Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19926
Title: การศึกษา วิเคราะห์และควบคุมปริมาณโลหะมีค่าในกระบวนการผลิตเครื่องประดับโดยใช้เทคนิค FMEA
Other Titles: Study, analysis and control valuable alloys in jewelry production using FMEA technique
Authors: ปิยะพร โลวะกิจ
Advisors: จิตรา รู้กิจการพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การควบคุมคุณภาพ -- มาตรฐาน
อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
อุตสาหกรรมอัญมณี
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา วิเคราะห์และควบคุมปริมาณโลหะมีค่าในกระบวนการผลิตเครื่องประดับโดยใช้เทคนิค FMEA โดยทำการศึกษากระบวนการครอบคลุมตั้งแต่ การคำนวณน้ำหนักโลหะสำหรับหล่อตัวเรือน การแต่งตัวเรือน การฝังอัญมณีบนตัวเรือน ตลอดจนถึงการขัดเงาตัวเรือน จากการศึกษาข้อมูลในโรงงานที่ใช้เป็นกรณีศึกษา พบว่าลักษณะข้อบกพร่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการควบคุมปริมาณโลหะมีค่า ได้แก่ การขาดการจัดการเพื่อควบคุมโลหะมีค่าในกระบวนการผลิต ข้อมูลที่มีอยู่ยังไม่ถูกต้อง และ ขาดการจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่อการควบคุมโลหะมีค่า ทั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์สาเหตุของลักษณะข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นโดยใช้แผนภาพแสดงเหตุและผล พร้อมทั้งทำการประเมินและจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของลักษณะข้อบกพร่องโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ (FMEA) และดำเนินการแก้ไขปรับปรุงสาเหตุของลักษณะข้อบกพร่องตามแนวทางดังต่อไปนี้ 1) การปรับปรุงและจัดทำระบบการเก็บข้อมูล 2) การปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นรูปแบบเดียวกัน 3) การจัดทำรูปแบบรายงานสรุปผลการควบคุมปริมาณโลหะมีค่า 4) การกำหนดดัชนีวัดสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณโลหะมีค่าในการผลิต 5) การปรับปรุงเครื่องชั่งและการวิเคราะห์ระบบการวัด 6) การจัดทำเอกสารข้อกำหนดในการปฏิบัติงานและจัดอบรมพนักงาน 7) การจัดทำโปรแกรมเพื่อคำนวณน้ำหนักโลหะหล่อ 8) การวิเคราะห์ความจำเป็นของหน่วยงานที่ต้องมีการใช้งานเครื่องชั่ง 9) นำเสนอการเปลี่ยนรูปแบบตะกร้าสำหรับใส่และเคลื่อนย้ายชิ้นงาน ผลจากการแก้ไขปรับปรุงระหว่างเดือนเมษายนถึงกันยายน 2550 พบว่า เปอร์เซ็นต์ความสูญเสียโลหะมีค่าแผนกหล่อตัวเรือนในเดือนเมษายนเท่ากับ 0.19% และลดลงเหลือ 0.17% ในเดือนกันยายน แผนกแต่งตัวเรือนในเดือนเมษายนเท่ากับ 3.99% และลดลงเหลือ 3.13% ในเดือนกันยายน แผนกฝังอัญมณีบนตัวเรือนในเดือนเมษายนเท่ากับ 2.84% และลดลงเหลือ 1.94% ในเดือนกันยายน แผนกขัดตัวเรือนได้เริ่มทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยมีค่าเปอร์เซ็นต์ความสูญเสียโลหะมีค่า 0.76% และ ในเดือนกันยายนมีค่าเท่ากับ 0.72% ค่าคะแนนความเสี่ยงชี้นำหลังการแก้ไขปรับปรุง พบว่ามีค่าลดลงโดยเฉลี่ย 80.17% เมื่อเปรียบเทียบกับค่าคะแนนความเสี่ยงชี้นำก่อนการปรับปรุง
Other Abstract: The objective of this research is to study, analysis and control valuable alloys in jewelry production by FMEA technique. The research involves in calculating weight of alloys in casting, soldering, stone setting and polishing processes. For the case study, it was found that there were some failures in controlling valuable alloys in the production process due to ineffective management system, inconsistent information and insufficient data for operation. Cause and Effect Diagram were implemented to analyze the root causes of the failures. Failure Mode and Effect Analysis (FMEA) technique was applied to evaluate and prioritize the failure causes. By the countermeasures, the result of analysis shows the processes which require improvement as the following; 1) Database System 2) Documentation 3) Preparing summary reports of controlling valuable alloys 4) Indicating key performance indicator of controlling valuable alloys 5) Improving digital scales and measurement system 6) Preparing work instructions and training employees 7) Developing a computer program to calculate weight of valuable alloys in casting process 8) Investigating the necessary of scales for each department 9) Proposing to change baskets for handling. The implementation according to the FMEA analysis was performed during April to September 2007 and the indication, "Loss of valuable alloys" was a key measurement. The results show that the loss of valuable alloys was decreased from 0.19% to 0.17% in the casting process, from 3.99% to 3.13% in the soldering process and from 2.84% to 1.94% in the stone setting process. Moreover, the implementation was performed on the polishing process; 0.76% of valuable alloys loss was improved to 0.72% within one month implementation. For Risk Priority Number, it was decreased 80.17% on average.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19926
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.818
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.818
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
piyaporn_lo.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.