการและนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรสามารถนำผลการศึกษาไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารชุมชนของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร จากการศึกษาพบว่าการบริหารชุมชนนิติบุคลหมู่บ้านจัดสรรโครงการจัดสรรขนาดกลาง การเลือกรูปแบบในการบริหารชุมชน ดำเนินการโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งพิจารณาจากรายได้และรายจ่ายของนิติบุคคลเป็นสำคัญ และมีรูปแบบการบริหารชุมชน 2 ลักษณะ คือ 1) คณะกรรมการบริหารและดำเนินเอง พบว่า การบริหารชุมชนเริ่มต้นด้วยการลองผิดลองถูก เนื่องจากคณะกรรมการยังขาดความรู้และความเข้าใจ รวมถึงไม่มีประสบการณ์ในการบริหารชุมชน ทำให้สามารถจัดเก็บเงินค่าส่วนกลางได้เพียง 80% เท่านั้น 2) นิติบุคคลว่าจ้างบุคคลธรรมดา พบว่า การบริหารชุมชนเกิดจากการเรียนรู้ และทำการปรับปรุงและแก้ไขข้อผิดพลาด เพื่อทำให้สมาชิกเกิดความเชื่อมั่นและให้ความร่วมมือในการบริหารชุมชน จนทำให้สามารถจัดเก็บเงินค่าส่วนกลางได้ถึง 100% นอกจากนี้ยังพบปัญหาที่เกิดขึ้นการบริหารชุมชนของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และมีวิธีการแก้ไขปัญหา ดังนี้คือ 1)คณะกรรมการบริหารและดำเนินการเอง พบว่า 1.คณะกรรมการขาดความรู้และความเข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ในการบริหารชุมชน แก้ปัญหาโดย การศึกษาจากหนังสือ ข้อกฎหมาย และสอบถามจากเจ้าพนักงานกรมที่ดินรวมถึงเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร 2.คณะกรรมการไม่มีเวลาทำงานให้ชุมชนได้เต็มที่ แก้ปัญหาโดย การว่าจ้างพนักงานธุรการเข้ามาช่วยทำงานเพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่ ทำให้การบริหารชุมชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2) นิติบุคคลว่าจ้างบุคคลธรรมดา พบว่า 1.อัตราการจัดเก็บเงินค่าส่วนกลางทำให้รายรับน้อยกว่าหรือเท่ากับรายจ่าย แก้ปัญหาโดยการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเพื่อให้สมาชิกเกิดเข้าใจถึงความจำเป็นและปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกับการบริหารชุมชน ซึ่งนิติบุคคลจะต้องกำหนดอัตราการจัดเก็บให้มีรายได้มากว่ารายจ่ายเพื่อกันส่วนต่างไว้เป็นเงินเก็บสำหรับซ่อมแซมสาธารณูปโภคในอนาคต สรุปผลการศึกษาได้ว่าการบริหารชุมชนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโครงการจัดสรรขนาดกลาง การบริหารชุมชนให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีต้นทุนในการดำเนินการซึ่งก็คือค่าส่วนกลาง ปัจจัยที่มีผลทำให้สมาชิกยินดีจ่ายค่าส่วนกลางจนครบ100% ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่บริหารชุมชนให้มีประสิทธิภาพ 2.การติดตามทวงถามอย่างมีระบบและต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นเตือนให้สมาชิกรู้ถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ 3.สถานที่ในการติดต่อสื่อสารระหว่างนิติบุคคลกับสมาชิกที่สะดวกสบายคือ สำนักงานนิติบุคคล 4.สาธารณูปโภคสอดคล้องกับการอยู่อาศัยมีผลทำให้อัตราการจัดเก็บค่าส่วนกลางเหมาะสมไม่ทำให้สมาชิกได้รับความเดือดร้อนในการจ่าย 5.ขนาดของหมู่บ้านที่มีจำนวนสมาชิกไม่มากเกินไปการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารจะสามารถทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายกว่า-
dc.description.abstractalternativeCommunity management in housing development projects is a complex issue. Proper management is certainly related to the provision of appropriate utilities and other property maintenance services which influence residents’ quality of life. Initially, management requires capital in the form of maintenance fees in order to provide effective management of the housing development, however, in practice, a significant number of managers fail to collect the full amount of maintenance fees from their residents. This results in insufficient budgetary resources to provide the necessary utilities and public service maintenance to operate housing projects. According to a preliminary survey, optimal fee collection (100%) was achieved only in a few housing development projects. Therefore, this study examined the management strategies and analyzed the problems and solutions used by the property management of Benyapa (Rachapruek) and Natcha Greenville projects with the purpose of devising applicable guidelines for housing developers and property management corporations. According to the findings of the study, management in medium-sized villages assigned a residents’ committee to be in charge of community management. With respect to fee collection and accounting for expenses, there were two main choices. 1) The residents’ committee, operating on its own, was able to collect only around 80% of the maintenance fees due to a lack of management experience, knowledge and understanding of collection procedures, and sometimes even operating on a trial and error basis; 2) the residents’ committee, by hiring an outside management professional to provide account management services to the project was able to collect 100% of fees from residents. This success rate was due to professional management’s ability to inform residents as to the importance of paying all fees on time to avoid budgetary problems that affect the ability to provide full services to the community. Thus, through greater understanding of the management issues of the community, the residents’ committee was able to gain the trust and cooperation of residents. Concerning existing problems and solutions, when: 1) the residents’ committee provided management services, given their lack of knowledge about their rights and responsibilities, it is clear that they need to educate themselves by consulting textbooks, regulations and staff of the Land Development Department and the Revenue Department. Nevertheless, burdened with their own jobs, they hired clerical staff to help out with records management; and 2) In the case of contracted outside management, when the fees collected were not adequate to maintain expenses, the necessity of paying property fees for community management on time was clearly communicated to the residents. This accounts for the higher compliance rate in fee collection as residents were made aware that fees are necessary to provide funds for future utilities and maintenance of property facilities. In conclusion, maintenance fee collection is a key factor in medium-sized village property management. In addition, to achieve a 100% fee collection rate, five issues should be emphasized: 1) the efficient functioning of the residents’ committee plays an important role in successful management of the property; 2) systematic collection and consistent information updating help to remind the residents of their responsibilities towards the community is essential; 3) it is important that there be an office where the management can be contacted by residents; 4) given a fair rate charged, utilities and facilities maintenance are well managed; 5) information updating for clear understanding of account details is easier in the medium-sized villages with a moderate number of residents.-
dc.format.extent2818674 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2203-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectบ้านจัดสรร -- การบริหาร-
dc.subjectอสังหาริมทรัพย์ -- การบริหาร-
dc.subjectชุมชน -- การบริหาร-
dc.titleการบริหารชุมชนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โครงการจัดสรรขนาดกลาง: กรณีศึกษา หมู่บ้านเบญญาภาราชพฤกษ์และณัฐชากรีนวิลล์ จังหวัดนนทบุรีen
dc.title.alternativeCorporate property management of medium sized villages: a case study of Benyapa Ratchapruek and Natcha Greenville projects Nonthaburi province, Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSupreecha.H@chula.ac.th-
dc.email.advisorYuwadee.S@Chula.ac.th, zooaey@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.2203-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapatsorn_ja.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.