Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19882
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภิญโญ สุวรรณคีรี | - |
dc.contributor.author | พิมพ์พร ไชยพร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพมหานคร | - |
dc.date.accessioned | 2012-05-26T14:46:50Z | - |
dc.date.available | 2012-05-26T14:46:50Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19882 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | หอระฆังเป็นอาคารหนึ่งในพระอารามที่มีหน้าที่ส่งสัญญาณให้พระภิกษุสามเณรทราบถึงเวลาปฏิบัติศาสนกิจ เพื่อให้กิจกรรมต่างๆดำเนินไปอย่างพร้อมเพรียงกัน ตั้งแต่ครองผ้า ทำวัตรเช้าและเย็น รวมไปถึงใช้ย่ำส่งสัญญาณในวาระอันเป็นมงคลต่างๆด้วยในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ 1-5 มีการสร้างพระอารามอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมากในเขตกรุงเทพมหานครและพบว่าพระอารามทุกแห่งต้องมีหอระฆังเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ ส่วนใหญ่นิยมสร้างเป็นอาคารประเภทเครื่องก่อเนื่องจากทนทานต่อสภาพภูมิอากาศได้ดี ปัจจุบันหอระฆังประเภทเครื่องก่อหลายแห่งเริ่มชำรุดทรุดโทรม จึงเลือกกรณีศึกษาที่น่าสนใจทั้งหมด 18 หลังจาก 17 พระอารามหลวงที่สำคัญมาทำการศึกษาครั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าหอระฆังส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณระหว่างเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส เพื่อความทั่วถึงในการกระจายเสียงสัญญาณไปสู่พระสงฆ์สามเณรที่อยู่ตามจุดต่างๆ ของพระอาราม ระบบโครงสร้างของหอระฆังใช้ระบบผนังรับน้ำหนักเป็นหลัก อาจผสมผสานกับระบบเสา-คาน และโครงโค้งตัด ซึ่งก่อสร้างโดยวิธีการก่ออิฐถือปูน รูปแบบที่พบนั้นมีทั้งแบบไทยประเพณีและแบบผสมผสานอิทธิพลต่างชาติจนเกิดเป็นรูปแบบที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยมในรัชกาลต่างๆ ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบหอระฆังได้แก่ รัชสมัยที่สร้าง, ผู้สร้าง, สภาพเศรษฐกิจและสังคม, อิทธิพลศิลปะจากต่างชาติ และมูลเหตุแห่งการสร้างพระอารามและหอระฆังนั้นๆ ซึ่งจะสะท้อนออกมาทางองค์ประกอบต่างๆของหอระฆัง อาทิเช่น เครื่องยอด, ลายหน้าบัน, ซุ้มช่องเปิด เป็นต้น นอกจากนี้หอระฆังยังถือเป็นอาคารสูงยุคแรกของไทย มีความสูงตั้งแต่ 1-3 ชั้นตามลักษณะที่ตั้ง ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ในการกระจายเสียงได้อย่างทั่วถึงในพระอาราม แสดงถึงภูมิปัญญาและวิทยาการก่อสร้างของช่างไทยในอดีตที่สามารถสร้างอาคารสูงได้อย่างแข็งแรงและใช้งานได้อย่างปลอดภัย จากความสำคัญและคุณค่าทางศิลปะสถาปัตยกรรมที่กล่าวมา จึงสมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยกันอนุรักษ์ให้หอระฆังนั้นอยู่คู่กับพระอารามต่อไป ตราบเท่าที่พระพุทธศาสนายังดำรงอยู่ในประเทศไทย | - |
dc.description.abstractalternative | Belfry is a component building in the Royal Temples. It functions as a call timer for the monks and novices to acknowledge the time to do their religious activities in a timely accord practice from donning their robes to morning and evening prayers, also included is to acknowledge the community the time for public celebrations. During the reigns of the first to the fifth Kings of the Ratanakosin Period, there had been a continuous construction of Royal Temples in the boundary of Bangkok. Belfry was an indispensable component in every one of them. Most of the belfries were masonry work due to their endurance to weather. However, to this day, many of them crumble. In this study 18 belfries of interest are selected from 17 important Royal Temples. This study finds that belfry is situated between Buddhawas(area where monks and novices perform their ritual) and Sankawas(residence area of monks and novices) so that the sound from the belfry can be heard well by monks and novices anywhere in the Temples. The construction system utilized its wall bearing and may combine the system of post and lintel and masonry work of crossed vault. Their styles comprise the traditional Thai style and fusion style which was influenced by foreign architecture. The fusion style is so called the Royal Favorite Architectural Work. Factors considered to have influence on the appearance of the belfries are the time of reign when the belfry was built, the builder, the social and economic status at that time, foreign influence, the reason to build that Temple and that belfry. These factors reflect themselves through various component of the belfry e.g. the top part of the belfry, the pediment decoration, the side openings etc. Belfries are considered to be Thai first high rise buildings, 1 to 3 storeys high appropriate to the site, built to accomplish the good distribution of sound throughout the Temples. This reflects the wisdom and technology of Thai craftsmanship in the past. The ability to build strong high building that can be used safely. From the stated importance and architectural value of these belfries, their conservation in order that they may exist and last in the Royal Temples and with Buddhism in Thailand is suggested. | - |
dc.format.extent | 11951257 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2159 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | หอระฆัง -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา | - |
dc.subject | งานก่ออิฐฉาบปูน -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา | - |
dc.subject | สถาปัตยกรรม -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา | - |
dc.title | หอระฆังประเภทเครื่องก่อในพระอารามหลวงสมัยรัตโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | The architectuce of masonry belfry in royal temple in Rattanakosin period, Bangkok | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.2159 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pymporn_ch.pdf | 11.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.