Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19943
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนิดา ปรีชาวงษ์-
dc.contributor.authorผกามาศ อ่อนขาว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-29T11:54:51Z-
dc.date.available2012-05-29T11:54:51Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19943-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงความสัมพันธ์แบบบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะ ซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังระดับเอวเสื่อม และศึกษาความความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ความปวด แรงสนับสนุนทางสังคม กับภาวะซึมเศร้าของ ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังระดับเอวเสื่อม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังระดับเอวเสื่อม ที่มารับการรักษาในคลินิกศัลยกรรมประสาทและคลินิกโรคกระดูกและข้อ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ จำนวน 190 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย แบบประเมินความรุนแรงของความปวด แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.70, 0.89, 0.83 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังระดับเอวเสื่อมส่วนใหญ่ไม่มีภาวะซึมเศร้า (X-bar = 15.46) 2. ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าของ ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังระดับเอวเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.20) 3. ความปวดในขณะปัจจุบันมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังระดับเอวเสื่อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.34) 4. แรงสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังระดับเอวเสื่อมen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this descriptive correlational study was to examine depression in patients with lumbar spondylosis and the relationships between uncertainty in Illness, pain, social support and depression among these patients. Study participants consisted of 190 lumbar spondylotic patients randomly selected from the tertiary hospitals in Bangkok. The instruments for data collection included a demographic data form, the Mishel Uncertainty in Illness Scale-Community Form, a Brief Pain Inventory-short form, Social support questionnaire, and CES-D Scale. Content validity of the questionnaires was validated by five experts. Internal consistency reliability determined by Cronbach's alpha coefficients were 0.70, 0.89, 0.83 and 0.96 respectively. Data were analyzed using Pearson’s Product moment correlation coefficient. The findings were presented as follows: 1. The majority of patients with lumbar spondylosis reported no depressive symptoms (X-bar = 15.46). 2. Uncertainty in Illness was significantly related to depression among patients with lumbar spondylosis (r = .20; p <.01). 3. Current pain was significantly related to depression among patients with lumbar spondylosis (r = -0.34; p <.01). 4. There was no correlation between social support and depression among patients with lumbar spondylosis.en
dc.format.extent1609165 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1817-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความซึมเศร้าen
dc.subjectกระดูกสันหลังส่วนเอว -- โรค -- ผู้ป่วยen
dc.subjectกระดูกสันหลังส่วนเอว -- โรคen
dc.subjectความไม่แน่นอน-
dc.subjectความเจ็บป่วย-
dc.subjectSick-
dc.subjectLumbar vertebrae -- Diseases-
dc.subjectLumbar vertebrae -- Diseases -- Patients-
dc.subjectUncertainty-
dc.subjectDepression-
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ความปวด แรงสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังระดับเอวเสื่อมen
dc.title.alternativeRelationships between uncertainty in illness, pain, social support and depression in patients with lumbar spondylosisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSunida.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1817-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pakamard_on.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.