Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19905
Title: ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลทางสุขภาพและดนตรีเพื่อการบำบัดต่อความปวดและคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยหลังผ่าตัดยึดตรึงกระดูกขา
Other Titles: Effects of health information and therapeutic music program on pain and sleep quality in patients with leg fixation
Authors: อวยพร นาคเพชร
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chanokporn.J@Chula.ac.th
Subjects: ดนตรีบำบัด
การนอนหลับ
ความเจ็บปวดหลังศัลยกรรม
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความปวดและคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยหลังผ่าตัดยึดตรึงกระดูกขา ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลทางสุขภาพและดนตรีเพื่อการบำบัด กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยกระดูกขาหักที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกแบบภายใน ณ.ตึกศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง 20 ราย และกลุ่มควบคุม 20 ราย โดยจัดให้ทั้ง 2 กลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในด้าน เพศ อายุ และบริเวณที่ทำผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการให้ข้อมูลทางสุขภาพ ตามแนวคิดทฤษฏีการควบคุมตนเองของ Leventhal and Johnson (1983) ร่วมกับดนตรีเพื่อการบำบัด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ มาตรวัดความปวดแบบเปรียบเทียบด้วยสายตาและแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ (The Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI) ซึ่งตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 8 ท่านและทดสอบค่าความเที่ยงของแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ ด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของ - ครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติความแปรปรวนทางเดียวกรณีการวัดซ้ำ (Repeated Measure One –Way ANOVA) และการทดสอบค่าที (Independent t-test ) ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. ความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดยึดตรึงกระดูกขา ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลทางสุขภาพและดนตรีเพื่อการบำบัด กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยหลังผ่าตัดยึดตรึงกระดูกขา ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลทางสุขภาพและดนตรีเพื่อการบำบัด กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental study was to compare pain and sleep quality in post-operative patients with internal leg fixation The experimental group participated in giving a health information and therapeutic music program, while the control group participated in a routine nursing care. Research samples were 40 patients admitted at orthopedic department at Surathani Hospital participants were equally assigned into an experimental group and a control group by matching sex, age, and an area of the operation . Research instruments were health information program based on Laventhal and Johnson's (1983) Theory of self-regulation, and therapeutic music. Pain was assessed by using a visual analog scale (VAS), and sleep was evaluated by The Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI) (Buysse et al.,1989). These instruments were tested for content validity by a panel of 8 experts. The reliability of the Sleep Quality Index Scale was .76. Statistical techniques used in data analysis were percentage, means,standard deviation, Repeated Measure One –Way ANOVA and t-test. The results were as follows: 1. There was no significantly difference between pain of the experimental group and the control group at the .05 level. 2. Sleep quality in the experimental group was significantly higher than the control group at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19905
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1416
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1416
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ouyporn_n.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.