Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19922
Title: การศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบที่มีต่อเครื่องยนต์ขนาดเล็กเมื่อใช้น้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มโอเลอีน
Other Titles: A comparative study of the effects of fueling crude palm oil and palm olein on a small engine
Authors: พงษ์ภัทร พุกะนัดด์
Advisors: คณิต วัฒนวิเชียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fmekwt@eng.chula.ac.th
Subjects: น้ำมันหล่อลื่น
น้ำมันปาล์ม
เครื่องยนต์ดีเซล
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของเครื่องยนต์ ควันดำ และความทนทานของเครื่องยนต์ เมื่อนำน้ำมันปาล์มดิบและเมื่อนำน้ำมันปาล์มโอเลอีน มาใช้ในเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยการอัดขนาดเล็ก อีกทั้งทำการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำมันหล่อลื่นและการเปลื่ยนแปลงของสารเจือปนในน้ำมันหล่อลื่นตลอดการทดสอบความทนทาน โดยที่น้ำมันปาล์มดิบที่ใช้ในงานวิจัยได้ผ่านการอุ่นให้ความร้อนให้มีอุณหภูมิ 45±5oC ตลอดทั้งงานวิจัยนี้ งานวิจัยแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นการทดสอบเครื่องยนต์เพื่อเปรียบเทียบระหว่างผลด้านสมรรถนะ จากการใช้น้ำมันปาล์มดิบและจากการใช้น้ำมันปาล์มโอเลอีน กับการใช้น้ำมันดีเซล บนแท่นทดสอบ ที่สภาวะคงตัวและความเร็วคงที่ ซึ่งผลด้านสมรรถนะของเครื่องยนต์จะพบว่า แรงบิดสูงสุดของเครื่องยนต์จากการใช้น้ำมันปาล์มดิบและจากการใช้น้ำมันปาล์มโอเลอีน มีค่าใกล้เคียงกับเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลในขณะที่ค่าอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะ ค่าอุณหภูมิไอเสียและควันดำ ที่ได้จากการใช้น้ำมันปาล์มทั้งสองชนิดมีค่าสูงกว่าการใช้น้ำมันดีเซลอย่างเห็นได้ชัด โดยที่ผลดังกล่าวของการใช้น้ำมันปาล์มทั้งสองชนิดนี้มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนที่สองเป็นการทดสอบความทนทานของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันปาล์มดิบกับ เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันปาล์มโอเลอีนในระยะเวลา 320 ชั่วโมงเพื่อเปรียบเทียบผลในด้านการใช้งานในระยะยาวด้วยวัฏจักรภาระจำลอง พบว่าเมื่ออายุการทำงานของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น สมรรถนะของเครื่องยนต์เมื่อใช้น้ำมันดีเซล น้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มโอเลอีนมีการตกลง โดยหลังเสร็จสิ้นการทดสอบ พบว่าสมรรถนะของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลมีการตกลงเพียงเล็กน้อย ส่วนสมรรถนะของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันปาล์มดิบมีการตกลงจากก่อนการทดสอบอยู่ในช่วง 10% – 20% ส่วนกรณีน้ำมันปาล์มโอเลอีนสมรรถนะก็ตกลงกว่าก่อนการทดสอบความทนทานอยู่ในช่วง 5% - 14% นอกจากนั้นยังได้ติดตามผลการเปลี่ยนแปลงของน้ำมันหล่อลื่นตลอดการทดสอบความทนทาน ซึ่งพบการปนเปื้อนของปริมาณซิลิกอนในน้ำมันหล่อลื่นเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ ทำให้พบปริมาณเหล็ก โครเมียม และอลูมิเนียมปนเปื้อนในน้ำมันหล่อลื่นสูงผิดปกติ จึงน่าจะเห็นว่ามีการสึกหรอที่สูงผิดปกติเฉพาะสำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันปาล์มดิบเท่านั้น และยังพบคราบเขม่าติดตามหัวฉีดโดยที่ในกรณีน้ำมันดีเซลพบคราบเขม่าเพียงเล็กน้อย ซึ่งน้อยกว่ากรณีน้ำมันปาล์มโอเลอีนและกรณีน้ำมันปาล์มดิบ ตามลำดับ ซึ่งจากคราบเขม่าเหนียวปริมาณมากของกรณีน้ำมันปาล์มดิบ อาจจะทำให้เกิดการชำรุดของเครื่องยนต์ได้ โดยเฉพาะชิ้นส่วนหัวฉีด สรุปได้ว่า การนำน้ำมันปาล์มดิบไปใช้ในเครื่องยนต์ จะต้องทำการอุ่นน้ำมันปาล์มดิบก่อนการใช้งาน และต้องทำการบำรุงรักษาในช่วงเวลาที่สั้นกว่ากำหนดปกติของการใช้ดีเซล อาทิ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นที่เร็วขึ้น หรือการถอดล้างชิ้นส่วนจำพวกหัวฉีดเมื่อใช้งานไปในระยะเวลาหนึ่งๆ ส่วนการนำน้ำมันปาล์มโอเลอีนไปใช้งานสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนได้ตามปกติทั่วไป
Other Abstract: The objectives of the study were comparing the engine performance, smoke emission, and engine durability when fueling with Crude Palm Oil (CPO) and Palm Olein on a small CI engine. Moreover, the study also monitored the changing of the lubricating oil conditions, contamination and metal wear conditions during the engine durability test. CPO in this study was heated to be 45±5 oC. The study was divided into two parts. The first part was comparing the engine performance, and smoke emission among using CPO, using Palm Olein, and using diesel. The performance study had found that the maximum torque of the engine using CPO and using Palm Olein were not significantly different from the maximum torque of engine using diesel while the specific fuel consumption, the exhaust temperature, and the smoke density of the engines using either CPO or Palm Olein were higher than diesel and not different to each other. The second part, to compare the effects on long term usage using a model of working cycle, was engine durability testing, of 320 working hours, between the engine fueling with CPO and the engine fueling with Palm Olein. The study had found that more working hours made the dropping of engine performance of the engine fueling with these three types of fuel. After the durability test, the performance of the engine fueling with diesel was slightly drop while the performance of the tested engine fueling with CPO was drop from new engine by 10% to 20%. The performance of the tested engine fueling with Palm Olein was drop from new engine by 5% to 14%. In addition, results of lubricating oil monitoring (only in the engine fueling with CPO) had showed the high level of silicon contamination in the lubricating oil that would make abnormal level of iron, chromium, and aluminum contamination. However, the engine fueling with CPO might have some abnormal wear phenomena. Moreover, some soot that stuck on the injector was found. It was noted that there were small amount of the soot in the engine fueling with diesel but the higher amount with Palm Olein and the highest amount with CPO. Because of the large amount of sticky soot of the engine fueling with CPO, the engine could possible be broken down especially the injector. The outcome of this study can be concluded that CPO needed to be heated before used. The engine fueling with CPO requires shorter maintenance duration from the typical diesel such as shorten the lubricating oil working hours or often clean the injector. In the other hand, the Palm Olein could be used as alternative fuel with more compatibility.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19922
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1058
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1058
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongpat_ph.pdf9.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.