Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19933
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์-
dc.contributor.authorณัฎฐ์จิรา สมิดาสุตานันท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-28T14:30:51Z-
dc.date.available2012-05-28T14:30:51Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19933-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractแผงบังแดดภายนอกอาคารเป็นอุปกรณ์ที่สามารถลดพลังงานความร้อนที่ถ่ายเทเข้ามาในอาคาร และลดปริมาณของแสงที่เข้ามาในอาคารได้ จากการศึกษางายวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า ได้มีการค้นคว้าเกี่ยวกับผลกระทบของแผงบังแดดที่มีผลต่อประสิทธิภาพทางด้านพลังงานของอาคาร แต่ทว่าผลกระทบทางด้านคุณภาพยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์หลักเพื่อศึกษาหาลักษณะของแผงบังแดดภายนอกอาคารที่เหมาะสมในอาคารประเภทสำนักงาน ซึ่งจะประเมินจากค่าความน่าจะเป็นของแสงบาดตาจากแสงธรรมชาติ (Daylight glare probability หรือ DGP) และปริมาณความส่องสว่างที่เกิดขึ้นโดยเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานทางด้านแสงสว่างของ Illuminating Engineering Society of North America (IESNA) งานวิจัยชิ้นนี้ใช้การจำลองค่าความน่าจะเป็นของแสงบาดตาจากแสงธรรมชาติ และปริมาณความส่องสว่างจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งหาค่าความน่าจะเป็นของแสงบาดตาจากแสงธรรมชาติ โดยใช้โปรแกรม Radiance คู่กับ Evalglare และหาค่าความส่องสว่าง โดยใช้โปรแกรม DIALux 4.8 โดยทดสอบกับห้องทำงานมาตรฐานขนาด 3.65 x 4.60 x 3.00 เมตร ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนการใช้แผงบังแดดรูปแบบต่างๆ จำนวน 9 รูปแบบ จากข้อมูลพบว่าที่ระยะยื่น 1 เมตร การใช้แผงบังแดดแบบทางตั้งผสมทางนอนสามารถลดค่าแสงบาดตาที่เกิดขึ้นได้ในทุกทิศทางได้มากที่สุด และการใช้แผงบังแดดแนวนอนที่มุม Vertical shadow angle (VSA) ที่มีค่าน้อย (ระยะยื่นมาก) ค่าความน่าจะเป็นของแสงบาดตาจากแสงธรรมชาติที่เกิดขึ้นก็จะมีแนวโน้มน้อยลง โดยมุมที่ VSA ต่ำกว่า 40 องศา จะทำให้ค่าความน่าจะเป็นของแสงบาดตาจากแสงธรรมชาติ มีค่าน้อยกว่า 0.4 และการเพิ่มจำนวนแผงบังแดดแนวนอนที่มากขึ้นต่อบานหน้าต่างมุม Vertical shadow angle (VSA) ที่ใช้อาจจะมีมุมที่มากขึ้นก็ได้ (ระยะยื่นของแผงบังแดดน้อยลง) นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้ระแนงที่ความทึบเพิ่มมากขึ้นทำให้ค่าความน่าจะเป็นของแสงบาดตาจากแสงธรรมชาติ มีแนวโน้มลดลงในทิศตะวันออก การใช้ระแนงที่ความทึบที่ร้อยละ 25-70 ไม่สามารถทำให้ค่าความน่าจะเป็นของแสงบาดตาจากแสงธรรมชาติเฉลี่ยทั้งวันต่ำกว่าค่ามาตรฐานได้ ส่วนในทิศตะวันตก การใช้ระแนงที่ความทึบ 75% สามารถทำให้ค่าความน่าจะเป็นของแสงบาดตาจากแสงธรรมชาติมีค่าน้อยกว่า 0.4 โดยในทุกๆ กรณีที่มีการจำลองพบว่าความส่องสว่างเฉลี่ยบนโต๊ะทำงาน และภายในห้องมีค่าตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด งานวิจัยนี้ได้มีการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบของตารางสรุป เพื่อให้สถาปนิกและนักออกแบบสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยสะดวก ทั้งนี้ยังแนะแนวทางที่เหมาะสมรวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถนำไปออกแบบแผงบังแดดภายนอกอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปen
dc.description.abstractalternativeThe use of an external shading device lowers the amount of interior heating and daylight from outside buildings. Previous studies have focused on the effects of the shading device on building energy consumption; however little attention has been paid to the effectiveness of the shading device. The main purpose of this research was to study the characteristics of an external shading device that is appropriate for office buildings considering Daylight Glare Probability (DGP) and Illuminating Engineering Society of North America guidelines (IESNA). Two computational tools, ‘Radiance’ and ‘Evalglare’, were adopted to compute the DGP while ‘DIALux 4.8’ was employed to calculate the IESNA parameter. The data was collected in a standard 3.65x4.6x3 meter office with nine different layouts of the external shading device. Findings suggest that the combination of vertical and horizontal shielded panels at a one-meter distance from the window pane can reduce daylight glare most from all directions. Similarly, the use of horizontal shielded panels of low Vertical Shadow Angle (VSA) (greater distance from the wall) tends to lower daylight glare effectively. A VSA of less than 40 degrees causes the DGP to be below 0.4. Further, the higher the number of horizontal shielded panels per window, the higher the degree of VSA, which permitted a placement closer to the window pane. In addition, it was found that the more pergolas covered, the lower the level of daylight glare tends to be. On the east side of the building, 25-70% coverage with pergolas does not reduce the average daylight glare below the standard. On the west side, on the other hand, 75% pergola coverage can bring the DGP down to under 0.4. In all experimental conditions, average luminance onto office desks and interior lighting met the standard. Summary tables of the findings and recommendations for further studies in the field of architectural design are discussed.en
dc.format.extent14751166 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1814-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอาคารสำนักงาน -- แสงสว่างen
dc.subjectแสงธรรมชาติ-
dc.subjectการส่องสว่าง-
dc.subjectการเห็น-
dc.subjectDaylight-
dc.subjectLighting-
dc.subjectVision-
dc.subjectOffice buildings -- Lighting-
dc.titleการประเมินแสงบาดตาจากแสงธรรมชาติของสำนักงานที่มีการติดตั้งแผงบังแดดภายนอกen
dc.title.alternativeDaylight glare evaluation of offices with external shading deviceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorivorapat@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1814-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nutjira_sm.pdf14.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.