Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19975
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกรกรัณย์ ชีวตระกุลพงษ์-
dc.contributor.authorรยานันท์ สิทธาทิพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-02T06:49:36Z-
dc.date.available2012-06-02T06:49:36Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19975-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกอันดับที่ 1 ของประเทศไทยคือหมวดคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนและส่วนประกอบ ซึ่งอุตสาหกรรมนี้มีลักษณะเป็นการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันอย่างชัดเจนเนื่องจากมีมูลค่าการนำเข้าและการส่งออกในระดับที่สูงเหมือนกัน และสัดส่วนสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงที่สุดในหมวดคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนและส่วนประกอบ คือ เป็นสินค้า ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ศึกษาปัจจัยกำหนดการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันของสินค้าคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ส่วนที่ 2 ศึกษาปัจจัยกำหนดการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันแบบแนวดิ่งของสินค้าฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ การศึกษาการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันจะพิจารณาจากดัชนี Grubel-Lloyd (GL) และใช้แนวคิดเรื่องความแตกต่างของมูลค่าต่อหน่วย (Unit Value Index) เพื่อพิจารณารูปแบบการค้าได้ พบว่าสินค้าฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์มีลักษณะการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันแบบแนวดิ่ง (Vertical Intra-Industry Trade) มีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายการผลิต (Production Network) อันเกิดจากบริษัทข้ามชาติ (MNCs) จากประเทศพัฒนาไปลงทุนผลิตสินค้าในประเทศกำลังพัฒนาที่ต่างกัน เพื่อใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบจากทรัพยากรที่ประเทศนั้นมีอยู่ เมื่อศึกษาข้อมูลเชิงพรรณาในส่วนเครือข่ายการผลิตของอุตสาหกรรม ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ พบว่า มีลักษณะสอดคล้องกับการคำนวณดัชนี GL ในอุตสาหกรรมนี้ และมีความเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายการผลิตและการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันแบบแนวดิ่ง ผลการศึกษาให้ผลสอดคล้องกัน คือ การลงทุนทางตรงระหว่างประเทศ (FDI) และความแตกต่างของค่าจ้างของประเทศไทยและประเทศคู่ค้า มีผลสนับสนุนการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันของสินค้าคอมพิวเตอร์ และสนับสนุนการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันแบบแนวดิ่งของสินค้าฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์en
dc.description.abstractalternativeComputer parts and components are the highest export of Thailand. Also it contains a character of intra-industry trade since the industry have the high value of both import and export. The highest share of export value in computer parts and component industry is hard disk drives. Therefore, the study devides aims to find determinant of intra-industry trade in computer parts and the determinant of vertical intra-industry trade determinant in hard disk drives. The study of intra-industry trade uses Glubel-Lloly index (GL) and unit value index to consider the pattern of trade. The results finds that hard disk drive contain vertical intra-industry trade in the from of production network, generally uses by MNCs from developed countries investing in other developing countries to gain the benefits from comparative advantages in those developing countries. Studying production network of the hard disk drives industry finds the same direction with GL-index. The result of the two parts finds that foreign direct investment (FDI) and the difference in wages between trading partners promote the intra-industry trade in computer parts and components as well as support the hard disk drive industry.en
dc.format.extent2079779 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1821-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์en
dc.subjectการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันen
dc.subjectIntra-industry trade-
dc.subjectComputer industry-
dc.titleการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันและเครือข่ายการผลิต ศึกษากรณีอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนและส่วนประกอบen
dc.title.alternativeIntra-industry trade and production network : the case of computer parts and components industryen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1821-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rayanan_si.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.